ราคาน้ำมันดิบร่วง หลังนักลงทุนเทขายทำกำไรระยะสั้น

– ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง จากแรงเทขายทำกำไร หลังราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. ในสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ระหว่างซาอุดิอาระเบียและอิหร่าน ยังคงเป็นแรงหนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงไม่มากนัก

– ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ ยังคงปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี ที่ 804 แท่น

+ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากความตึงเครียดระหว่างซาอุดิอาระเบียและอิหร่านที่เพิ่มมากขึ้น หลังกลุ่มกบฏฮูตีของเยเมนที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน ได้ยิงขีปนาวุธโจมตีกรุงริยาดห์ของซาอุดิอาระเบีย

+ ความกังวัลด้านสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน เริ่มคลี่คลายลง หลังมีรายงานว่าสหรัฐฯ และจีนจะจัดการเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางการค้า

Advertisment

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากความกังวลในเรื่องของอุปทานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำมันเบนซิน ยังคงได้รับแรงหนุนจากความต้องการใช้ในสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงหนุนจากอุปทานที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงของการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น

ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 64-69 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

Advertisment

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 68-73 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวขึ้น หลังโรงกลั่นกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุง รวมถึงการนำเข้าน้ำมันดิบยังคงอยู่ในระดับที่จำกัด โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมาปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับลดลง 2.6 ล้านบาร์เรล เนื่องจากกำลังการกลั่นของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน

การร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกโอเปกยังคงอยู่ในระดับที่ดี โดยระดับความร่วมมือระหว่างทั้งสองกลุ่มในเดือน ก.พ. แตะระดับสูงสุดตั้งแต่เริ่มข้อตกลง นอกจากนี้ กลุ่มผู้ผลิตยังมีแนวโน้มร่วมมือกันต่อเนื่องในการปรับลดกำลังการผลิตไปจนถึงปี 2562

ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มการขุดเจาะน้ำมันดิบขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี โดย EIA รายงานกำลังการผลิตน้ำมันดิบในปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 มาแตะระดับสูงสุดในประวัติการณ์ที่ 10.4 ล้านบาร์เรลต่อวันและปริมาณการผลิตคาดจะปรับตัวสูงขึ้นกว่า 11 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในสิ้นปีนี้