อีซูซุ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ลุยผลิตรถปิกอัพอีวี “อีซูซุ ดีแมคซ์”

Isuzu

อีซูซุ เทงบฯลงทุน 240,000 ล้านบาท เดินหน้าโครงการความเป็นกลางทางคาร์บอนและโลจิสติกส์ ผุดศูนย์ R&D “The EARTH Lab” มั่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ขึ้นไลน์ผลิตรถปิกอัพไฟฟ้า“อีซูซุ ดีแมคซ์” ที่โรงงานสำโรง เผยลุยนอร์เวย์เป็นประเทศแรก

วันที่ 19 มีนาคม 2567 นายทาคาชิ โอไดระ กรรมการผู้จัดการ และรองประธานบริหารรับผิดชอบด้านวิศวกรรม และกลยุทธ์ความเป็นกลางทางคาร์บอน บริษัท อีซูซุมอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า หลังจากอีซูซุได้ประกาศเป้าหมายว่าจะ “สร้างเสริมการขับเคลื่อนอย่างสร้างสรรค์ของโลก” (Creating the Movement of the Earth) เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2566 อีซูซุได้เดินหน้าด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นแบบครบวงจร

เพื่อนำเสนอ “โซลูชั่นอันหลากหลายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Multi-pathways to Carbon Neutrality) เพื่อให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะด้านที่แตกต่างกันของลูกค้าทั่วโลกภายใต้ “แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมปี 2573” ที่มีเป้าหมายที่จะนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ ทั้งรถบรรทุกขนาดกลาง และขนาดใหญ่ รถปิกอัพ และรถบัสโดยสาร ภายในปี 2573

Isuzuอีซูซุยังคงมุ่งมั่นที่จะยึดถือคุณค่าผลิตภัณฑ์ภายใต้นิยาม “คุณค่าผลิตภัณฑ์” ไว้ 3 ประการ ได้แก่ 1.ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendliness) 2.ความเป็นมิตรกับผู้ใช้รถ (User Friendliness) และ 3.ความน่าเชื่อถือและความต่อเนื่องในการดำเนินงาน (Reliable and Continuous Operation)

ทั้งนี้ อีซูซุใช้ลงทุนมูลค่า 1 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 240,000 ล้านบาท สำหรับการวิจัยและพัฒนาภายในปีงบประมาณ 2573 เพื่อดำเนินการเรื่องการปฏิรูปทางดิจิทัลเกี่ยวกับความเป็นการทางคาร์บอนและโลจิสติกส์ (CN and logistics DX) และสร้างศูนย์พัฒนาและทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้ชื่อ “The EARTH Lab” ภายในปี 2569

และในจำนวนนี้แบ่งเป็นเงินลงทุนสำหรับประเทศไทยคิดเป็นมูลค่า 32,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการเตรียมความพร้อมอาคาร เครื่องจักร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อเตรียมผลิตรถปิกอัพไฟฟ้า “อีซูซุ ดีแมคซ์” และ “อีซูซุ ดีแมคซ์ ไฮ-แลนเดอร์ MHEV” 4 ประตู ในประเทศไทย

Isuzuด้านนายทาคาชิ ฮาตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับประเทศไทยนั้น อีซูซูได้เดินหน้าไปสู่นโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน จากปัจจุบันไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก มีการผลิตรถยนต์ต่อปีมากถึง 1.8-1.9 ล้านคัน เพื่อผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ และการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

อีซูซุได้เดินหน้าสนับสนุนนโยบายรัฐบาลไทยในการมุ่งสู่สังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality Society) ในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608 รวมทั้งสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคอาเซียน

ภายใต้แนวคิด “โซลูชั่นอันหลากหลายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Multi-pathways to Carbon Neutrality) การนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ซับซ้อน และแตกต่างจากรถยนต์นั่ง

ด้วยการพัฒนารถที่มี “โซลูชั่นอันหลากหลายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Multi-pathways to Carbon Neutrality) ไม่ใช่แต่รถไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) หรือรถไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (FCEV) เท่านั้น แต่หมายรวมถึงพลังงานอื่น ๆ เช่น การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral Fuel) กับเครื่องยนต์สันดาปภายใน เช่น น้ำมันไบโอดีเซลเจเนอเรชั่นใหม่จากพืชใช้แล้ว (HVO-Hydrotreated Vegetable Oil) และน้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ (e-Fuel) 

ล่าสุด อีซูซุได้แนะนำนำรถยนต์ 4 รุ่นที่พัฒนามาเพื่อรองรับความเป็นกลางทางคาร์บอน ได้แก่

Isuzu

1.รถปิกอัพไฟฟ้าต้นแบบ “อีซูซุ ดีแมคซ์” (Isuzu D-Max EV Concept)

