สธ. เปิดแผนจัดงานสงกรานต์ให้ยึดหลัก COVID Free Setting

สงกรานต์

สธ. เปิดแนวปฎิบัติช่วงเทศกาลสงกรานต์ ย้ำภาครัฐ เอกชน ประชาชนคุมเข้ม การจัดกิจกรรมในครอบครัว-ชุมชน-อีเวนต์ ให้ยึดหลัก COVID Free Setting เคร่งครัด พร้อมสั่งห้ามจัดงานปาร์ตี้โฟม, ประแป้ง, จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

วันที่ 25 มีนาคม 2565 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้เน้นย้ำหน่วยงานรัฐและเอกชน จากข้อมูลสำรวจอนามัยโพล ต่อประเด็นความกังวลและการป้องกันตัวเองในช่วงสงกรานต์ จากการสำรวจในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชน ร้อยละ 77 มีความกังวลเรื่องการระบาดและเห็นว่าการรวมกลุ่มในช่วงเทศกาลมีโอกาสการติดเชื้อในครอบครัวจากการสังสรรค์ ขณะที่ประชาชนอีกกลุ่ม ร้อยละ 23 ไม่มีความกังวล และอยากใช้ชีวิตตามปกติ เพื่อช่วยกระตุ้นเศษฐกิจในประเทศ

สำหรับสถานที่เสี่ยง ตามมุมมองของประชาชน เกินครึ่งเห็นว่าการรวมกลุ่มในร้านอาหารที่เปิดคล้ายสถานบันเทิง สถานที่ท่องเที่ยว ,ห้างสรรพสินค้า ,สถานที่จัดอีเวนต์งานสงกรานต์ ขนส่งสาธารณะ ,รวมถึงห้องน้ำในปั้มน้ำมัน เป็นสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด เพราะมีการรวมกลุ่มจำนวนมาก และไม่มีการเว้นระยะห่าง

ขณะที่แผนกิจกรรมของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ แบ่งออกเป็น อยู่บ้าน 50% ,ทำบุญ 34% ,รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ 31% และสังสรรค์กินข้าว 22% โดยมีวิธีป้องกันตัวเอง เริ่มจากการล้างมือเป็นประจำ สวมหน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่าง ที่ยังต้องให้ความสำคัญ รวมไปถึงการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น และตรวจATK ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม และพาผู้สูงอายุไปฉีดวัคซีนก่อนเทศกาล พร้อมเน้นย้ำสถานบริการหรือสถานที่จัดงานต้องจัดกิจกรรมอย่างปลอดภัยตามมาตรการโควิด

จึงขอความร่วมมือภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการจัดงานในช่วงสงกรานต์ ให้อยู่ภายใต้มาตรการที่สบค.กำหนดทั้งภูมิภาค ส่วนกลาง ในด้านการร่วมกิจกรรม การเข้าร่วมกิจกรรมต้องปฏิบัตตัวตามมาตรการ และการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาต้อง เว้นระยะห่าง และจัดกิจกรรมในที่โล่งแจ้ง การทานข้าวร่วมกันให้

นาย สมชาย ตู้แก้ว ผู้อำนวยการกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวถึง ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดงานเทศกาลสงกรานต์ในปีนี้ ประกอบด้วย 1.ประชาชนได้รับวัคซีนได้ครอบคลุมมากขึ้น 2.ไวรัสโควิดลดความรุนแรงลง 3.มีการผ่อนคลายกิจกรรมต่างๆมากขึ้น 4.เตรียมพร้อมปรับวิถีชีวิตเข้าสู่โรคประจำถิ่น

สำหรับแนวทางปฎิบัติเริ่มจากกิจกรรมรวมกลุ่มที่จัดในครอบครัว แนะให้จัดในที่โล่งแจ้ง ,ให้สวมหน้ากากตลอดเวลา,งดกิจกรรมที่สัมผัสใกล้ชิดและใช้เวลาในการจัดกิจกรรมให้สั้นที่สุด เพื่อลดความเสี่ยง

ถัดมาคือกิจกรรมที่จัดในชุมชน ต้องแจ้งกรรมการโรคติดต่อระดับตำบลหรือระดับอำเภอให้ช่วยแนะนำการปฎิบัติตัว ส่วนการสงฆ์น้ำพระ ควรนำอุปกรณ์ของใช้ส่วนตัว อาทิ ขัน, น้ำหอม ไปเอง และกิจกรรมลดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ควรสวมหน้ากากตลอดเวลา

รวมไปถึงกิจกรรมการรวมกลุ่มขนาดใหญ่ (งานอีเวนต์) ให้ยึดหลัก COVID Free Setting และมาตรฐาน DMHTA อย่างเคร่งครัด

ส่วนกิจกรรมที่ห้ามทำ คือ ปาร์ตี้โฟม ,ประแป้ง และ ดื่มหรือจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละจังหวัด

นอกจากนี้ ยังให้เตรียมตัวก่อนถึงเทศกาล สำหรับประชาชนทั่วไป กลุ่ม 608 คนที่มีแผนเดินทางให้ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นโดยไม่น้อยกว่า 7 วัน และต้องประเมินความเสี่ยงตัวเอง ตรวจATK ก่อนเดินทาง

ส่วนด้านผู้จัดงาน ให้ประเมินตัวเองตามมาตรการ ตามประเภทกิจกรรม เช่นการจัดอีเวนต์ การแสดงดนตรี เรามีเครื่องมือผ่านระบบ Thai Stop COVID 2 Plus และต้องติดตามตามมาตรการร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่

นายสมชาย กล่าวต่อว่า หลังจากกลับจากเทศกาล แนะนำ ควรสังเกตอาการไป 7 -10 วัน และให้ปฎิบัติตามช่วงสังเกตอาการ หรือเมื่อประเมินว่ามีความเสี่ยงหรือมีอาการ ให้ใช้ATK ตรวจทันที หากผลเป็นลบ ให้สังเกตอาการต่อไป และตรวจซ้ำอีก ในระยะเวลา 7 วัน

เมื่อผู้สื่อข่าวถามต่อไปว่า ถนนข้าวสาร และถนนข้าวเหนียวจัดงานสงกรานต์ได้หรือไม่ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ระบุว่า ในแต่ละพื้นที่ต้องขออนุญาตไปทางสบค. ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019