จุดเปลี่ยน กรุงเทพฯ สมัยใหม่

คอลัมน์ เรื่องราวกับความคิด

โดย วิรัตน์ แสงทองคำ http//: viratts.WordPress.com

 

ศูนย์กลางจับจ่ายใช้สอยแห่งใหม่ 
สะท้อนบุคลิกสำคัญบางมิติ
เมืองหลวงยุคใหม่

จุดเปลี่ยนสำคัญ เพิ่งเริ่มขึ้นเมื่อ
ไม่นานมานี้ เพียงทศวรรษเดียวก็ว่าได้ น่าจะนับตั้งแต่การปรับโฉมสยามเซ็นเตอร์ในปี 2556 ซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังขับเคลื่อน
ทรงอิทธิพล

Advertisment

“I’ve overseen seven renovations here, this was not a renovation, it was 
a rebirth.” ชฎาทิพ จูตระกูล ผู้จัดการใหญ่บริษัทสยามพิวรรธน์ ในฐานะเจ้าของ
สยามเซ็นเตอร์ กล่าวไว้ตอนหนึ่ง เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ควรอ้างอีกครั้ง (ใน
รายงานของนิตยสารระดับโลก MONACLE, 
April 2013 ในฉบับได้นำเสนอรายงานชุดใหญ่ -Monacle Style Survey โดยให้
ความสำคัญเป็นพิเศษ กรณีสยามเซ็นเตอร์ เปิดตัวอย่างครึกโครมหลังปิดปรับปรุงครั้งล่าสุด อยู่ในลิสต์อันดับหนึ่งในหมวด new opening)

ชฎาทิพ จูตระกูล เป็นบุตรสาวของพลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์ นายทหารผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งบริษัท
ร่วมทุน (Bangkok InterContinental Hotel หรือ BICH) กับ InterContinental Hotel เพื่อสร้างโรงแรมทันสมัยแห่งแรกของกรุงเทพฯ-โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล พลเอก เฉลิมชัย 
จารุวัสตร์ เป็นคนสนิทของ จอมพล สฤษดิ์ 
ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในยุคนั้น และเป็นผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.) คนแรก (ต่อมาเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย-ททท.)

“จากนั้นการพัฒนาที่ดินแปลงที่ดีที่สุดแปลงหนึ่งใจกลางกรุงเทพฯดำเนินมาตลอด จากโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล มาถึงสยามเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าแห่งแรกของกรุงเทพฯ ตามมาด้วยสยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ และสยามทาวเวอร์ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าบริหารโดยตระกูลจารุวัสตร์ กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายสำคัญรายหนึ่งในเวลาต่อมา พร้อมกับการส่งต่อบทบาทจาก พลโท เฉลิมชัย 
จารุวัสตร์ มาถึงบุตรี-ชฎาทิพ จูตระกูล” ผมเคยเสนอเรื่องราวที่มาของสยาม
พิวรรธน์ ให้ภาพต่อเนื่องไว้

ชฎาทิพ จูตระกูล เข้าทำงานที่ BICH ตั้งแต่ปี 2529 โดยใช้เวลา 10 ปีก่อนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ประสบการณ์กว่า 2 ทศวรรษถือเป็นช่วงของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนมาถึง
ช่วงการปรับโครงสร้างครั้งสำคัญ เมื่อ BICH กลายมาเป็นสยามพิวรรธน์ในช่วงปี 2546 แม้เธอยังดำรงตำแหน่งเดิม แต่คงมีบางอย่างแตกต่างออกไป ก่อนหน้านั้นแม้ว่าตระกูลจารุวัสตร์ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ก็มีอำนาจบริหารเต็มที่ คล้าย ๆ กับธุรกิจครอบครัว แต่จากนี้เมื่ออยู่ภายใต้โครงสร้างอันเข้มแข็ง โครงสร้างธุรกิจกลุ่มใหม่–สยามพิวรรธน์ อำนาจอาจน้อยลง ขณะที่เดินตามยุทธศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ขึ้น

