ประติมากรรมหินสลัก วัดพระแก้ว เรื่องราววัฒนธรรม ประวัติศาสตร์

ประติมากรรมหินสลัก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ประติมากรรมหินสลัก ในวัดพระแก้ว นักประวัติศาสตร์ถอดรหัส ความพยายามในการทำ Colonial exhibition หรือนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับอาณานิคม สมัยรัชกาลที่ 5

วันที่ 16 กรกฎาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังเว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ แจ้งการขุดค้นพบประติมากรรมหินสลักจำนวนมาก หลังจากปรับปรุงเส้นทางเข้าชมภายในพระบรมมหาราชวัง บริเวณประตู มณีนพรัตน์ไปยังประตูสวัสดิโสภา เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564

โดยพบว่าเป็นประติมากรรมรูปบุคคลหลากหลายเชื้อชาติ และสัตว์ในเทพนิยาย ซึ่งจารึกที่พบบนประติมากรรมหินสลักบางตัว ระบุเป็นภาษาจีน ว่าทำที่มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางโจว

อีกทั้งจากการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในเบื้องต้นพบว่า ประติมากรรมหินหลักเหล่านี้ปรากฏในภาพถ่ายเก่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดับตกแต่งอยู่โดยรอบพระอารามและมีการโยกย้ายในรัชสมัยต่อๆ กันมา ซึ่งมีหลักฐานจากภาพที่ตีพิมพ์ในหนังสือทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ทำการอนุรักษ์ซ่อมแซมประติมากรรมหินสลัก และนำมาประดับในวัดพระศรีรัตนศาสดารามบริเวณตำแหน่งเดิมหรือใกล้เคียงตามหลักฐานที่ปรากฏ

ทั้งนี้ ทำให้วันนี้ มีประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมประติมากรรมหินสลัก ที่นำมาจัดแสดงรอบๆ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ประติมากรรมหินสลัก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ประติมากรรมหินสลัก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ประติมากรรมหินสลัก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ประติมากรรมหินสลัก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ประติมากรรมหินสลัก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ทางด้านผศ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า ตุ๊กตาหินเหล่านี้ ทำให้ตนนึกถึงเรื่องความพยายามในการทำ Colonial exhibition หรือนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับอาณานิคม กล่าวคือ คาร์ล บ็อค นักธรรมชาติวิทยาชาวตะวันตกซึ่งเข้ามาในสยามสมัยรัชกาลที่ 5 เคยระบุว่า สยามพยายามทำนิทรรศการ นำคน และของพื้นเมืองมาจัดแสดง ใน พ.ศ.2424

“ถ้าจำตัวเลขไม่ผิด พ.ศ.2424 คือปีที่บทความเกี่ยวกับชาติพันธุ์ หรือเรื่องคน ถูกเขียนเป็นเรื่องแรกตีพิมพ์ในวชิรญาณวิเศษ ชนชาติต่างๆ ที่เป็นรูปสลักนี้จึงไม่ใช่ภาพสะท้อนความหลากหลายของคนอย่างเดียว แต่คือการสร้างจักรวรรดิ และเข้าใจ World order ใหม่ของสยาม ที่เลือกใช้หินอ่อนคงเพราะแสดงความ luxury (หรูหรา) เหมือนวัดเบญจมพิตร เป็นความคิดเดียวกับการนำช่างอิตาลีมาทำงานในสยามคือสร้างโลกศิวิไลซ์” ผศ.พิพัฒน์กล่าว