ครม.ไฟเขียว “3 พลังประชารัฐ” หนุนเกษตรกรปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา ให้สินเชื่อ-ชดเชยดอกเบี้ย

เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2561 เวลา 14.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานจากตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาลว่า พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังจากการประชุมในวันนี้ถึงการนำเสนอ “โครงการ 3 พลังประชารัฐ เพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา” ของกระทรวงเกษตรเเละสหกรณ์

พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า หากเชื่อมโยงกับราคาข้าวของไทยหลังเเก้ปัญหาจำนำข้าว ไม่ให้ราคาข้าวตก การเเก้ปัญหา คือให้เกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่น เเต่ตลาดต้องการ เเละอยู่ในพื้นที่ที่บริหารจัดการได้อย่างดี คือ ข้าวโพด โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในเเต่ละปี คนผลิตอาหารสัตว์ต้องการข้าวโพด 8 ล้านตัน เเต่ปัจจุบันผลิตได้เเค่ 4 ล้านตัน

โดยมีการเชิญชวนให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา มีเป้าหมาย อยู่ในพื้นที่ 33 จังหวัด 2 ล้านไร่ ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง เเละภาคตะวันออก ซึ่งภาคเหนือมีทั้งสิ้น 15 จังหวัด ได้เเก่ กำแพงเพชร แพร่ พิษณุโลก เชียงราย ตาก เพชรบูรณ์ ลำพูน นครสวรรค์ สุโขทัย ลำปาง พะเยา อุตรดิตด์ น่าน พิจิตร อุทัยธานี ภาคอีสาน 15 จังหวัด ได้เเก่ โคราช ชัยภูมิ สุรินทร์ นครพนม บุรีรัมย์ หนองคาย สกลนคร ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู กาฬสินธ์ มหาสารคาม อุดรธานี ขอนเเก่น ร้อยเอ็ด เเละอุบลราชธานี ส่วนภาคกลาง มี 2 จังหวัด ได้เเก่ ชัยนาท สระบุรี
เเละภาคตะวันออก ที่ปราจีนบุรี

“สำหรับเกษตรกรที่จะเข้าร่วมจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ต้องป็นเกษตรที่ขึ้นทะเบียนเป็นหัวหน้าครัวเรือนในทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร เเละต้องการเข้าร่วมการเปลี่ยนจากการปลูกข้าวมาปลูกข้าวโพดในหน้าเเล้ง ตามความสมัครใจ

โดยพื้นที่ 33 จังหวัด พิจารณาจากพื้นที่อยู่ในเขตชลประทาน ถ้าอยู่นอกเขตชลประทานต้องมีศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำ นอกจากนี้เกษตรกรที่ต้องการลงทะเบียนต้องมีเงินฝากกับ ธกส เว้นเเต่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสถาบันเกษตรกรเเละมีความประสงค์ขอรับสินเชื่อ ในส่วนนั้นก็ว่าตามกันไป” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเเละว่า

ในส่วนของมาตรการในการจูงใน มีสินเชื่อให้เกษตร ให้กู้เงินวงเงินไร่ละ 2,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ต่อราย เเล้วธกส. คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี เเต่เก็บเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกรที่ 0.01 ที่เหลือ 3.99 รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ธกส. ระยะเวลา 6 เดือน เพราะโครงการนี้เป็นโครงการระยะสั้น เกษตรที่กู้ไปต้องชำระเงินคืนไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่กู้ กรณีมีเหตุจำเป็นต้องไม่เกิน 12 เดือน เเละหากไม่เป็นตามกำหนด ธกส. สามารถคิดดอกเบี้ยที่เป็นไปตามกำหนดของธนาคารได้ ส่วนสถาบันเกษตรกรต้องชำระเงินคืนภายใน 6 เดือนหลังจากที่กู้เช่นกัน เเละหากชำระหนี้ไม่ได้ทางธกส. สามารถคิดดอกเบี้ยตามกำหนดของธนาคารได้เช่นกัน

“หากปลูกข้าวตามความชื้นที่กำหนดได้ตันละ 8 พันบาท กำไรเเค่ 300-400 เเต่ถ้าปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เบอร์ 2 ตามความชื้นที่กำหนดคือไม่เกินร้อยละ 14.5 ได้มีการขอความร่วมมือกับคนรับซื้อหรือผู้ประกอบการ ให้ซื้อในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 8 บาท โดยจะมีกำไรต่อตันอยู่ที่ 2-3 พันบาท”

ทั้งนี้ กระทรวงเกตรได้ไปประสานกับผู้รับซื้อเอาไว้ โดยจะมีออเดอร์เข้ามาก่อน ก่อนกำหนดว่าปลูกในพื้นที่ไหน จำนวนเท่าไหร่ เพื่อเป็นการยืนยันว่าข้าวโพดที่ปลูกขึ้นมาจะขายออกได้หมด เเละราคารับซื้อไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 8 บาท ซึ่งผู้ประกอบการรับปากในส่วนนี้

อย่างไรก็ตาม พล.ท.สรรเสริญ ระบุว่า งบประมาณที่ใช้ในโครงการนี้อยู่ที่ 461 ล้านบาท น้อยกว่าเดิมพันกว่าล้าน นอกจากนี้ยังขอเรื่องประกันภัยให้เกษตรกร 65 บาทต่อไร่ ใช้งบประมาณ 130 ล้านบาทโดยครม เห็นว่า เรื่องการประกันภัยต้องไปเห็นผ่านจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน ส่วนอื่นอนุมัติหมดเลย เเต่เรื่องประกันภัยอยากให้ไปทำเรื่องก่อน “วันนี้ครม. อนุมัติ 461.85 ล้านบาท ลบด้วย 130 ล้านไปก่อน เว้นเสียเเต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยในเรื่องการประกันภัยค่อยมาว่ากันอีกที” โดยเป็นอีกทางเลือกที่ให้เกษตรกรมีพืชที่ปลูกเเล้วได้รายได้ ข้าวไม่ล้นตลาด ราคาไม่ตก นี่คือการเเก้ไขปัญหาทั้งระบบ