ประธานบอร์ด อภ.เปิดข้อมูลนานาประเทศกับการใช้ “กัญชา”

AFP PHOTO / Lars Hagberg

จากสถานการณ์ข่าวกัญชาทางการแพทย์ที่ถูกจับตามอง ณ ขณะนี้ เกิดคำถามมากมายว่า ประเด็นแนวทางการใช้กฎหมายการควบคุมต่างๆ ของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร

เรื่องนี้ นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม หรือบอร์ด อภ. ให้ความรู้ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Sopon Mekthon แบ่งเป็น

1.ประเทศต่างๆ มีกฎหมายอนุญาตให้ใช้กัญชาอย่างไรบ้าง ข้อมูลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ดังนี้

1.สหราชอาณาจักร
ใช้เฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561
สั่งใช้โดยแพทย์เฉพาะทาง ระบบประสาทและกุมารเวชศาสตร์

2.สหรัฐอเมริกา
ใช้เฉพาะทางการแพทย์ 33 มลรัฐ
มี 10 ใน 33 มลรัฐอนุญาตให้ใช้แบบสันทนาการได้
มี 17 มลรัฐยังไม่แก้ไขกฎหมาย
กฎหมายของประเทศถือว่ากัญชาเป็นสิ่งผิดกฏหมาย

3.ฟินแลนด์
ใช้เฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น

4.แคนาดา
ใช้ทางการแพทย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001. ต่อมาในปี ค.ศ. 2014 ต้องใช้ใบสั่งแพทย์
ใช้แบบสันทนาการได้เมื่อตุลาคม 2018 แต่ห้ามไม่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าถึงกัญชา
ห้ามซื้อขายอย่างผิดกฎหมายมีโทษสูงสุดจำคุก 14 ปี

5.เยอรมนี
ใช้ทางการแพทย์ตั้งแต่ ค.ศ. 2017
การปลูก การซื้อการขาย การเป็นเจ้าของกัญชาผิดกฎหมาย แต่กฎหมายไม่ได้ระบุถึงการบริโภค

6.เนเธอร์แลนด์
อนุญาตให้เสพและจำหน่ายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970. ขณะนี้มีแนวโน้มทางอนุรักษ์นิยมมากขึ้น
ใช้ทางการแพทย์ ค.ศ. 2002 โดยแพทย์เป็นผู้สั่งใช้
การครอบครองกัญชาเพื่อบริโภคเองไม่เกิน 5 กรัม ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ไม่ถือเป็นคดีอาญา
การครอบครอง 5-30 กรัม จะถูกยึดและปรับ 75 ยูโร
การครอบครองมากกว่า30 กรัม จะเป็นคดีอาญาโทษสูงสุดจำคุกสองปี
กัญชาหรือเป็นยาเสพติดชนิดไม่รุนแรง เป็นสิ่งผิดกฎหมายแต่มีนโยบายผ่อนปรน เช่นการเปิดคอฟฟี่ช็อปขายได้ไม่เกิน 5 กรัมต่อครั้ง

ปลูกได้ครัวเรือนละ 5 ต้น เพื่อเสพส่วนตัว ห้ามปลูกเพื่อการพาณิชย์ ถ้ามีการตรวจค้นเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องยึดของกลางทั้งหมด แต่ไม่มีการดำเนินคดีถ้าไม่เกิน 5 ต้น (ขอขอบคุณข้อมูลจากทูตพาณิชย์ประจำประเทศต่างๆ เป็นข้อมูลที่ทางองค์การเภสัชกรรมขอความร่วมมือจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)

2.กระบวนการในการควบคุมกัญชาของประเทศต่างๆ ข้อมูลจากทูตพาณิชย์ไทยจากประเทศต่างๆ ข้อมูลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ดังนี้

1.สหราชอาณาจักร
ผลิตภัณฑ์กัญชาที่ได้รับอนุญาต
1.มีส่วนประกอบของ Cannabis. Cannabis resin. Cannabinol or Cannabinol derivatives
2.สำหรับใช้ทางการแพทย์
3.เป็น ingradient ของยา