Advertisment

คำว่า rebirth ที่กล่าวไว้ข้างต้น จึงควรมีความหมายกว้างขึ้น

-การเกิดใหม่ของกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าที่มีตำแหน่งที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ-สยามพิวรรธน์

-การเกิดขึ้นใหม่อย่างพลิกโฉมของธุรกิจค้าปลีก อาจถือว่าเป็นธุรกิจใหม่ ที่มีที่มา สัมพันธ์กับสถาบันทางธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ ประกอบด้วยเครือข่าย
ธุรกิจสำคัญ-เอสซีจี ธนาคารไทยพาณิชย์ 
ธุรกิจประกันภัย และสยามสินธร (ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เน้นอาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัย) ภายใต้ portfolio 
อันครบถ้วน

ว่าไปแล้ว มีภาพใหญ่กว่านั้น เป็นวิวัฒนาการสร้าง “บุคลิก” เมืองหลวง

“สำนักงานทรัพย์สินฯ ในฐานะเจ้าของที่ดินหนึ่งในสามของกรุงเทพฯ และอยู่ในทำเลธุรกิจสำคัญนั้น ซึ่งผู้เช่ามีความหลากหลายอย่างน่าสนใจ ตั้งแต่อาคารสำนักงานสมัยใหม่ ที่ทำการราชการ ศูนย์การค้า โรงแรม ไปจนถึงตึกแถว อาคารพาณิชย์ ตลาดสด และชุมชนผู้มีรายได้น้อย” ดังข้อมูลที่มีการนำเสนอในสื่อต่างชาติ

ปรากฏการณ์ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา การดำเนินงานเป็นไปอย่างกระฉับกระเฉง โดยเฉพาะการจัดการ
กับธุรกิจเช่าที่ดิน ในขณะที่บางช่วงมีจังหวะที่ดี ราคาที่ดินและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยในขณะนั้นกำลังบูม ดูเหมือนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า เป็นการก้าวเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่เต็มรูปแบบ
เปิดฉากในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น เปิดตัว
ในช่วงเดียวกัน (ปี 2536) อาคารสินธร
ศูนย์กลางของธุรกิจในตลาดหุ้นไทย ซึ่งถือเป็นช่วงเติบโตอย่างมาก และดิโอลด์
สยามพลาซ่า จากตลาดสดแบบเก่า-ตลาด
มิ่งเมือง สู่โมเดลการค้าแบบใหม่ เป็นแผนใหม่ครั้งแรก ๆ ว่าด้วยการปรับโฉม 
(regeneration) ท่ามกลางแรงเสียดทาน
พอสมควร

กรณีสยามเซ็นเตอร์ สะท้อนพัฒนาการที่น่าสนใจมากขึ้น

ว่าไปแล้ว ว่าในเชิงภูมิศาสตร์ใหม่ ทำเลใหม่ สยามเซ็นเตอร์อาจมีภาพเป็นส่วนต่อขยายอย่างมีพลัง และพัฒนาต่อเนื่องมาจากสยามสแควร์

“ปี 2507 กำเนิดสยามสแควร์ โครงการ
พัฒนาที่ดินเขตผลประโยชน์สยามสแควร์ บริเวณแยกปทุมวัน ริมถนนพญาไท และพระราม 1 เริ่มได้รับการพัฒนา ทำให้ที่ดินซึ่งจากเดิมที่มีคนอยู่อาศัยจนกลายเป็นชุมชนแออัดนั้น กลายเป็นศูนย์การค้าเชิงราบและมีพื้นที่เปิดโล่ง ในชื่อโครงการ ‘ปทุมวันสแควร์’ ต่อมาเรียกกันในชื่อ ‘สยามสแควร์’ โดยมีบริษัทที่เข้ามาดำเนินการพัฒนาที่ดินสยามสแควร์ คือ บริษัท เซาท์อีสท์เอเซียก่อสร้าง จำกัด (ปัจจุบันคือ บริษัท ซีคอนโฮม จำกัด) ซึ่งเป็นบริษัทรับช่วงของบริษัท วังใหม่ จำกัด” ข้อมูลสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (http://www.pmcu.co.th/) ซึ่งอรรถาธิบายไว้ว่า

