รู้จักโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 ติดง่ายแค่ไหน ร้ายแรงอย่างไร ?

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16

โควิดสายพันธ์ใหม่ ร้ายแรงแค่ไหน หลังหมอมนูญ เผยพบชายไทยติดโควิด ตาแดง ขี้ตาเหนียว คาดรับเชื้อ XBB.1.16

วันที่ 24 เมษายน 2566 โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 หรือ อาร์คตูรุส เป็นสายพันธ์ุที่พบผู้ป่วยครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยประเด็นคำถามซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับความกังวลตัวเลขการแพร่ระบาดของเจ้า XBB.1.16 ที่คาดว่าจะสูงขึ้นหลังสงกรานต์ ที่ ณ เวลานี้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากโควิดเชื้อโอมิครอนลูกผสม สายพันธุ์ XBB.1.16 ซึ่งติดเชื้อได้ง่ายดายกว่าเดิม 2 เท่าในประเทศไทย พบผู้ป่วยแล้วทั้งสิ้น 8 ราย (ข้อมูล 17 เม.ย. 66)

ล่าสุด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโควิดภายในประเทศ รายสัปดาห์(สัปดาห์ที่ 16 : 16-22 เมษายน 66) ว่า พบผู้ป่วยใหม่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) จำนวน 1,088 ราย เฉลี่ยรายวัน จำนวน 155 ราย/วัน มีผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์) จำนวน 5 ราย เฉลี่ยรายวัน จำนวน 1 ราย/วัน

ส่วนจำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ ข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2566 มีจำนวน 73 คน และมีผู้ป่วยต้องใส่ท่อช่วยหายใจจำนวน 35 คน

สำหรับจำนวนผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลสะสม 6,571 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566) ผู้เสียชีวิต สะสม 278 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566)

ขณะที่จำนวนการได้รับวัคซีนโควิด-19 ล่าสุด ข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2566 ภาพรวมมีจำนวน 144.95 ล้านโดส โดยมีผู้ฉีด 1 เข็ม ยอดสะสม 57.23 ล้านโดส ครอบคลุมประชากร 82.28% ฉีดจำนวน 2 เข็ม 53.73 ล้านโดส ครอบคลุมประชากร77.25% และฉีดจำนวน 3 เข็ม 33.98 ล้านโดส

โควิด-19 สายพันธุ์ XBB คืออะไร

ไวรัส SARS-COV-2 สายพันธ์ XBB คือสายพันธุ์ที่อาจจะระบาดเพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทยปี 2566 นี้ โดยไวรัสดังกล่างเป็นลูกผสมสายพันธุ์ย่อยที่มีตระกูลจาก Omicron BA.2 คาดว่าไวรัส XBB ก็อาจมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ย่อยต่อไปได้อีกอย่างรวดเร็ว

 

คุณสมบัติของ โควิด-19 สายพันธุ์ XBB

1.ติดต่อง่ายขึ้น

2.หลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีไม่ว่าจะจากการฉีดวัคซีน หรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB)

3.เกิดการติดเชื้อซ้ำได้ง่ายขึ้น

คำแนะนำจากแพทย์

โควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ลูกผสมใหม่ ๆ ยังไม่พบว่ามีความรุนแรง และเสียชีวิตสูงเหมือนสายพันธุ์ที่ผ่านมาโดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA เข็มกระตุ้นแล้ว ซึ่งช่วยลดโอกาสเกิดโรครุนแรงได้มาก ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องจึงควรเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่มเติม

โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดสูง คาดว่าไวรัส XBB ก็อาจมีการกลายพันธุ์ เกิดเป็นสายพันธุ์ย่อยต่อไปได้อีกอย่างรวดเร็ว โดยผู้ป่วยมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ หากอยู่ในพื้นที่มีฝุ่น PM 2.5 หนาแน่นจะทำให้มีอาการหนักเพิ่มขึ้นที่สำคัญ คนที่ไม่เคยติดโควิดมาก่อน จะมีความรุนแรงของโรค หนักกว่าคนที่เคยเป็นโควิดมาแล้ว

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16

อาการโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16

1.มีไข้สูง

2.ไอ

3.จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส

4.เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ลักษณะคล้ายตาแดง มีผื่นคัน (ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เยื่อบุตาอักเสบ ภูมิแพ้ ควรระมัดระวัง)

หมอมนูญ เผยพบชายไทยติดโควิด ตาแดง ขี้ตาเหนียว คาดรับเชื้อ XBB.1.16

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์​ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC” รายงานพบผู้ป่วยชาย อายุ 42 ปี ป่วยด้วยโรคโควิด-19 และมีอาการเข้ากับการติดเชื้อโอมิครอน XBB.1.16 โดยระบุว่า

ประเทศอินเดียรายงานว่า พบอาการตาแดง คันตา ขี้ตาเหนียว ทำให้ลืมตาลำบาก โดยเฉพาะในเด็กที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16 เหมือนกับอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส เป็นลักษณะค่อนข้างจำเพาะของคนที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา

ผู้ป่วยชายไทยอายุ 42 ปี วันที่ 13 เมษายน 2566 ระหว่างอยู่ต่างประเทศ เริ่มมีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล กลับถึงประเทศไทยวันที่ 16 เมษายน ตาแดง มีขี้ตาเหนียวทั้ง 2 ข้าง ลืมตาได้ ไม่คันตา ไม่เจ็บตา ตามองเห็นปกติ ไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้ เคยติดเชื้อโควิด-19 มกราคม 2565 ครั้งนั้นตาไม่แดง ฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนก้า 2 เข็ม และโมเดอร์นา 1 เข็ม วันที่ 17 เมษายน 2566 ตรวจ ATK ให้ผลบวก เอกซเรย์ปอดปกติ ได้ยาโมลนูพิราเวียร์ อาการต่าง ๆ ไข้ ไอ ดีขึ้น ตาแดงดีขึ้นใช้เวลา 7 วัน

ผู้ป่วยรายนี้น่าจะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 จากต่างประเทศมากที่สุด ทำให้เกิดอาการตาแดง มีขี้ตาเหนียวร่วมด้วย

คำแนะนำจากแพทย์

ทั้งนี้ จากรายงานการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนลูกผสมใหม่ดังกล่าว “ยังไม่พบว่ามีความรุนแรง” และเสียชีวิตสูงเหมือนสายพันธุ์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA เข็มกระตุ้นแล้ว ซึ่งช่วยลดโอกาสเกิดโรครุนแรงได้มาก ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องจึงควรเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่มเติม โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดสูง

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16
ภาพจากเว็บไซต์

ข้อมูล : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี