ธุรกิจของฝากปรับตัวรับเทรนด์ ‘เที่ยวในประเทศ

มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากฐานราก หรือการส่งเสริมวิสาหกิจชุนชนให้สามารถยืดหยัดในธุรกิจอยู่ได้ คือใจความของการขับเคลื่อนจากฐานราก เพราะถ้ารากแข็งแรงต้นย่อมเติบโตมั่นคง
#ธุรกิจฐานราก #bangkokbank #bangkokbanksme #sme

หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยเฉพาะผู้ประกอบการสินค้าของฝากที่ได้รับผลกระทบจากการงดเดินทางท่องเที่ยว ทำให้มูลค่าทางเศรษฐกิจของสินค้าของฝาก ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2563 หายไปกว่า 3 หมื่นล้านบาท
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม จึงมีแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการสินค้าของฝาก เพื่อเป็นการสร้างรายได้ขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน ภายใต้มาตรการฟื้นฟูอุตสาหกรรมให้ดีพร้อมใน 90 วัน เพื่อช่วยเหลือ 1 ใน 4 กลุ่มเป้าหมายอย่าง “วิสาหกิจชุมชน” ที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในการสร้างรายได้เป็นหลักให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยใช้กลยุทธ์ 3P เสริมศักยภาพให้กิจการใหม่ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme


Product DIProm หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ดีพร้อม : กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยการปรับผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในขอบเขตราคาที่สามารถเข้าถึงพัฒนาอายุผลิตภัณฑ์ให้มีระยะเวลาที่นานขึ้น ทั้งยังต้องวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค รองรับค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในไทย

Process DIProm หรือ กระบวนการที่ดีพร้อม : ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิต รวมทั้งการบริหารจัดการวัตถุดิบ และการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคต โดยสำหรับธุรกิจที่แตกกอขึ้นมาใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแบบแผนการดำเนินงานให้มีความยืดหยุ่น เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

Advertisment

Platform DIProm หรือ ตลาดที่ดีพร้อม : การใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดีย (Social Media) เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินค้าและบริการ ลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับร้านค้า ทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลลูกค้า เพื่อการวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่ง โดยเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางนโยบายการท่องเที่ยวของรัฐบาลในปัจจุบัน “ทราเวลบับเบิล” (Travel Bubble) วิสาหกิจชุมชนต้องสามารถผนวกผลิตภัณฑ์เข้ากับแหล่งท่องเที่ยว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งจากในและต่างประเทศ

นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาโครงการ “แตกกอผู้ประกอบการ” เพื่อเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจสร้างรายได้ให้สถานประกอบการและพนักงาน ผ่านกระบวนการปรับแนวคิดเพื่อสร้างแบบจำลองทางธุรกิจ (Business Model) พร้อมให้คำปรึกษาทั้งก่อนและหลังการดำเนินธุรกิจ โดยธุรกิจที่แตกกอขึ้นมาใหม่นั้น อาจเป็นการแตกไลน์การผลิตเพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจเดิมโดยพนักงาน หรือการลงทุนของกลุ่มวิสาหกิจเอง เพื่อขยายไลน์การผลิตใหม่ ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่

ดิศรณ์ มาริษชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัทขนมแม่เอย–เปี๊ยะ แอนด์ พาย (2003) จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ เล่าให้ฟังว่า จากผลกระทบโควิด-19 ส่งผลให้ยอดการผลิตของบริษัทขนมแม่เอยฯ ลดลงกว่าร้อยละ 60 จากเดิมที่ผลิต 20,000 ชิ้นต่อวัน จำนวนแรงงานลดลงกว่าร้อยละ 80 จากการเดินทางกลับภูมิลำเนา ซึ่งได้ปรับกลยุทธ์การผลิต ด้วยการคิดต่อยอดและแปรรูปผลิตภัณฑ์ รวมถึงแนะนำช่องทางการตลาด เพื่อเป็นการสร้างรายได้หล่อเลี้ยงภายในบริษัท
อาทิ การจำหน่ายไส้ขนม อาทิ เผือกกวน มันกวน และถั่วกวน ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของผู้ประกอบการที่ปรับตัวนำกลยุทธ์ 3P มาต่อยอด ทำให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อและขยายเพิ่มได้ในช่วงวิกฤตโควิดนี้
ภาพ : facebook ขนมแม่เอย

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

5 วิธีลดต้นทุนที่ช่วยให้ธุรกิจผ่านวิกฤติได้ทุกครั้ง
‘New Normal’ ธุรกิจคุณพร้อมหรือยัง?

Advertisment