อคส.แจงผลการขาดทุนนั้นไม่ใช่เฉพาะตัวเลขขาดทุนแค่องค์กร แต่รวมหลายโครงการตั้งแต่ปี 43

อคส.แจงผลการขาดทุนนั้นไม่ใช่เฉพาะตัวเลขขาดทุนแค่องค์กร แต่รวมหลายโครงการตั้งแต่ปี 43 ขององค์กรเพียง 172 ล้านบาท เป้าหมายอนาคตจะลดการขาดทุนเพิ่มผลกำไรจาก 3 โครงการโดยเฉพาะด้านตลาดต่างประเทศ

พันเอก (พิเศษ) ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ รองประธานกรรมการองค์การคลังสินค้า (อคส.) กล่าวถึงกระแสข่าวว่า อคส. ขาดทุนกว่า 9,000 บาทนั้น ไม่ได้เป็นไปอย่างที่กระแสออกมา โดยตัวเลขดังกล่าวนั้นเป็นตัวเลขขาดทุนสะสมรวมการดำเนินการของ อคส และตั้งแต่โครงการดูแลสินค้าเกษตรปี 2543 ข้าว มันสำปะหลัง เป็นต้น ไม่ใช่การขาดทุนเฉพาะองค์กร โดยการขาดทุนเฉพาะ อคส. เองนั้นประมาณ 172 ล้านบาท เท่านั้นและเป้าหมายในอนาคต อคส.มีเป้าหมายลดการขาดทุนเพิ่มรายได้ให้กับองค์กร เชื่อว่าการขาดทุนจะลดลงและกำไรจะเพิ่มขึ้น

เนื่องจาก อคส.มีเป้าหมายเพิ่มกำไรให้กับองค์กรผ่าน 3 โครงการ เช่น การเปิดตลาดต่างประเทศให้มากขึ้นลดการแข่งขันในประเทศเพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น ด้านโลจิสติกส์และการขนส่งก็จะศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมมือกันระหว่างรัฐวิสาหกิจที่มีความชำนาญด้านนี้เพื่อลดภาระการจ้างภาคเอกชนในการดำเนินการ และ จะพัฒนาให้องค์การคลังสินค้าเป็นศูนย์กลางการสั่งซื้อสินค้าการเกษตรหรือสินค้าอุปโภคบริโภคในระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกว่า E-Commerce ซึ่งจะเป็นโครงการเป้าหมายมที่จะสร้างรายได้ให้กับองค์กรในอนาคต

อย่างไรก็ดี สำหรับข้อเท็จจริงว่า อคส. ขาดทุนนั้นยอมรับว่าประสบกับภาวการณ์ขาดทุนจริง แต่เป็นการขาดทุนที่เกินจากวิสัยทางธุรกิจที่ยังมีหลายปัจจัยที่องค์กร ต้องพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับผู้ประกอบการในสายธุรกิจอย่างเดียวกัน ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถแบ่งส่วนการตลาดในสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภคได้มากขึ้น ซึ่งอนาคตจะทำให้งบดุลด้านการเงินดีขึ้นตามลำดับ แต่อย่างไรก็ดีสาเหตุการขาดทุนที่เกิดขึ้นก็มาจากต้นทุนการขายและการบริการที่สูงขึ้น อคส.จึงต้องปรับตัวและสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดโดยยกเอาจุดแข็งของการเป็นรัฐวิสาหกิจเข้ามาเสริมและสร้างโอกาสทางการค้าต่อไป

พันเอก (พิเศษ) ดร.ดิเรก กล่าวอีกว่า ผู้บริหารของอคส.ได้จับมือกับบริษัทไปรณีย์ไทย จำกัด และบริษสยามเอ้าท์เลต จำกัด นำคณะผู้บริหาร ไปเยี่ยมชมคลังสินค้าราษฎร์บูรณะ ขององค์การคลังสินค้า ก่อนที่จะลงนามบันทึกความเข้าใน (MOU) เพื่อพัฒนาพื้นที่คลังสินค้าดังกล่าวเป็นเขตอุตสาหกรรมพาณิชย์อีเลคทรอนิกส์ “อีคอมเมิร์ซ ปาร์ค ”( E-Commerce Park ) เพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าด้านอีคอมเมิร์ซ และโลจีสติกส์ภายในเขตภูมิภาคของไทย

Advertisment

รวมทั้งเป็นศูนย์รวมเพื่อให้บริการอย่างครบวงจร และเป็นจุดนัดพบของเจ้าของธุรกิจขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ และพันธมิตทางธุรกิจ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะทำให้เป็นช่องทางการสร้างรายได้ที่มากขึ้นและเป็นการลดต้นทุนด้านการจัดการได้มากขึ้น