ภัยแล้งฉุดผลผลิตอ้อยเข้าหีบปีนี้ลดลง 12% เหลือ 82 ล้านตัน เปิด 7 แนวทางแก้

อ้อย

พิมพ์ภัทรา มอบ 74 รางวัลเชิดชูเกียรติเกษตรกรชาวไร่อ้อยและโรงงานต้นน้ำตาลต้นแบบ ประจำปี 2566 เผยตัวเลขอ้อยเข้าหีบฤดูกาลผลิตปี 66/67 รวม 82.16 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน 12.49% คาดเปิดหีบฤดูกาลหน้า 82.40 ล้านตัน พร้อมเปิด 7 แนวทางลดการเผาอ้อย

วันที่ 22 เมษายน 2567 นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานมอบรางวัลชาวไร่อ้อยดีเด่นและโรงงานน้ำตาลดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2566 ว่ากระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดงานมอบรางวัลชาวไร่อ้อยดีเด่นและโรงงานดีเด่นเพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติเกษตรกรชาวไร่อ้อย ผู้ประกอบการ โรงงานน้ำตาลที่มีความเป็นเลิศในแต่ละด้าน

โดยรางวัลที่กำหนดเพื่อส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและก้าวสู่ความยั่งยืน ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ใช้จากศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปพร้อม ๆ กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ภายใต้นโยบาย “สร้างอุตสาหกรรมดี อยู่คู่ชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยได้มีการมอบรางวัลให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยและผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลรวม 74 รางวัล และเชื่อมั่นว่างานในวันนี้จะถือเป็นอีกก้าวสำคัญและเป็นพลังการสร้างสรรค์และพัฒนาอุตสาหกรรม อ้อยและน้ำตาลทรายของไทยให้มีความเข้มแข็งในเวทีโลกต่อไป

สำหรับฤดูการผลิตปี 2566/67 ที่ได้ปิดหีบห้อยไปแล้วมีตัวเลขอ้อยเข้าหีบตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 17 เมษายน 2567 เป็นระยะเวลา 130 วันรวม 82.16 ล้านตัน แบ่งเป็น อ้อยสด 57.81 ล้านตัน คิดเป็น 70.36% และอ้อยไฟไหม้ 24.35 ล้านตัน คิดเป็น 29.64 %

ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (Yield) โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 106.76 กิโลกรัมต่อตันอ้อย และมีค่าความหวานอ้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 12.35 c.c.s ผลผลิตอ้อย รวมลดลงจากปีก่อน 11.73 ล้านตัน คิดเป็น 12.49%

ทั้งนี้ การเปิดหีบสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล คาดการณ์แนวโน้มจะมีปริมาณ อ้อยเข้าหีบอยู่ที่ 82.40 ล้านตัน ปัจจุบันที่ทำให้ผลผลิตตกต่ำทำจากปีก่อน เนื่องจากปัญหาภัยแล้งและราคาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ดีกระทรวงอุตสาหกรรม และ 4 องค์กรชาวไร่อ้อยที่มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ในฤดูการผลิต 2566/67 ยังคงมีปริมาณอ้อยไฟไหม้อยู่ในระดับที่สูงในฤดูการผลิตปีต่อไป กระอุตสาหกรรมจึงมีแนวทางการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาลดการเผาอ้อยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น

  1. การนำระบบ AI มาจำแนกอ้อยเผาและอ้อยสดก่อนเข้าหีบ
  2. การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยกู้ เพื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรใช้ในไร่อ้อยและเก็บเกี่ยวอ้อยสด
  3. จัดหาเครื่องสางใบอ้อย
  4. มาตรการทางกฎหมาย
  5. ปรับปรุงการคำนวณราคาอ้อยให้เป็นตามเกณฑ์คุณภาพผลิตอ้อย
  6. ส่งเสริมการรับซื้อใบอ้อยเพื่อเพิ่มรายได้และลดการเผาใบอ้อย
  7. บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดการเผาอ้อยในพื้นที่ ที่มีการเผาซ้ำซาก

จากข้อมูลของ สอน. คาดว่าฤดูการผลิตปีต่อไป จะมีปริมาณอ้อยสดในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่ออ้อยสูงขึ้น สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยมากกว่า 240,000 ราย และโรงงานน้ำตาลเพิ่มขึ้นด้วย