รถปิกอัพ 4 ประตู ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบ Full Time ใช้แพลตฟอร์มเดียวกันกับรถปิกอัพเครื่องยนต์ดีเซล ที่อีซูซุมีแผนจะเริ่มผลิตเพื่อส่งออกจากฐานการผลิตประเทศไทยในปี 2568 โดยจะเปิดตัวทำตลาดในยุโรป ที่ประเทศนอร์เวย์เป็นแห่งแรกก่อน จากนั้นจะเปิดตัวในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ไทย ตลอดจนประเทศหรือภูมิภาคอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดและความพร้อมของสาธารณูปโภคด้านสถานีชาร์จรถไฟฟ้า

รถปิกอัพไฟฟ้าต้นแบบ “อีซูซุ ดีแมคซ์” (Isuzu D-Max EV Concept) มาพร้อมกับ ชุดมอเตอร์คู่และเฟืองท้ายภายใต้ “eAxle” พัฒนาขึ้นใหม่ ทำงานร่วมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง, ช่วงล่างด้านหลังใหม่หมดแบบ De-Dion มั่นใจบนทุกสภาพถนน เหมาะสมกับการใช้งานของรถปิกอัพ มอเตอร์ไฟฟ้ากำลังสูง 2 ตัว แรงบิดรวมกัน 325 นิวตัน-เมตร มอเตอร์ไฟฟ้าคู่กำลังสูง, การออกแบบโครงและตัวถังที่แข็งแกร่งช่วยเพิ่มความสามารถในการลากจูงได้

โดยรถอีซูซุ ดีแมคซ์ ไฟฟ้า จะผลิตที่โรงงานผลิตรถยนต์อีซูซุ สำโรง จ.สมุทรปราการ

Isuzu

2.รถปิกอัพ “อีซูซุ ดีแมคซ์ ไฮ-แลนเดอร์ MHEV” 4 ประตู

เป็นการที่ทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ กับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบตเตอรี่ 48 โวลต์ มาเสริมกำลังขับเคลื่อนให้กับเครื่องยนต์ 1.9 Ddi Blue Power เพื่อลดภาระการทำงานของเครื่องยนต์ในช่วงออกตัว รวมถึงช่วยลดการสั่นสะเทือนในจังหวะสตาร์ตเครื่องยนต์และช่วยลด CO2

รถคันนี้เป็นรถทดลองประกอบเพื่อเป็นหนึ่งในทางเลือกให้กับลูกค้าในการลด CO2 โดยรถประเภทนี้อาจจะเหมาะกับความต้องการของลูกค้าบางกลุ่ม ซึ่งอีซูซุอยู่ในระหว่างการสำรวจตลาดก่อนกำหนดแผนการจำหน่ายต่อไป

3.รถบรรทุกไฟฟ้า “อีซูซุ เอลฟ์ อีวี” (Isuzu Elf EV)

พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด “Isuzu Modular Architecture and Component Standard : I-MACS” สำหรับรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่ในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมการออกแบบ “Center Drive System EV” ซึ่งเป็นการออกแบบรถบรรทุกไฟฟ้าโดยเฉพาะ ใช้แพลตฟอร์มเดียวกันกับรถบรรทุกเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งได้เปิดตัวครั้งแรกในโลกที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม 2566

Isuzu

ในขณะเดียวกันเรากำลังพัฒนาเทคโนโลยีการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping System) ในระยะเวลาอันสั้นเพื่อลดระยะเวลาในการจอดเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ อีกทั้งยังสามารถเลือกแบตเตอรี่ได้ตั้งแต่จำนวน 2-5 ก้อน เพื่อให้เหมาะกับระยะทางการขนส่ง

Isuzu

4.รถบรรทุกไฟฟ้าขนาดกลางเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Isuzu Elf FCEV)

เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจ ภายใต้โครงการ Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) เหมาะกับการใช้งานบรรทุกหนัก สามารถเติมเชื้อเพลิงได้รวดเร็ว และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ เป็นการเพิ่มตัวเลือกรถบรรทุกในตลาด ตอบรับกับความต้องการก้าวสู่ยุคความเป็นกลางทางคาร์บอน

Isuzuโดยในญี่ปุ่นได้มีการวิ่งทดสอบตามการใช้งานจริงตามเมือง และประเภทการใช้งานต่าง ๆ จำนวน 90 คัน เมื่อเดือนมกราคม 2566 ที่โตเกียว ฟูกูชิมะ และฟูกูโอกะ

ส่วนประเทศไทยได้มีการวิ่งทดสอบแล้วจำนวน 4 คัน เมื่อเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2566 กิจกรรมเพื่อสนับสนุนสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

ล่าสุด อีซูซุได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงการเข้าร่วมมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ากับกรมสรรพสามิตเพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถไฟฟ้าอีซูซุเพื่อจำหน่ายในประเทศ และเพื่อส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเหมือนเช่นที่ผ่านมาด้วย