
RCEP หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership) สำคัญอย่างไร ไทยได้ประโยชน์อะไรบ้าง
วันที่ 30 มกราคม 2565 กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า RCEP หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership) เขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดของโลกมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 2565 โดยมีไทยเป็น 1 ใน 15 ประเทศที่ร่วมก่อตั้ง
- ในหลวง พระราชินี เสด็จฯส่วนพระองค์ ทรงร่วมแข่งเรือใบ จ.ภูเก็ต
- เช็กที่นี่ เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท เดือนธันวาคม 2566 เงินเข้าวันไหน
- เปิดค่าตอบแทน “ผู้บริหาร” ยักษ์ บจ. BBL จ่ายพันล้านต่อปี ทิ้งห่างคู่แข่ง
ข้อกำหนดเบื้องต้น ระบุว่า เมื่อสมาชิกอาเซียนจำนวนอย่างน้อย 6 ประเทศ และนอกอาเซียนอย่างน้อย 3 ประเทศ ให้สัตยาบันแล้ว ความตกลงจะมีผลใช้บังคับ ดังนั้น ตั้งแต่ 1 ม.ค. RCEP จึงมีผลบังคับใช้กับชาติสมาชิก คือ บรูไนดารุสซาลาม, กัมพูชา, ลาว, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม, ออสเตรเลีย, จีน, ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ ส่วนประเทศที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเมียนมา ซึ่งคาดว่าอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการและจะให้สัตยาบันได้ในเร็ววัน
ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากความตกลง RCEP อาทิ สมาชิก RCEP ยกเลิกภาษีนำเข้าที่เก็บกับสินค้าไทย จำนวน 39,366 รายการ โดยลดภาษีเหลือ 0% ทันที จำนวน 29,891 รายการ
นอกจากนี้ ความตกลง RCEP จะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าแก่สมาชิก อาทิ สินค้าที่เน่าเสียง่ายจะได้รับการตรวจปล่อยพิธีการศุลกากรภายใน 6 ชั่วโมง และสินค้าปกติภายใน 48 ชั่วโมง และการขยายโอกาสในธุรกิจบริการของไทยสู่ประเทศสมาชิก RCEP เช่น ก่อสร้าง ค้าปลีก สุขภาพ ภาพยนตร์และบันเทิง เป็นต้น