เปิดเกณฑ์ คะแนนสอบผ่าน ภาค ก. ของสำนักงาน ก.พ. 5 ปีหลังสุด แต่ละปีได้คะแนนเท่าไรบ้าง
วันที่ 18 กันยายน 2566 สอบ ก.พ. คือ การสอบความรู้ ความสามารถเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในหน่วยราชการ การสอบ ก.พ. เปรียบเสมือนตัวกลางเชื่อระหว่างคนที่สนใจทำงานในส่วนราชการกับหน่วยราชการ หรือ องค์กรภาครัฐ ก.พ. หรือ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งมีหน้าที่ คือ การดำเนินจัดสอบคัดเลือกบุคคลเข้ามาบริหารในหน่วยงานราชการ ซึ่งเป็นการคัดเลือกบุคคลให้ได้มาซึ่งผู้มีความรู้
สถิติการสอบผ่าน ภาค ก. 5 ปีหลังสุด
- ปี 2566 มีผู้สอบผ่านจำนวน 15,485 ราย จากผู้สมัคร 333,500 คน คิดเป็น 4.64 %
- ปี 2565 มีผู้สอบผ่านจำนวน 4,744 ราย จากผู้สมัคร 500,000 คน คิดเป็น 4 %
- ปี 2564 มีผู้สอบผ่านจำนวน 11,349 ราย จากผู้สมัคร 719,805 คน คิดเป็น 1.58 %
- ปี 2563 มีผู้สอบผ่านจำนวน 13,604 ราย จากผู้สมัคร 500,000 คน คิดเป็น 2.72%
- ปี 2562 มีผู้สอบผ่านจำนวน 21,085 ราย จากผู้สมัคร 470,385 คน คิดเป็น 4.48%
เกณฑ์ผ่านระดับ ปวช. ปวท./ปวส./อนุปริญญา และปริญญาตรี
วิชาความรู้ความสามารถทั่วไปในการคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วย 2 วิชาย่อย ได้แก่ ความสามารถทั่วไป (คณิตศาสตร์) และภาษาไทย เต็ม 100/ต้องผ่าน 60 คะแนน 2.วิชาภาษาอังกฤษ เต็ม 50/ต้องผ่าน 25 คะแนน 3.ความรู้ และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (กฎหมาย) เต็ม 50/ต้องผ่าน 30 คะแนน (กฎหมาย)
เกณฑ์ผ่านระดับ ปริญญาโท
วิชาความรู้ความสามารถทั่วไปในการคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วย 2 วิชาย่อย ได้แก่ ความสามารถทั่วไป (คณิตศาสตร์) และภาษาไทย เต็ม 50/ต้องผ่าน 25 คะแนน 2.วิชาภาษาอังกฤษ เต็ม 50/ต้องผ่าน 25 คะแนน 3.ความรู้ และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (กฎหมาย) เต็ม 50/ต้องผ่าน 30 คะแนน (กฎหมาย)
สอบผ่าน ก.พ.แล้วทำอะไรได้ต่อ
เมื่อเราสอบผ่านจะได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ เมื่อส่วนราชการใดเปิดรับสมัคร ซึ่งเรามีวุฒิการศึกษาตรงตามประกาศที่รับสมัครนั้น ให้เรายื่นใบสมัครสอบโดยนำบัตรประจำตัวประชาชน และหนังสือรับรองการสอบผ่าน (ทั้งตัวจริง และสำเนา) ไปยังหน่วยงานที่รับสมัคร และเข้าสอบ ภาค ข. และภาค ค. ต่อไป