รถไฟไทยหลังเปิด “สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์” เต็มสูบ

รถไฟ

19 ม.ค.นี้ ร.ฟ.ท. เอาจริง ขยับ 52 ขบวนออกจากหัวลำโพง ปิด 5 สถานีระดับพื้นดินแก้ปัญหาจุดตัดถนน-รางรถไฟ

วันที่ 16 มกราคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 19 มกราคมนี้จะมีการใช้สถานีกลางบางซื่อสำหรับรองรับขบวนรถไฟทั้งสายเหนือ-อีสาน และใต้ ทดแทนสถานีกรุงเทพหรือหัวลำโพงเป็นวันแรก การปรับเปลี่ยนครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อการเดินรถของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นอย่างมาก

เลิกใช้งานรับส่งผู้โดยสาร 5 สถานี

โดยรถไฟตั้งแต่สถานีดอนเมืองจนถึงสถานีกลางบางซื่อจะวิ่งบนทางยกระดับ และยกเลิกการจอดใน 5 สถานีระดับพื้นดิน คือ

  • ป้ายหยุดรถเคหะฯ กม. 19
  • สถานีหลักสี่
  • ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง
  • สถานีบางเขน
  • ป้ายหยุดรถนิคมรถไฟ กม. 11

โดยขบวนรถทั้งสายเหนือ-อีสาน และชานเมืองที่ใช้เส้นทางที่ผ่านสถานีเหล่านี้จะต้องวิ่งบนรางยกระดับตรงไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์หรือสถานีกลางบางซื่อ โดยไม่แวะจอด

และมีการปรับอีกเล็ก ๆ คือการย้ายสถานีดอนเมืองจากระดับภาคพื้นดินสู่สถานียกระดับหรือสถานีดอนเมืองของรถไฟชานเมืองสายสีแดง ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีเดิมประมาณ 600 เมตรนั่นเอง

การเปลี่ยนรูปแบบมาวิ่งบนทางยกระดับของรถไฟในครั้งนี้จะทำให้จุดตัดระว่างรถไฟกับถนน 8 จุดหายไป เน้น ๆ โดยเฉพาะจุดตัดระหว่างถนนงามวงศ์วานกับรางรถไฟที่ทำรถติดยาวเหยียดจนถึงถนนวิภาวดี

สำหรับโครงข่ายทางรางระดับพื้นดินต่อไปนี้จะถูกใช้สำหรับขบวนรับส่งสินค้า ซึ่งจะวิ่งในช่วงกลางคืนเพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างปัญหาต่อการจราจร

จัดโปรฯตั๋วรถไฟนั่งสายสีแดงฟรี 1 ปี

สำหรับผู้โดยสารขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา สามารถใช้ตั๋วโดยสารเข้าใช้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงได้ฟรี แต่สำหรับผู้โดยสารที่ใช้ขบวนรถชานเมืองจะต้องใช้ตั๋วเดือนสำหรับการเข้าใช้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงได้ฟรี ในเบื้องต้นได้มีกำหนดเวลาไว้เบื้องต้น 1 ปี

สำหรับขบวนรถสายใต้ จะมีเฉพาะรถด่วนพิเศษ และรถด่วนเท่านั้นที่วิ่งบนโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีแดงจากสถานีบางบำหรุถึงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ แต่สำหรับรถเร็ว รถธรรมดา และขบวนรถชานเมือง ยังอาศัยวิ่งบนระดับพื้นดินไม่เปลี่ยนแปลง

ลดขบวนรถเข้าหัวลำโพงหวังแก้รถติด

ขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว และรถธรรมดา จะมีจุดหมายปลายทางที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ แทนที่จะเป็นสถานีกรุงเทพหรือหัวลำโพง ซึ่งจะช่วยลดขบวนรถไฟที่มุ่งหน้าสู่หัวลำโพงได้ทั้งสิ้น 52 ขบวน เพื่อลดปัญหาการจราจรที่หนาแน่นของกรุงเทพฯชั้นใน

ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมด้านสถานที่ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์อย่างเต็มรูปแบบ เช่น ป้ายบอกทาง ที่พักคอยผู้โดยสาร รถเข็นสัมภาระ ลานจอดรถ เพื่อรองรับการใช้บริการที่สะดวกสบาย ปลอดภัย คลอบคลุมสำหรับผู้ใช้บริการทุกเพศ ทุกวัย

โดยทางเข้าของผู้โดยสารจะอยู่ที่ประตู 4 และจะมีช่องจำหน่ายตั๋วให้บริการทั้งหมด 10 ช่อง ผู้โดยสารที่มีตั๋วโดยสารสามารถรอการโดยสารภายในโถงด้านล่างสถานี เพื่อรอขึ้นขบวนรถบนชานชาลาก่อนขบวนรถออก 20 นาที โดยสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ขาออกจะอยู่ที่ชานชาลา 1-2 และขาเข้าจะอยู่ที่ชานชาลา 5-6 ส่วนสายใต้ขาออก จะอยู่ที่ชานชาลา 7-8 และขาเข้าอยู่ที่ชานชาลา 11-12 ส่วนการ

ในส่วนของขบวนรถชานเมืองจะยังมีการเดินทางเข้าสู่สถานีกรุงเทพหรือหัวลำโพงตามปกติ โดยมีจำนวน 62 ขบวน โดยนายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย ยืนยันกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ยังไม่มีการพูดคุยในเรื่องการยกเลิกขบวนรถชานเมืองเข้าสู่สถานีกรุงเทพหรือหัวลำโพงใน 1-2 ปีนี้อย่างแน่นอน

เช็กรถไฟขบวนไม่เข้าสถานีกรุงเทพที่นี่

สายเหนือ

  1. ขบวน 7/8 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-เชียงใหม่-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  2. ขบวน 9/10 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-เชียงใหม่-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  3. ขบวน 13/14 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-เชียงใหม่-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  4. ขบวน 51/52 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-เชียงใหม่-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  5. ขบวน 109/102 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-เชียงใหม่-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  6. ขบวน 107/112 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-เด่นชัย-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  7. ขบวน 111/108 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-เด่นชัย-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

สายอีสาน

  1. ขบวน 21/22 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-อุบลราชธานี-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  2. ขบวน 23/24 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-อุบลราชธานี-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  3. ขบวน 71/72 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-อุบลราชธานี-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  4. ขบวน 135/136 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-อุบลราชธานี-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  5. ขบวน 139/140 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-อุบลราชธานี-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  6. ขบวน 141/142 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-อุบลราชธานี-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  7. ขบวน 25/26 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-หนองคาย-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  8. ขบวน 75/76 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-หนองคาย-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  9. ขบวน 133/134 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-หนองคาย-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

สายใต้

  1. ขบวน 31/32 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ชุมทางหาดใหญ่-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  2. ขบวน 37/38 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-สุไหงโกลก-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  3. ขบวน 171/172 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-สุไหงโกลก-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  4. ขบวน 39/44 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-สุราษฎร์ธานี-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  5. ขบวน 43/40 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-สุราษฎร์ธานี-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  6. ขบวน 45/46 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ปาดังเบซาร์-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  7. ขบวน 83/84 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ตรัง-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  8. ขบวน 85/86 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-นครศรีธรรมราช-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  9. ขบวน 167/168 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-กันตัง-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
  10. ขบวน 169/170 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ยะลา-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์