2.สหรัฐอเมริกา
การควบคุมขึ้นกับ. USDA,FDA,DEA

3.ฟินแลนด์
ไม่อนุญาตให้ปลูกกัญชา
มีหน่วยงานภายใต้กระทรวงสาธาณสุขควบคุมดูแล

4.แคนาดา
อนุญาตให้ปลูกตั้งแต่ปี 1998 ภายใต้การควบคุมโดย Health Canada
ปัจจุบันอนุญาตให้ซื้อขาย ครอบครอง แจกจ่ายได้ไม่เกิน 30 กรัมต่อคน และปลูกได้ไม่เกิน 4 ต้นต่อครอบครัว แต่ห้ามบุคคลทั่วไปจำหน่ายกัญชาที่ปลูกได้เอง
การทำเชิงพาณิชย์จะต้องได้รับอนุญาตจาก Health Canada

5.เยอรมนี
มีหน่วยงานภายใต้กระทรวงสาธารณสุขดูแลควบคุม
หน่วยงานของรัฐไม่ได้ปลูกกัญชาเอง แต่ใช้วิธีเปิดซองประมูลทัวร์ยุโรป

6.เนเธอร์แลนด์
มีหน่วยงาน OMC Office of Medical Cannabis ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขดูแลควบคุม การผลิต คุณภาพและกระจายให้เพียงพอในการใช้ควบคุมการผลิต ปลูกในอาคารภายใต้แสงประดิษฐ์ ปราศจากยาฆ่าแมลง ป้องกันการปนเปื้อนจากเชื้อโรค ต้องผ่านการตรวจสอบว่ามีคุณภาพดีแล้วจึงส่งจำหน่ายได้
(ขอขอบคุณข้อมูลจากทูตพาณิชย์ประจำประเทศต่างๆ เป็นข้อมูลที่ทางองค์การเภสัชกรรมขอความร่วมมือจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)

3.แนวทางการใช้ยากัญชามารักษาโรคของประเทศต่างๆ ข้อมูลจากทูตพาณิชย์ไทยประจำประเทศต่างๆ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562

1.สหราชอาณาจักร
โรคลมชักอย่างรุนแรงในเด็ก
กล้ามเนื้อโหดเกร็งอย่าง รุนแรงจากโรคปลอกประสาทเสื่อม
อาเจียนอย่างรุนแรงจากเคมีบำบัด
เป็นการรักษาเฉพาะรายกรณี case by case. โดยผ่านการรักษาวิธีอื่นมาแล้วแต่ไม่ดีขึ้นหรือเป็นหนทางเดียวในการรักษา จึงคาดการณ์ว่ามีผู้ป่วยจำนวนน้อยมากที่ได้รับการรักษาด้วยกัญชา

2.สหรัฐอเมริกา
Proven Uses
Glaucoma/ MS , Cerebal Palsy ,Spinal injury / Asthma / Pain relief / Antinausea for Cancer patient / Appetite stimulation in cancer patients
Emerging Uses
Alzheimer’s/ Tourette s syndromes/ Sleep Apnea / Hypertension / Hepatitis C / Diabetes / HIV / Osteoporosis/ Rheumatoid Arthritis/ Incontinence / Chronic pain / Fibromyalgia

3.ฟินแลนด์
โดยแพทย์เฉพาะทาง ประสาทวิทยาเป็นผู้สั่งจ่าย
MS. /CA / Parkinson / Rheumatism / Chronic Migraine

4.แคนาดา
CBD ลดปวด ลดคลื่นไส้อาเจียน ลดการอักเสบ ระงับชักเกร็ง. คลายเครียด ระงับเซลล์มะเร็ง สร้างภูมิคุ้มกันในระบบประสาท
THC ทำให้อยากอาหาร บรรเทาปวดกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายเคลิบเคลิ้ม ระบบสัมผัสทำงานดีขึ้น

5.เยอรมนี
ขึ้นกับวิจารณญาณของแพทย์แต่ละสาขา และบริษัทประกันที่ดูเรื่องค่าใช้จ่าย
หน่วยงานของรัฐไม่มีหน้าที่ในการกำหนดและควบคุมรูปแบบการรักษาโรค

6.เนเธอร์แลนด์
ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ออกใบสั่งถ้าเห็นว่ายาประเภทอื่นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการรักษาโรคร้ายแรงนั้นๆ

(ขอขอบคุณข้อมูลจากทูตพาณิชย์ประจำประเทศต่างๆ เป็นข้อมูลที่ทางองค์การเภสัชกรรมขอความร่วมมือจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)

 

ที่มา : มติชนออนไลน์