ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ต้องปรับปรุงระบบไฟฟ้าที่บ้านอย่างไรบ้าง ?

รถยนต์ไฟฟ้า EV เปิดมาตรฐานสำหรับติดตั้งระบบชาร์จที่บ้าน
ภาพจาก pixabay

ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ต้องรู้ ! การไฟฟ้านครหลวง เปิดข้อมูลการติดตั้งระบบไฟฟ้าตามมาตรฐานความปลอดภัย สำหรับชาร์จรถ EV ที่บ้าน 

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การไฟฟ้านครหลวง ชี้แจงมาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้ารถ EV สำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้งระบบชาร์จรถ EV ที่บ้าน

มาตรฐานการติดตั้งสายเมนวงจรที่สอง สำหรับ EV Charger เป็นรูปแบบทางเลือก

  • ป้ายบริเวณ Main CB 1.ป้ายที่ติดตั้งบริเวณ Main CB วงจร EVอาคารนี้มีสายเมน 2 วงจร Main CB วงจรโหลดทั่วไปอยู่ที่ชั้น 2 และ 2.ป้ายที่ติดตั้งบริเวณ Main CB วงจรโหลดทั่วไป อาคารนี้มีสายเมน 2 วงจร Main CB วงจร EV อยู่ที่โรงจอดรถ
  • อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว (RCD) ต้องเป็นแบบ type B หรือเทียบเท่า พิกัด lΔn < 30 mA (หากเครื่องชาร์จติดตั้ง RCD แบบ type B หรือเทียบเท่าอยู่ภายในแล้ว ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม)
  • มิเตอร์ที่ขอเพิ่มขนาดจากการไฟฟ้านครหลวง

และมีข้อกำหนด ดังนี้

  1. เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) จึงอนุโลมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเดิมที่มีการขอติดตั้ง EV Charger เพิ่มจากโหลดการใช้ไฟฟ้าเดิมและมีการขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ สามารถติดตั้งสายเมนวงจรที่สองสำหรับ EV Charger โดยเฉพาะได้
  2. พิกัดกระแสไฟฟ้าของ Main CB รวมทั้งสองวงจร ต้องไม่เกินพิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินตามขนาดมิเตอร์ที่ระบุในตารางที่ 3-4 ของมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย เช่น มิเตอร์ที่ขอเพิ่มขนาดเป็น 30 (100) A ค่าพิกัดกระแสของ Main CB รวมทั้งสองวงจรต้องไม่เกิน 100 A
  3. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าต้องมีการติดตั้งป้ายถาวรบริเวณ Main CB ของทั้งสองวงจรเมน เพื่อระบุตำแหน่งของ Main CB ของอีกวงจรเมนหนึ่ง
  4. ห้ามต่อสายเฟส หรือสายนิวทรัลข้ามระหว่าง 2 วงจรในส่วนของผู้ใช้ไฟฟ้า

มาตรฐานการติดตั้งเต้ารับสำหรับสายชาร์จแบบพกพา (EV- Socket-Outlet) มีข้อกำหนด ดังนี้

  • อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว (RCD) ต้องเป็นแบบ type B หรือเทียบเท่า พิกัด lΔn < 30 mA (หากสายชาร์จแบบพกพา (IC-CPD) ติดตั้ง RCD แบบ type B หรือเทียบเท่าอยู่ภายในแล้ว ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม)
  • เต้ารับ (EV Socket-Outlet) สำหรับเสียบสายชาร์จเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อลงดิน) ต้องทนต่อกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง ไม่ร้อยกว่า 16 A ตาม มอก.166-2549 (หรืออาจเป็นเต้าสำหรับอุตสาหกรรม)
  • การต่อสายต่อหลักดินวงจรชาร์จ EV ติดตั้งสายต่อหลักดินเป็นแบบแยกจากหลักดินของบ้าน (TT) หลักดินมาตรฐาน ขนาด Ø16 มม. ยาว 2.40 เมตร การต่อสายหลักดินเข้ากับหลักดิน ต้องต่อเชื่อมด้วยความร้อน
  • ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) ภายในตู้ จะต้องมีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker, 1P ขนาด 16 A
  • Main Circuit Breaker (MCB) มีขนาดสูงสุด ไม่เกิน 100 A สำหรับมิเตอร์ขนาด 30(100)A

ข้อควรระวังสำหรับการชาร์จรถยนไฟฟ้าด้วยสายชาร์จแบบพกพา

  1. ห้ามนำสายชาร์จแบบพกพา ไปต่อกับเต้ารับเดิมที่มีอยู่แล้วในบ้าน เนื่องจากระบบไฟฟ้าเดิมไม่ได้ออกแบบมารองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
  2. ต้องเดินวงจรไฟฟ้า สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแยกต่างหากโดยช่างผู้ชำนาญ

มาตรฐานการติดตั้งเครื่องชาร์จแบบติดผนัง (Wall Mounted Charger) มีข้อกำหนด ดังนี้

  • อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว (RCD) ต้องเป็นแบบ type B หรือเทียบเท่า พิกัด lΔn < 30 mA (หากเครื่องชาร์จติดตั้ง RCD แบบ type B หรือเทียบเท่าอยู่ภายในแล้ว ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม)
  • เครื่องชาร์จแบบติดผนัง (Wall Mounted Charger) เครื่องชาร์จควรเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.61851 หรือ IEC 61851
  • การต่อสายต่อหลักดินวงจรชาร์จ EV ติดตั้งสายต่อหลักดินเป็นแบบแยกจากหลักดินของบ้าน (TT) หลักดินมาตรฐาน ขนาด Ø16 มม. ยาว 2.40 เมตร การต่อสายหลักดินเข้ากับหลักดิน ต้องต่อเชื่อมด้วยความร้อน
  • ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) ภายในตู้ จะต้องมีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker, 1P มีขนาดตามพิกัดกระแสไฟฟ้าของเครื่องชาร์จ
  • Main Circuit Breaker (MCB) มีขนาดสูงสุด ไม่เกิน 100 A สำหรับมิเตอร์ขนาด 30(100)A

ข้อควรระวัง สำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยเครื่องชาร์จ

  1. เนื่องจากเครื่องชาร์จเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีพิกัดกระแสไฟฟ้าสูง ดังนั้นก่อนติดตั้งเครื่องชาร์จให้พิจารณาโหลดการใช้ไฟฟ้าเดิมของบ้านและเครื่องชาร์จ หากรวมกันแล้วเกินกว่าพิกัดกระแสไฟฟ้าของ MCB และขนาดมิเตอร์ ให้ทำการปรับปรุงระบบไฟฟ้าและติดต่อ การไฟฟ้านครหลวง เพื่อขอเพิ่มขนาดมิเตอร์
  2. ต้องเดินวงจรไฟฟ้าสำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแยกต่างหากโดยช่างผู้ชำนาญ

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่