“มท.-22 หน่วยงาน” ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการรับรู้สู่ชุมชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานสักขีพยายานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเสริมสร้างการรับรูเสู่ชุมชน และปาฐกถาพิเศษ เรื่องการสร้างการรับรู้สู่ชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และอีกหลายหน่วยงานเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักในการสร้างการรับรู้แก่ประชาชนในระดับชุมชนและท้องถิ่น ให้มีความรู้ความเข้าใจเดี่ยวกับนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล โดยให้แต่ละส่วนราชการจัดทำและส่งข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายสำคัญของรัฐบาล มาตรการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และการแจ้งเตือนภัยต่างๆ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดแนวทางผ่านกลไกการขับเคลื่อนของกระทรวงมหาดไทยทุกระดับ ด้วยช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย เช่น เวทีประชาคม การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพบปะประชาชน การสื่อสารผ่านวิทยุและโทรทัศน์ เครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ วิทยุชุมชน การสื่อสารด้วยระบบออนไลน์ เช่น Facebook, Line, และ Youtube เป็นต้น

ปัจจุบันมีการสื่อสารผ่านหอกระจายข่าวที่ใช้ในปัจจุบัน จำนวน 72,687 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นไปตามแนวทางประชารัฐ ที่ต้องการให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งโอกาสในการพัฒนาตนเองของประชาชนและชุมชน เพื่อยกระดับการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับข่าวเท็จ ข่าวปลอม ข่าวหลอกลวง รัฐบาลได้วางแผนยุทศาตร์ชาติไว้ 20 ปี ในการแก้ไขปัญหาให้เกิดความยั่งยืน แก้ความเหลื่อมล้ำ ต้องสร้างการรับรู้ให้เกิดความชัดเจน ฉะนั้นข้อมูลที่กระจายออกไปต้องเกิดความถูกต้องชัดเจนในหลายเรื่อง หลายกฎหมาย ว่าเพื่อประโยชน์อะไร ทำเพื่อใคร ฉะนั้นรัฐบาลเองก็ให้ความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานให้มากที่สุด ต้องให้ประชาชนรับทราบเรื่องราวต่างๆ ของรัฐ เป้าหมายเราชัดเจนเป็นการกระจายข่าวของภาครัฐอย่างรวดเร็วที่สุด หากเกิดภัยพิบัติต้องสามารถเตรียการได้ล่วงหน้าลดความเสียหายได้

ซึ่งทุกเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นอำเภอ ท้องถิ่น กำนัล ผู้ใหญ่บ้าน ต้องเปิดช่องทางการสื่อสารให้ความรู้ประชาชน โดยผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารประเทศ ในส่วนนี้ทุกคนต้องเอาประชาชนมาเป็นส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการบูรณาการในการรับรู้ได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

“บางทีทุกคนก็ใจร้อน เราต้องประสานการรับรู้ให้ดีที่สุด หาวิธีการที่เหมาะสมให้ทันสมัย เช่น ตอนนี้มีเรื่องต้องแก้เร่งด่วน คือการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างครบวงจร ต้องสร้างเครือข่ายป้องกันให้ได้ โดยเฉพาะท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน โรงเรียน ต้องช่วยกันสอดส่องพฤติกรรมของเด็กเพื่อสกัดกั้นยาเสพติด โครงสร้างการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการทำข้าวนาปีนาปรัง ต้องควบคุมผลผลิตข้าว เราต้องแข่งขันกับเขาให้ได้ บางประเทศมีข้าวในสต๊อกจำนวนมาก เราต้องขอความร่วมมือกับภาคเกษตรกรเพื่อลดต้นทุน เรื่องปุ๋ย แก้ไขครบวงจร ในส่วนราคาพืชผลเกษตรก็มีปัญหาหลายอย่าง ก็มีเรื่องการราคา การแปรรูป วิสาหกิจชุมชน เขาต้องรู้ว่าต้องปลูกอะไร พืชเชิงเดี่ยวหรือพืชผสม

ซึ่งการปลูกพืชมีกว่า 40% ของประเทศ เราต้องพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งต้องหารือกันต่อไป รวมถึงการค้าขายต่างๆ ก็ต้องมีวิธีการซื้อขาย ร้านค้าต้องหาวิธีดึงดูดลูกค้า เราต้องมองประสิทธิภาพของคนซื้อที่แตกต่างกัน ร้านค้าปลีกต้องปรับเปลี่ยน ไม่ใช่รัฐบาลไม่ดูแล แต่กลุ่มเป้าหมายมีหลายกลุ่ม เราต้องไปดูตรงนี้ว่าทำอย่างไร สินค้าเรามีอะไรบ้าง”

นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องฝุ่น การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก มันเป็นปัญหาที่ซับซ้อน ทั้งจากการก่อสร้าง รถยนต์ เผาไร่อ้อย ต้องฟังปัญหาทุกฝ่าย เราต้องร่วมมือกัน พอฉีดพ่นน้ำหลายคนก็บ่น แต่ละอองฝุ่น 2.5 pm ผมก็ไม่รู้จะทำยังไง ด้านการคัดแยะขยะมูลฝอย ส่งเสริมให้ชุมชนแยกขยะ ต้องมีการบริหารจัดการ ขนไปกำจัดข้ามภาคก็ไม่ไหว ในประเทศไทยต้องมีการกำจัดขยะในพื้นที่ ต้องหาวิธีการที่เหมาะสมถูกต้องตามหลักวิชาการ เอามารียูส รีไซเคิล เป็นต้น

ฉะนั้นต้องมีช่องทางให้ประชาชนรับรู้ การลงนามในครั้งนี้ต้องให้ประชาชนรับรู้อย่างถูกต้อง ต้องแก้ระดับพื้นที่ ต้องช่วยกันสร้างเครือข่าย จากปัญหาที่มีเมื่อรัฐบาลแก้ประชาชนต้องรับรู้ 4 ปีที่ผ่านมา ให้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ ไม่ว่าจะเรื่องข้าว ยาง ประมง การแก้ทุกอย่างต้อง