อมตะคาดปี’65 ยอดขายแตะ 1,000 ไร่ ฟื้นตัวดีกว่า 2 ปีที่ผ่านมา

“อมตะ” ประเมินทิศทางการลงทุนครึ่งหลังปี’65 ยังคงขยายตัวได้ดีกว่า 2 ปีที่ผ่านมา หลังรัฐบาลเปิดประเทศ  ส่งผลให้นักลงทุนหลายประเทศเริ่มเดินทางเข้าไทย เพื่อตัดสินใจลงทุนอีกครั้ง คาดยอดขายที่ดิน 2 นิคม ไต่ระดับกว่า 1,000 ไร่ ตามเป้าที่กำหนดไว้ 

วันที่ 1 สิงหาคม 2565 นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน (AMATA) เปิดเผยว่า แนวโน้มการลงทุนในครึ่งปีหลัง คาดการณ์ว่าจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หากรัฐบาลยังคงนโยบายเปิดประเทศ

ซึ่งคาดว่ายอดขายที่ดินของนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 2 แห่ง ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ชลบุรี และนิคมอมตะซิตี้ระยอง จะสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยยอดขายจะอยู่ประมาณกว่า 1,000 ไร่

ซึ่งขณะนี้นักลงทุนเริ่มทยอยกลับเข้ามา หลังจากที่ไตรมาส 1-2 เป็นช่วงที่นักลงทุนอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ ลงพื้นที่จริงเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาคัดเลือกที่ดินในการประกอบการ ทำให้ในช่วงไตรมาส 3-4 เป็นช่วงที่ผู้บริหารระดับสูงเริ่มตัดสินใจ ทำให้การขายที่ดินของอมตะ จะเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตาม ต้องประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญเพราะมีผลต่อการเดินทางของนักลงทุนเข้าสู่ประเทศไทย

Advertisment

“ในช่วงครึ่งปีหลังจึงเป็นไฮซีซั่นของการลงทุนหรือการขายพื้นที่นิคม แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่หลายปัจจัย แต่ปัจจัยหนึ่งที่เห็นว่าสำคัญนั่นคือการเดินทางมาดูพื้นที่ได้สะดวกย่อมดีกว่า โดยช่วง 2 ปีที่โควิด-19 ระบาดต่างคนต่างล็อกดาวน์ทำให้การเดินทางต้องหยุดชะงัก ดังนั้นถ้ายังคงนโยบายเปิดประเทศ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุน เพราะส่วนใหญ่นักลงทุนที่เข้ามา จะมองการลงทุนในระยะยาวมากกว่า”

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีประเทศจีนที่ยังคงใช้นโยบายซีโร่โควิด ไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศ ในขณะที่บางประเทศเดินทางกลับไปแล้วต้องกักตัวนาน ทำให้เกิดความยุ่งยากของนักลงทุน  แต่ตอนนี้หลายประเทศเปิดแล้วโดยเฉพาะญี่ปุ่น การเดินทางการเจรจาจะสะดวกขึ้น ดังนั้นเชื่อว่า สถานการณ์การลงทุนในปีนี้โดยรวมจะขยายตัวมากกว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนปัจจัยอัตราเงินเฟ้อและค่าเงินบาทที่อ่อนตัว มองว่าเป็นปัจจัยระยะสั้น ไม่น่าจะยืดเยื้อ

ดังนั้นอาจจะมีผลกระทบเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการลงทุนที่เข้ามา เน้นการผลิตเพื่อการส่งออก และเป็นการลงทุนในระยะยาว  เช่นเดียวกับผู้ประกอบการในนิคมอมตะ ที่เป็นผู้ผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 70-80%  ซึ่งแน่นอนว่าน่าจะได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนตัว ในส่วนของสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น