“องค์กรมืออาชีพที่บริหารและจัดการเขตพื้นที่พาณิชย์ย่านสยามสแควร์ และ
สวนหลวง-สามย่าน กว่า 385 ไร่ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มากว่า 4 ทศวรรษ อย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งมั่นในการสร้างคุณค่าร่วมสูงสุดระหว่างชุมชนและสังคมแบบองค์รวมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่ที่เชื่อมโยงโอกาสสำหรับทุกชีวิต ควบคู่ไปกับเป้าหมาย
ในการสนับสนุนรายได้ด้านการศึกษา
ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่าง
ยั่งยืน”

สยามเซ็นเตอร์ เป็นศูนย์การค้าทันสมัย
แห่งแรก (2516) พัฒนาขึ้นอีกระดับจากโมเดลของสยามสแควร์ เมื่อสยามพารากอนเกิดขึ้น ภาพใหญ่ได้เปลี่ยนไป
อย่างสิ้นเชิง

“สยามพารากอนเป็นศูนย์การค้าระดับโลกแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย… ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจปี 2548 สยามพารากอนเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ด้วยเงินลงทุนถึงกว่า 15,000 ล้านบาท นับเป็นเงินลงทุนโดยภาคเอกชนที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของประเทศไทยในเวลานั้น 
ซึ่งช่วยฟื้นฟูความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติต่อประเทศไทยได้อย่างมหาศาล นับแต่นั้นมา สยามพารากอนได้กลายเป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตในยุคใหม่ของกรุงเทพฯ” (http://www.siamparagon.co.th) คำอธิบายของสยามพารากอน พยายามเชื่อมโยงมิติทางสังคม

และแล้วพัฒนาการล่าสุดก็มาถึง การเปิดตัวไอคอนสยามเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่เพิ่งผ่านมา เป็นเรื่องที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เสียแล้ว

“ไอคอนสยามเป็นโครงการลงทุนของภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีมูลค่าถึง 55,000 ล้านบาท เพื่อเนรมิตจุดหมายปลายทางใหม่ของประเทศไทยบนแม่น้ำเจ้าพระยา” (http://www.siamparagon.co.th )

แผนการใหญ่ทางธุรกิจยกระดับขึ้น สะท้อนความแตกต่างจากที่ผ่าน ๆ 
มา โดยเน้นว่า “ได้ร่วมคิดและวางแผนงาน
กับภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาครัฐ มาตลอด 5 ปี” ข้อมูลอันพรั่งพรู (อ้างจาก https://www.iconsiam.com)

ไอคอนสยามลงทุนสร้างระบบคมนาคม ที่จะเชื่อมต่อระบบรถ-ราง-เรือ 
ที่สมบูรณ์แบบเป็นแห่งแรก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การสัญจรโดยรอบ และเป็นตัวอย่างของการวางแผนพัฒนาเมืองที่มีประสิทธิภาพ

-ร่วมกันกำหนดแผนแม่บทที่จะทำให้แม่น้ำเจ้าพระยา เป็น new global Destination …ทุกสถานที่ตลอดสายแม่น้ำนี้สามารถนำเสนอทุกมิติที่แตกต่าง
แต่สะท้อนความเป็นไทย

-ไอคอนสยามจะเป็นจุดเชื่อมต่อสถานที่ต่าง ๆ บนแม่น้ำสายนี้ ร่วมมือกันจุดประกายให้คนทั้งโลกหันกลับมาเห็นความสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยา ในฐานะจุดศูนย์กลางของกรุงเทพมหานครที่มีศักยภาพ…ให้เป็นมากกว่ามหานครที่คนทั่วโลกอยากมาเยี่ยมชม…สู่การเป็นมหานครที่รองรับการลงทุน…การเข้ามาอยู่อาศัยและทำธุรกิจอีกด้วย”

ย่อมสะท้อนภาพความสัมพันธ์กับความเป็นไปของกรุงเทพฯสมัยใหม่