กรมอุตุฯ เตือนพายุโซนร้อน “ซันปา” ฉบับ 8 ภาคใต้-ตะวันออก ฝนตกหนัก

พายุโซนร้อนซันปา SANBA

กรมอุตุฯออกประกาศเตือนฉบับที่ 8 พายุโซนร้อน “ซันปา” (SANBA) กำลังเข้าสูอ่าวตังเกี๋ย พายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของไทย ขณะที่ภาคตะวันออก-ภาคใต้มีฝนตกหนัก 60-70% ของพื้นที่ อิทธิพลจากร่องมรสุมพาดผ่าน เสี่ยงท่วมฉับพลัน ส่วน กทม.ยังมีฝน 40% ของพื้นที่

วันที่ 19 ตุลาคม 2566 นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ ฉบับที่ 8 เรื่อง พายุโซนร้อน “ซันปา”

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (19 ต.ค. 66) พายุโซนร้อน “ซันปา” มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 19.6 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ ด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข้าสูอ่าวตังเกี๋ย โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เตือนฉบับที่ 8 พายุซันปา

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า

สำหรับพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลักษณะอากาศทั่วไปบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนน้อย ในขณะที่ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคใต้ตอนบน อ่าวไทยตอนบน และภาคตะวันออก

ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง และอ่าวไทย ทำให้ภาคกลางตอนล่าง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

พายุโซนร้อน "ซันปา" (SANBA)
พายุโซนร้อน “ซันปา” (SANBA)

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06.00 น. วันนี้ ถึง 06.00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และตาก
อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร
นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมา : ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพฯและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

พยากรณ์อากาศ 19 ตุลาคม 2566

(ออกประกาศ 19 ตุลาคม 2566)