ข้อมูลวัคซีน มีอะไรอัพเดตบ้าง 2023 ทำความรู้จักโควิด

สำหรับปี 2023 นี้ต้องบอกเลยว่าคนนั้นได้เริ่มออกมาท่องเที่ยว ประเทศเริ่มเปิด แต่ทุกอย่างก็ยังอยู่ในห่วงของช่วงเวลาที่เรียกได้ว่าเฝ้าระวังของโรคโควิด 19 ที่ต้องบอกเลยว่าเป็นโรคที่ยังไม่หายขาดอย่างจริงจัง เพราะไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนๆ ทุกประเทศก็ยังไม่การเฝ้าระวังเรื่องนี้กันอยู่ แต่ถึงอย่างไรแล้วเชื่อว่าประชากรหลายๆ คนต่างก็ได้รับยาต้านโรค หรือที่เรียกว่า วัคซีนกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และสำหรับปีนี้ ข้อมูลวัคซีน ไวรัสโควิดตัวไหนที่น่ากลัวและจะมีวัคซีนตัวไหนที่ควรฉีด วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกันเบื้องต้นเพื่อเป็นความรู้ติดตัวกันข้อมูลวัคซีน

ทำความรู้จักกับเชื้อไวรัส โควิด 19

โรคโควิด 19 ชื่อภาษา coronavirus disease 2019 ที่หลายคนรู้จัก สำหรับอาการที่เกิดกับผู้ที่ติดเชื้อ จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสชนิด (+) single strand RNA อยู่ใน Coronaviridae Family จัดอยู่ใน Betacoronavirus เช่นเดียวกับ SARS-CoV และ MERS-CoV ผู้ติดเชื้อจะมีอาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ มีไข้ ไอ หายใจถี่ และหายใจลำบาก และนอกจากนั้นแล้วผู้ที่ติดเชื้ออาจมีอาการทางระบบอื่นร่วมด้วย เช่น จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส มีผื่นแดง และท้องเสีย เป็นต้น และสำหรับท่านใดที่มีอาการรุนแรงก็อาจจะถึงแก่ชีวิต เพราะว่าจะมีอาการแทรกซ้อนอย่างเช่น ปอดอักเสบ ไตวาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำ และนี่ก็คือเหตุผลที่ทำให้เหล่านักวิจัยโรคและทีมแพทย์จะต้องทำการผลิตวัคซีนออกมาป้องกันให้แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดการสูญเสีย ซึ่งวัคซีนแต่ละตัวก็จะมีประสิทธิภาพที่ต่างกันและสามารถเข้าได้กับทุกสภาพของร่างกายมนุษย์ และสำหรับคนที่มีภูมิต้านทานต่ำการฉีดวัคซีนที่ดีควรฉีดแบบไหนถึงจะเป็นผลดีวันนี้เรามีคำตอบ

การฉีดวัคซีนโควิด 19 ในกลุ่มผู้ป่วย ที่มีภูมิต้านทานต่ำ

กลุ่มผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV-infected patients)

จากการศึกษาในระยะที่ 3 สำหรับกลุ่มผู้ป่วยประเภทนี้ การให้วัคซีนโควิด 19 ส่วนใหญ่จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าร่วมจำนวนน้อย เช่น วัคซีน BNT162b2 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าร่วมร้อยละ 0.3 วัคซีน mRNA-1273 เข้าร่วมเพียงร้อยละ 0.06 อย่างไรก็ตาม National Institutes of Health ทางด้านสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกรายได้รับวัคซีนโดยไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณเม็ดเลือดขาว CD4 และปริมาณไวรัสเอชไอวีในพลาสมา ส่วนคำแนะนำจากสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทยก็ได้มีการระบุว่า วัคซีนสามารถป้องกันโควิด 19 ที่รุนแรงได้ และอาการข้างเคียงไม่แตกต่างจากประชากรกลุ่มอื่น นั่นก็คือ อาจจะมีไข้ ฉะนั้นแล้ว ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกรายควรได้รับวัคซีนโควิด 19 แต่ก็มีข้อแม้ว่าการตอบสนองต่อวัคซีน แตกต่างกันขึ้นกับระดับ CD4 และปัจจัยทางสุขภาพของแต่ละบุคคลของผู้รับวัคซีน สำหรับกรณีมีโรคติดเชื้อรุนแรงอยู่ควรรักษาจนอาการคงที่ก่อนที่จะรับวัคซีนได้

กลุ่มผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ (Patients with solid organ transplant)

สำหรับกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้ก่อนที่จะเข้ารับวัคซีน ได้มีคำแนะนำของสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะจะมีภูมิต้านทานต่ำกว่าบุคคลทั่วไป เนื่องจากได้รับยากดภูมิอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการปฏิเสธอวัยวะ การได้รับวัคซีนช่วยลดความรุนแรงและการติดเชื้อได้โดยพบผลข้างเคียงไม่แตกต่างจากประชากรทั่วไป จึงควรได้รับวัคซีนเร็วที่สุดโดยไม่ต้องหยุดยา ยกเว้นกรณีหลังปลูกถ่ายอวัยวะหรือได้รับการรักษาการปฏิเสธอวัยวะจะได้รับยากดภูมิในขนาดที่สูงให้เว้นการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เดือน และสำหรับผู้ป่วยโรคเลือดซึ่งได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดหรือบำบัดด้วยภูมิคุ้มกัน แนะนำให้รับวัคซีนโควิด 19 เมื่อพ้น 3 เดือน หลังได้รับการรักษาดังกล่าว และสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ แนะนำให้รับวัคซีนโควิด 19 เมื่อพ้น 1 เดือนหลังผ่าตัดและอาการคงที่แล้ว กลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ได้แก่ ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ และผู้ป่วยโรคข้ออักเสบและภูมิแพ้ตนเองที่ต้องได้รับยากดภูมิ ได้แก่ methotrexate, azathioprine, mycophenolate mofetil, leflunomide, cyclophosphamide หรือ cyclosporine หรือยาวัคซีนวัตถุและยาสังเคราะห์มุ่งเป้า ได้แก่ ยายับยั้ง JAK, ยายับยั้ง TNF, ยายับไซโตไคน์ ได้แก่ IL-6R, IL-1, IL-17, IL-12/23 หรือ IL-23 ในช่วง 3 เดือนก่อนที่จะรับวัคซีน และ rituximab ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีความเสี่ยงต่อการเกิดโควิด 19 ที่รุนแรงและเสียชีวิต รวมทั้งตอบสนองต่อวัคซีนโควิด 19 ได้ไม่ดี แม้จะได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ก็ตาม ฉะนั้นก็ควรที่จะต้องพิจารณาการให้วัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอในขนาดปกติเพิ่มเติมเข้าไปด้วย แต่ทั้งนี้การฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิต่ำจะต้องเข้าทำการปรึกษาแพทย์ก่อนฉีด และสำหรับท่านใดที่ต้องการฉีดหรือ Walk in ไปนั้นควรที่จะให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตัวก่อนก่อนที่จะทำการฉีดเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง เพราะว่านอกจากจะไม่เสี่ยงต่อติดเชื้อโควิดแล้วท่านเองก็จะไม่ถึงแก่ชีวิตอีกด้วย