ศบค. โชว์แผน “เปิดประเทศ” 1 พ.ย. ชู 5 กลยุทธ์ 4 เป้าหมาย

แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์

ศบค.เปิดแผนรองรับการเปิดประเทศ 1 พ.ย. นี้ ชู 5 กลยุทธ์ และ 4 เป้าหมาย เผยภาคใต้ยังน่าห่วง 5 จังหวัดติดท็อป 10 แถมตัวเลขเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะยะลา ขณะที่ผลตรวจ ATK ภาคใต้นำโด่ง ขณะที่ยังเจอคลัสเตอร์ใหม่ อย่างต่อเนื่อง

วันที่ 15 ตุลาคม 2564 แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงสถานการณ์ประจำวันว่า สำหรับ.สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 มีผู้ป่วยรายใหม่ 10,486 ราย หายป่วยแล้ว 1,609,035 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,733,327 ราย เสียชีวิตสะสม 18,029 ราย

ส่วนข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563 มีหายป่วยแล้ว 1,636,461 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,762,190 ราย เสียชีวิตสะสม 18,123 ราย

“วันนี้มีรายงานคนหายป่วยกลับบ้าน 10,711 ราย ผู้เสียชีวิต 94 คน ผู้ที่ยังรักษาตัวอยู่ใน รพ. 107,606 ราย อยู่ใน รพ. 41,154 ราย รพ.สนามและอื่น ๆ 66,452 ราย อาการหนัก 2,897 ราย ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 684 ราย”

วัคซีนเข็ม 1 ฉีดเกิน 50% ของประชากร

ขณะที่ผู้ขอรับการฉีดวัคซีน ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2564 มีผู้รับการฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 481,973 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 509,853 ราย และเข็มที่ 3 จำนวน 42,723 ราย และระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 14 ตุลาคม 2564 มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 63,614,352 โดส

สำหรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก ข้อมูล ณ วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. มียอดผู้ติดเชื้อรวม 240,383,902 ราย อาการรุนแรง 81,173 ราย รักษาหายแล้ว 217,610,544 ราย และเสียชีวิต 4,896,169 ราย

ส่วนอันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด อันดับ 1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 45,639,012 ราย 2. อินเดีย จำนวน 34,036,684 ราย 3. บราซิล จำนวน 21,612,237 ราย 4. สหราชอาณาจักร จำนวน 8,317,439 ราย 5. รัสเซีย จำนวน 7,892,980 ราย

ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 24 ของโลก จากจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 1,762,190 ราย

เปิดผลตรวจ ATK ภาคใต้นำโด่ง

ส่วนยอดตรวจ ATK วันที่ 15 ตุลาคม 2564 มีจำนวน 31,781 ราย ยอดตรวจสะสมวันที่ 20 สิงหาคม-15 ตุลาคม 2564 จำนวน 2,484,903 ราย ยอดผลบวก ATK วันนี้มียอดผลบวกจำนวน 2,192 ราย รวมยอดสะสม ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม-15 ตุลาคม 2564 จำนวน 161,595 ราย

“ถ้าดูในเขตสุขภาพที่ 12 ในภาคใต้จะเห็นว่า ที่ จ.นครศรีธรรมราช เป็นการรายงาย ATK 7 วัน เปอร์เซ็นต์จะอยู่ที่ 30.3% สงขลา 6.8% นราธิวาส 34% ปัตตานี 20.4% พัทลุง 12.3% เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยะลา 19.4% สตูล 9.1% ส่วนภาคเหนือจะเป็นเชียงใหม่และเชียงราย 17.3% และ 15.4% ตามลำดับ รวม ๆ ทั้งประเทศจะอยู่ที่ 6-7% แต่การบริหารงานต้องดูตามรายภาคและจังหวัด และเป็นรายอำเภอด้วย ซึ่งถ้ามีผลบวกแล้วต้องเข้ารับการรักษาตามระบบของสาธารณสุข”

“ถ้าดูกราฟรวมของทั้งประเทศ จะเห็นว่าพื้นที่ที่เราเน้นย้ำตลอดมาเป็นเดือนคือจังหวัดชายแดนใต้ วันนี้เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปถึง 25% (2,510 ราย) สวนทางกับ กทม.และปริมณฑลที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง วันนี้ กทม.และปริมณฑลอยู่ที่ 17%”

