“กสิกรไทย” ชี้บาทอ่อนค่าทันที หลัง กนง.มีมติลดดอกเบี้ย 0.25%

นางสาวพีรพรรณ สุวรรณรัตน์ ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุนอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้ลดดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับ 1.50% ถือว่าผิดจากที่ตลาดคาดว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบาย โดยมติดังกล่าวต่างจากในการประชุมครั้งก่อน ณ เดือน มิ.ย. ซึ่ง กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% พร้อมทั้งลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2562 ลงจาก 3.8% มาอยู่ที่ 3.3%

“มติดังกล่าว ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าทันที จาก 30.757 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาแตะระดับสูงสุดที่ 30.880 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ”

นางสาวพีรพรรณ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ เป็นไปตามทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของโลกที่ผ่อนคลายลง โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีธนาคารกลางถึง 5 จาก 11 ประเทศ ที่ลดดอกเบี้ยนโยบายลงเช่นกัน อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และ ธนาคารกลางอินเดีย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็น “การแข่งขันการผ่อนคลายนโยบายการเงิน” ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญจากที่มีการแถลง มติ ครม. มีดังนี้

– กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจของไทยโดยรวมมีแนวโน้มอ่อนแอมากกว่าที่คาด ปัจจัยสำคัญ คือผดกระทบของนโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐขและจีน ส่งผลให้การส่งออกของไทยหดตัวต่อเนื่อง และเริ่มสงผลกระทบต่ออุปสงค์ในประเทศ รายได้ของครัวเลือนอกภาคเกษตรและการจ้างงานลดลงสินเชื่อเพื่อธุรกิจและครัวเรือนชะลอลง โดยเฉพาะเมื่อนโยบายกีดกันการค้ารุนแรงและขยายวงกว้างมาขึ้นการลดออกเบี้ยนโบายจะช่วยสนับสนุนศรษฐกิจและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ แถลงข่าวบ่งชี้ว่า กนง.มีแนวโน้มคงดอกเบี้ยในะดับปัจจุบันไปอีกระยะหนึ่ง ร่วมกับการใช้มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงิน (micro prudential) และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (macro prudential) มากขึ้น

– ทั้งนี้ คณะกรรมการ กนง. อีก 2 ท่านมองว่าการลดดอกเบี้ยในช่วงที่นโยบายการเงินผ่อนคลายอยู่แล้ว อาจไม่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจเท่าที่ควร และยังคงให้ความสำคัญของการสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Poicy space) มากกว่า

– กนง. ยอมรับว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะมีแนวโน้มเฉลี่ยต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเงินเฟ้อเป้าหมาย เนื่องจากราคาพลังงานลดลงรวดเร็ว อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะลดลงด้วย ตามแนวโน้มของกำลังซื้อในประเทศที่อ่อนแอลงเมื่อรายได้ลดลง แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมองว่าราคาอาหารสดจะเป็นปัจจัยพยุงเงินเฟ้อไว้ได้

-ด้านเงินบาท ที่ประชุม กนง. ยังคงกังวลผลกระทบของเงินบาทที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลคู่ค้าคู่แข่งต่อเศรษฐกิจในภาพรวม แม้ว่าก่อนหน้านี้จะได้ออกมาตรการลดการเก็งกำไรของเงินบาทไปแล้ว แต่ส่งสัญญาณว่าอาจจะออกมาตรการเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น

– ที่ประชุมลดความสำคัญของประเด็นเสถียรภาพระบบการเงินลง เนื่องจากได้ออกมาตรการดูแลการสะสมความเปราะบางในระบบการเงินแล้วระดับหนึ่ง แต่ยังติดตามการก่อสร้งภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มสงสัยขึ้นต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้ กนง. กังวลถึงพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (Search-for-yieid) ในภาวะดอกเบี้ยต่ำมาโดยตลอด มีความกังวลถึงพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (sarch-for-vied) ในภาวะตอกเบี้ยต่ำมาโดยตลอด