ส่องหลักเกณฑ์ “รับเงินฟรี” 1,000-2,000 บาท จากรัฐบาล สู้วิกฤตโควิด-19

คาดการณ์หลักเกณฑ์และเงื่อนไข “รับเงินฟรี” ตามมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาล ซึ่งกระทรวงการคลังเตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเร็วๆ นี้

เมื่อวานนี้ (4 มี.ค.) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศแจกเงินสู้วิกฤตไวรัวโควิด-19 ด้วยมาตรการ “ดูแลและเยียวยาผลกระทบโควิด-19 ชุดที่ 1” ซึ่งจะนำเสนอต่อคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ พิจารณาในวันที่ 6 มีนาคม จากนั้นนำเข้าที่ประชุม ครม. พิจารณาอนุมัติในวันที่ 10 มีนาคม 2563

นายอุตตม ชี้แจงความจำเป็นของมาตรการดังกล่าวว่า “วันนี้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รุนแรง และไม่อาจคาดเดาได้ว่าสถานการณ์จะดำเนินถึงเมื่อไหร่ จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการระยะสั้น เพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำไปกว่านี้ และการส่งเงินให้ถึงประชาชนเพื่อเอาไปใช้จ่าย คือ มาตรการที่ได้ผลเร็วที่สุด และเมื่อสถานการณ์ทุเลาลงแล้ว ก็ต้องมีมาตรการอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจต่อไป”

ผู้ที่จะได้รับสิทธิ์รับเงินเยียวยาและความช่วยเหลือในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามเงื่อนไข ดังนี้

1. ประชาชนทั่วไป

  • กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกร จากฐานข้อมูลผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ ที่มีอยู่ 14 ล้านคน
  • กลุ่มอาชีพอิสระ อาทิ คนขับรถตู้ คนขับแท็กซี่ สถาปนิก
  • คาดว่าจะเป็นการโอนเงินให้แบบรายเดือน ผ่านพร้อมเพย์
  • คาดว่าจำนวนเงินจะอยู่ระหว่าง 1,000-2,000 บาท
  • นายอุตตมระบุว่า จะไม่มีเงื่อนไขซับซ้อนในการนำเงินไปใช้
  • หากผ่านการตรวจสอบสิทธิแล้วสามารถใช้จ่ายได้เลย
  • ส่วนวงเงินที่จะโอนเข้าระบบอยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสม (ยังไม่สรุป)

ผู้ต้องการใช้สิทธิ์จะต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเพื่อตรวจสอบสิทธิเหมือนกับโครงการของรัฐบาลก่อนหน้านี้ เช่น โครงการชิมช้อปใช้

Advertisment

2. ผู้ประกอบการ

  • ผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายกลาง ครอบคลุมทั้งภาคการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม
  • มีการออกสินเชื่อที่สอดคล้องกับเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
  • ผ่อนปรนการสำรองหนี้ของธนาคารพาณิชย์เพื่อให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น
  • ให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้
  • มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) อาทิ ให้ธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำพิเศษให้กับธนาคารพาณิชย์
  • ให้ธนาคารพาณิชย์ไปปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการในราคาที่ถูก

ทั้งนี้ ยังมีมาตรการทางภาษี ที่จะยกเว้นหรือลดภาษี เพื่อให้เกิดเม็ดเงินส่วนต่างจากภาษีที่ลดไป หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีเงินหมุนเวียน ในช่วงที่การการค้าขายไม่เหมือนเดิม และช่วยดูแลลูกจ้าง เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการเกิดการเลิกจ้างงาน

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Advertisment

รัฐบาลเคาะแล้ว! แจกฟรี 1,000 บาท 2 เดือน สู้โควิด-19

เปิดรายละเอียด-เงื่อนไข “แจกเงินฟรี” 2 พันบาท ต้านพิษโควิด-19