เช่นเดียวกับการรายงานผู้เสียชีวิตจะเห็นว่าในพื้นที่ภาคใต้มีผู้เสียชีวิตรวม 36 คน แยกเป็น นครศรีธรรมราช 8 คน นราธิวาส 7 คน ปัตตานี 7 คน สงขลา 4 คน ยะลา 3 คน สตูล 2 คน สุราษฎร์ธานี 2 คน กระบี่ 1 คน ชุมพร 1 คน ระนอง 1 คน

ภาคใต้ติดท็อป 10 ติดเชื้อสูงสุด 5 จังหวัด

“ต้องเน้นย้ำว่าผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ กลุ่ม 7 โรคเสี่ยง วันนี้ตัวเลขขึ้นไปสูงถึง 88 ราย หรือสูงถึง 94% และ 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุดในส่วนของภาคใต้นอกจากตัวเลขอยู่ในระดับบน ๆ แล้ว ตัวเลขยังสูงด้วย เช่น ยะลาวันนี้อยู่ที่ 767 ราย ปัตตานี 644 ราย สงขลา 605 ราย นราธิวาส 494 ราย นครศรีธรรมราช 488 ราย และอีกหลายจังหวัดที่ตัวเลขยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เจอคลัสเตอร์ใหม่อีกเพียบ

แพทย์หญิงอภิสมัยกล่าวว่า สำหรับการระบาดจากการสอบสวนโรค จากการตั้งต้นเป็นคลัสเตอร์เล็ก ๆ จากแคมป์คนงาน เป็นโรงงาน ตอนนี้พบว่าการระบาดเริ่มที่จะแพร่กระจายไปยังครอบครัวและชุมชน ซึ่งถ้าจำกันได้จะเป็นรูปแบบเดียวกับ กทม.และปริมณฑล คงต้องย้ำไปทางจังหวัดภาคใต้ว่า การแพร่ระบาดที่เกิดจากคลัสเตอร์เล็ก ๆ ขอให้มีการเฝ้าระวังติดตาม สอบสวนโรคให้ได้อย่างทันท่วงที เพราะจะเห็นในลักษณะเดียวกันที่ตัวเลขจะบวกขึ้นไปอย่างก้าวกระโดด

ส่วนอันดับ 10 เชียงใหม่วันนี้อยู่ที่ 233 ราย ซึ่ง ศบค.มีความเป็นห่วง เพราะวันนี้มีทั้งตลาด โรงงาน สถานศึกษา และบ้านพักเด็ก ส่วนคลัสเตอร์อื่น ๆ วันนี้มีรายงานของชลบุรี เป็นแคมป์ก่อสร้าง ค่ายทหาร, ประจวบคีรีขันธ์ แคมป์ก่อสร้าง, อุบลราชธานี เป็นการระบาดในโรงพยาบาล ทุกวันนี้พบปอดอักเสบไม่ทราบสาหตุ ไม่รู้ตัวว่าติดจากไหน สอบสวนไทม์ไลน์ได้อย่างยากลำบาก

“ต้องเน้นย้ำว่าผู้ป่วยที่มีไข้ มีอาการระบบทางเดินหายใจ PUI ต้องให้โรงพยาบาลต้องเฝ้าระวังคัดกรองเข้มงวด หากบุคลากรติดเชื้อจังหวัดจะมีสถานการณ์ยากลำบากมากยิ่งขึ้น ส่วนที่ จ.ตรัง งานเลี้ยงเกษียณ ซึ่งเคยกำชับไปแล้ว, งานศพพบที่ ขอนแก่น หนองเรือ บ้านฝาง, ชลบุรีเป็นค่ายทหาร อุบลราชธานี ร้านอาหาร, ล้งผลไม้ที่จันทบุรี ลำพูนมีแรงงานไทยที่เก็บถั่วแระเป็นคลัสเตอร์เป็นกลุ่มก้อนด้วย” แพทย์หญิงอภิสมัยกล่าว

ส่วนการปรับระดับสีของแต่ละพื้นที่ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค.ได้แถลงไปเมื่อวานนี้ มีการปรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดจาก 29 จังหวัดเป็น 23 จังหวัด มีจังหวัดใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือ จันทบุรีและนครศรีธรรมราช

