“อินเดีย” เตรียมทุ่มงบ 230 ล้านดอลล์ จัดการปัญหา “เผาพืชเหลือทิ้ง” หวังลดมลพิษทางอากาศ

AFP PHOTO / DOMINIQUE FAGET
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า รัฐบาลอินเดียมีเเพลนใช้งบ 230 ล้านดอลลาร์ ใน 2 ปีนี้ เพื่อใช้ป้องกันเเละหานโยบายในการเผาไหม้พืชเหลือทิ้ง ที่อาจจะช่วยลดมลพิษทางอากาศที่ปกคลุมบริเวณเมืองหลวงของกรุงนิวเดลีได้ โดยนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย คาดว่าจะลงนามในแผนดังกล่าวได้เร็วที่สุด

 

หน่วยงาน National Institute for Transforming India (NITI Aayog) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปรึกษาด้านนโยบายของรัฐบาล ระบุว่าค่าใช้จ่ายในเเผนการจะน้อยกว่า 600 ล้านดอลลาร์ต่อปี โดยจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพื่อจัดการไม่ให้เกษตรกรเผาไหม้พืชเหลือทิ้งจากการเกษตร ซึ่งรัฐบาลอินเดียยังไม่ระบุตัวเลขที่แน่ชัด

กระทรวงสิ่งแวดล้อมป่าและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวกับรัฐสภาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าการเผาไหม้ตอซัง ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ประมาณ 1 ใน 4 ของพื้นที่ที่ปกคลุมกรุงนิวเดลีในเดือนพฤศจิกายน อนุภาคจากการเผาตอซังไปรวมเข้ากับมลพิษจากอุตสาหกรรม มลพิษทางรถยนต์ และฝุ่นละอองที่ปกคลุมภูมิภาคทุกปี

เจ้าหน้าที่ไม่ขอออกนาม กล่าวอภิปรายในคณะรัฐมนตรีว่า โครงการดังกล่าวจะมอบเงินให้กับเกษตรกรใน 3 รัฐติดกับพรมเเดนกรุงนิวเดลี

Anumita Roychowdhury ผู้อำนวยการศูนย์คิดวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งนิวเดลีกล่าวว่า นับเป็นอีกขั้นที่สำคัญ เเต่ผลลัพท์ขึ้นอยู่กับความรวดเร็วของโครงการ

โดย เจ้าหน้าที่ของรัฐ กล่าวว่า การระดมทุนสามารถทำได้หากจำเป็น ซึ่งคาดว่าการทำโครงการดังกล่าวจะได้ผลในทันที เเม้จะมีการยอมรับว่าไม่สามารถแก้ไขสภาพอากาศได้เกิน 20-25% เเต่โครงการลดการเผาพืชเหลือทิ้งจะได้รับการดำเนินการอย่างเต็มที่ รวมถึงระบุว่า การปรับปรุงมลพิษทางอากาศในกรุงนิวเดลี จะใช้เวลาไม่ถึง 5 ปี

ทั้งนี้ รอยเตอรส์ได้ส่งอีเมลสอบถามไปยัง สำนักงานของ Modi’s office เเละ โฆษกกระทรวงฟาร์มและสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ได้รับคำตอบเเละได้ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น

เป็นที่รู้กันดีว่าสภาพมลพิษในกรุงนิวเดลีสูงมาก โดยในเดือนพฤศจิกายนดัชนีมลพิษของนิวเดลีขึ้นไปถึง 12 เท่าสูงกว่าขีดจำกัดอย่างมาก กรุงนิวเดลีได้รับการเรียกขานว่าเป็น “ห้องแก๊ส” ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐได้สาบานว่าจะลดมลพิษดังกล่าว

Harsh Vardhan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า มลพิษนั้นเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสุขภาพที่ร้ายแรง รวมถึงเชื่อมโยงกับภาพลักษณ์ของประเทศด้วยเช่นกัน โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ตอบรับเเผนการดังกล่าว เนื่องจากไม่สามารถซื้อเครื่องจักรได้เอง