อว.ผนึกบริติช เคานซิล จุดพลุตลาดวิจัยไทย ดันมหาลัยไทยสู่ World Class

กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ผนึก บริติช เคานซิล จุดพลุตลาดวิจัยไทย ดันมหาลัยไทยสู่ World Class

วันที่ 7 ตุลาคม 2564 ตามนโยบายการขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรม หรือ อว.นั้น ล่าสุดได้ร่วมมือกับ “บริติช เคานซิล ประเทศไทย” ในโครงการ Thai-UK World-class University Consortium เพื่อยกระดับ Ranking มหาวิทยาลัยไทยสู่อันดับ 1 ใน 100 ของมหาวิทยาลัยระดับโลก สู่การเป็นมหาวิทยาลัยด้านวิจัยและด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมแนวหน้า โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคนให้ทันโลก และสนองความต้องการของภาคธุรกิจที่ต้องการผู้ร่วมงานในอนาคต

“รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์” รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนับตั้งแต่ช่วงหลังปี 1990 ที่โลกเริ่มมี WWW. ทำให้ทั้งโลกมีความไฮเปอร์มาก ที่สำคัญคือเกิดการแข่งขันมากขึ้น หน้าที่ของ อว. จะต้องผลิตคนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก

รวมถึงต้องดำเนินการตามความคาดหวังของภาคธุรกิจไทย ให้ก้าวทัน “Global Trend” แม้ว่าประเทศไทยจะมีบุคลากรที่เก่งไม่แพ้กับชาติใด แต่ต้องมี “ตัวช่วย” และต้องเข้าใจจุดอ่อนที่สามารถพัฒนา ปรับปรุงให้กลายเป็นจุดแข็งขึ้นมาได้ ฉะนั้นจึงเกิดความร่วมมือกับ “บริติช เคานซิล ประเทศไทย” ที่เสมือนตัวช่วยให้รู้ว่ามหาวิทยาลัยที่มีความแข็งแรงทั้งในเชิงศักยภาพที่สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้

Advertisment

ตามนโยบายของ อว.ที่มุ่งเน้น 4 ยุทธศาสตร์คือ การพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน ยกระดับสังคม สิ่งแวดล้อมให้พัฒนาอย่างยั่งยืน พัฒนากำลังคน สถาบันอุดมศึกษา รวมถึงสถาบันด้านการวิจัยและนวัตกรรมขึ้นมาอยู่ในระดับแนวหน้า

“อว.จึงต้องปรับอย่างรวดเร็ว และให้เร็วกว่าเทคโนโลยี เราไม่ควรเป็นฝ่ายวิ่งตามเทคโนโลยีอย่างเดียวเท่านั้น นอกเหนือจากหน้าที่ดังกล่าวแล้ว อว. ยังมองถึงภาระกิจในยุคนี้ว่า ต้องเข้ามาดูให้เห็นถึงปัญหาที่แท้จริง เช่น ปัญหาของท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่สำคัญเราจะปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยอย่างไร อว.จะต้องนำเกมส์ให้ได้”

“รศ.ดร.พาสิทธิ์” กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ภายใต้โครงการดังกล่าว อว. ได้คัดเลือกมหาวิทยาลัย 7 แห่ง ใน 15 สาขาเพื่อนำร่องตามโครงการ เพื่อ “จับคู่” กับมหาวิทยาลัย รวมถึงสถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักร ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างระบบการศึกษาที่ดีและเชื่อมโยงกันรระดับสากลมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีตัวชี้วัดการศึกษาของประเทศ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย โดยงานวิจัยต่าง ๆ จะได้รับเงินสนับสนุนจาก อว. ที่ประมาณ 1 ล้านบาท

“การจัดอันดับเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าการศึกษาไทยเดินทางมาถึงไหนแล้ว ใน 5-10 ปีข้างหน้านี้ ความร่วมมือกันครั้งนี้ จะเป็นเส้นทางที่แต่ละมหาวิทยาลัยของไทยจะไปสู่ World Class ได้เร็วขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องอันดับอย่างเดียว แต่ต้องการให้เห็นศักยภาพของมหามหาลัยไทย ที่ อว.ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก”

Advertisment

ด้าน “เฮลก้า สแตลมาเกอร์” ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย ระบุว่า สำหรับมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมครั้งนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1 สาขา ในวิชาแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 7 สาขา คือ สถาปัตยกรรม วิศวกรรมเคมี วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ฯลฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และป่าไม้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น

ทั้งนี้นอกเหนือจากที่มหาวิทยาลัยเหล่านี้จะต้องแข่งขันให้ได้นั้น ยังจะต้องตามเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิชาการให้เทียบเคียงมาตรฐานสากล ให้ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติเข้ามาช่วยวิเคราะห์ทิศทาง และต้องทำแผนมาที่กระทรวงว่าเป็นอย่างไร พร้อมให้ความเห็น และดูกันในแต่ละปี ในหมาวิทยาลัยในกลุ่มเดียวกันจะช่วยให้โครงการบรรลุ มากขึ้น ปั้นเป็น World Class ให้กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

นอกเหนือจากความคาดหวังในการสร้างมาตรฐานในการการเรียนการสอน และการวิจัยที่ต้องได้เทียบเท่าสากลแล้ว โครงการวิจัยต่าง ๆ ต้องตอบโจทย์เรื่อง เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG (Sustainable Development Goals) ด้วย มหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือกครั้งนี้นั้นบริติช เคานซิล มองว่าส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีระบบที่ “เอื้อต่อการพัฒนา” ที่ดี ขาดแต่เพียงความร่วมมือกับต่างประเทศ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัย จึงเกิดเป็นความร่วมมือ ความเข้มแข็งที่คัดเลือกเข้ามาเป็นมหาลัยดัง มีระบบที่เอื้อต่อการพัฒนาที่ดี ความท้าทายของไทยคือการร่วมมือกับต่างประเทศ ที่จะทำให้แหล่งเงินทุนเข้ามาต่อยอดงานวิจัยได้

“โครงงานวิจัยถือเป็นอีกตัวชี้วัดอันดับของแต่ละมหาวิทยาลัย และคิดว่าโครงการนี้จะทำให้มีการทำงานดด้านวิจัยมากขึ้น 3 ปี นับจากนี้จะเห็นผล หลังจากวันนี้จะมีมหาวิทยาลัยจากสหราชอาณาจักรที่สนใจเข้ามาจับคู่กับมหาวิทยาลัยในแต่ละสาขา เช่น มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยจะมีเงินสนับสนุนที่ 3 ล้านบาทต่อทุน” เฮลก้า กล่าว