ส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุดจาก 37 จังหวัด เหลือ 30 จังหวัด และพื้นที่ควบคุมจาก 11 จังหวัด เป็น 24 จังหวัด ซึ่งจะมีผลในวันที่ 16 ตุลาคม 2564 นี้ และจะมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ส่วนเคอร์ฟิวปรับเป็น 5 ทุ่ม ถึงตี 3

กางแผนเปิดประเทศ 5 กลยุทธ์ และ 4 เป้าหมาย

แพทย์หญิงอภิสมัยกล่าวต่อว่าในส่วนของแผนการรองรับการเปิดประเทศ การเข้าราชอาณาจักรโดยไม่กักตัวและไม่จำกัดพื้น ส่วนเรื่องการกำหนดประเทศที่จะเข้ามาในราชอาณาจักรตามความเสี่ยงนั้น ขอให้ติดตามการประกาศของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป

ส่วนแผนรองรับการเปิดประเทศในช่วงพฤศจิกายนถึงธันวาคม ตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศก่อนหน้านี้ โดยเน้นย้ำว่าองค์กรหรือบริษัทใดบริษัทหนึ่งจะทำโดยลำพังคงเป็นไปไม่ได้ ต้องขอความร่วมมือทั้งประเทศ ทั้งในส่วนของภาครัฐ ผู้ประกอบการและภาคประชาชนด้วย

สำหรับหลักการของแผนเปิดประเทศ จะมี 5 กลยุทธ์ และ 4 เป้าหมาย

สำหรับ 5 กลุทธ์ประกอบด้วย

1. การเปิดประเทศอย่างปลอดภัย

2. การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมดรคในกลุ่มเสี่ยง/สถานที่เสี่ยง/กลุ่มเปราะบาง

3. การเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข

4. การพัฒนาระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความเสี่ยง

5. การสร้างกลไกการบริหารจัดการแบบบูรณาการ

ส่วนเป้าหมายสำหรับรองรับแผนการเปิดประเทศ ประกอบไปด้วย

1. สร้างความเชื่อมั่น : ให้ประชาชนเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) หรือดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามหลักการแพทย์และสาธารณสุข

2. สร้างความมมั่นคงด้านสุขภาพ : ประชาชนไทยมีภูมิคุ้มกันหมุ่ และมีควาปลอดภัยจาการเสียชีวิตเนื่องจากโรคดควิด-19 รวมถึงการรักษาระดับความมั่นคงด้านสาธารณสุขได้อย่างต่อเนื่อง

3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ : เศรษฐกิจของประเทศกลับมาฟื้นตัว โดยมีอัตราเติบโตของ GDP เป็นไปตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

4. เสริมสร้างสังคมและวัฒนธรรม : ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรมตามเดิมได้ โดยยังคงปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันและควบคุมโรค DMHTTA ต่อไป

“การเปิดประเทศอย่างปลอดภัยตอนนี้กระทรวงสาธารณสุขมีการทำแผนว่ามีประเทศไหนบ้างที่อนุญาตได้เลย คือ 5 ประเทศเดิม (สหรัฐ อังกฤษ เยอรมนี จีน ญี่ปุ่น) ตอนนนี้กำลังพิจารณาเพิ่ม” แพทย์หญิงอภิสมัยกล่าว

ส่วนการปรับมาตรการ เช่น ลดวันกักตัว การปรับการตรวจหาเชื้อ ปรับลดค่าประกันรักษาดโควิด และมาตรการที่เกี่ยวข้อง เช่น ประชาชนคนไทยได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม มีการใช้มาตรการ covid free setting หรือสถานประกอบการปลอดโควิด เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีการเฝ้าระวังการลักลอบ หลบหนี เข้าออกประเทศ มีการจัดระบบแรงงานต่างด้าวกลับเข้าประเทศ และลดการจ้างงานที่ผิดกฎหมาย ซึ่งมีความเชื่อมดยงกัน กระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบดูแล

การเฝ้าระวังป้องกันการควบคุมโรค โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง สถานที่เสี่ยง กลุ่มเปราะบางในชุมชน ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด รวมถึงการค้นหาเชิงรุก การดำเนินการป้องกันในรูปแบบ bubble and seal เป็นต้น (ตามกราฟิก)