คอนซูเมอร์โปรดักต์ดิ้น! จัดหนัก…ฝ่าวิกฤตมู้ด

คอลัมน์ จับกระแสตลาด

กลายเป็นปีแห่งความท้าทายของสินค้าอุปโภคบริโภคอีกปีว่าจะกระตุ้นยอดขายของสินค้าอย่างไร ท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอการเติบโตกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค

ฮาร์เวิร์ด ชางŽ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตาร์ เวิลด์พาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค (Fast Moving Cosumer Goods) ครึ่งปีแรกที่ผ่านมาเติบโต 2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ และคาดว่าครึ่งปีหลังตลาดนี้ก็ยังไม่เติบโตจากสภาพเศรษฐกิจชะลอการเติบโตลง กระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค และคาดว่าทั้งปีตลาด FMCG ในไทยจะโตเพียง 2% จากปีก่อนเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์หลักที่แบรนด์ใช้ขณะนี้ คือ การลด แลก แจก แถม หวังกระตุ้นยอดขาย กำลังซื้อให้เติบโต ซึ่งอาจจะไม่ใช่ผลดีต่อแบรนด์ในระยะยาว แต่ก็เป็นสิ่งที่แบรนด์จำเป็นต้องทำในขณะนี้ ขณะเดียวกันสิ่งที่แบรนด์ต้องทำระยะยาว คือ การสร้างความแตกต่างให้แก่สินค้า เพื่อสร้างแบรนด์ในระยะยาวเมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ผู้บริโภคก็จะจับจ่ายใช้สอยน้อยลง แบรนด์ควรเข้าใจผู้บริโภคและปรับกลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสม เพื่อสร้างการเติบโตให้ธุรกิจŽ

ฮาร์เวิร์ดŽ กล่าวว่า ปัจจัยการตัดสินใจซื้อสินค้า FMCG ของผู้บริโภคนั้นก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์ทำ บางแบรนด์จัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นให้คนซื้อมากขึ้น หรือจัดโปรโมชั่นเพื่อให้ผู้บริโภคซื้อถี่ขึ้น

ล่าสุดบริษัทได้สำรวจพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเชิงลึกในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (Fast Moving Consumer Goods) เก็บข้อมูลด้วย กันตาร์ แอพ Panel-SmartŽ จากกลุ่มตัวอย่าง 412,000 ครัวเรือน ครอบคลุม 5 ทวีป รวม 43 ประเทศทั่วโลก สำหรับในไทยเก็บข้อมูลจาก 4,000 ครัวเรือน พบว่า 3 อันดับแบรนด์ที่ผู้บริโภคไทยเลือกซื้อมากที่สุดแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเครื่องดื่ม คือ เนสกาแฟ ดัชมิลล์ แลคตาซอย

ตามด้วยกลุ่มอาหาร คือ มาม่า รสดี อายิโนะโมะโต๊ะ กลุ่มสุขภาพ ความงาม คือ คอลเกต ซันซิล โซฟี และกลุ่มสินค้าในครัวเรือน คือ บรีส ซันไลต์ คอมฟอร์ท ส่วนแบรนด์ดาวรุ่งที่มีการเติบโตมากที่สุด แบ่งเป็นกลุ่มอาหาร คือ น้ำดื่มคริสตัล ดัชมิลล์ สปอนเซอร์ กลุ่มอาหาร คือ อร่อยดี สามแม่ครัว กุ๊ก กลุ่มสุขภาพ ความงาม คือ มามี่โพโค เบนเนท อิงอร สุดท้ายกลุ่มสินค้า

ในครัวเรือน ได้แก่ ยากันยุงเรนเจอร์สเก้าท์ โอโม่ คอมฟอร์ท ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น คือ การดิ้นเพื่อกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภค จึงไม่แปลกที่กลยุทธ์การตลาดหนาตาในช่วงนี้ จะหนีไม่พ้นการลด แลก แจก แถม ที่แต่ละแบรนด์ต่างจัดโปรโมชั่นสุดแรงกันแบบเกลื่อนตลาด หวังฝ่าวิกฤตกำลังซื้อไปให้ได้