ยางพาราอินเดียสุดช้ำ โวยรัฐบาลลดภาษีนำเข้าเอื้อภาคอุตฯ-ชาวสวนโอดราคาตกรอบ 10 ปี

สื่อต่างประเทศรายงานว่า ชาวสวนยางพาราและผู้ประกอบการโรงงานยางพาราในอินเดียกล่าวโทษรัฐบาล หลังเผชิญกับการตกต่ำของราคายางและการนำเข้ายางที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

โดยเมื่อปี 2011 ยาง Benchmark RSS-4 หรือยางพาราแผ่นรมควันมีราคาสูงถึง 208 รูปีต่อกิโลกรัม(ประมาณ 3.24 ดอลลาร์สหรัฐ) กลับตกต่ำลงเหลือเพียง 125 รูปีต่อกิโลกรัมในเดือนกรกฎาคม 2017 แม้เมื่อต้นปี 2017 ราคายางท้องถิ่นจะฟื้นตัวสูงเล็กน้อยที่ 145 รูปีเนื่องจากมีรายงานข่าวน้ำท่วมในประเทศไทยส่งผลให้ต้นยางเสียหาย

จอร์จ วาลี ผู้เชี่ยวชาญด้านยางและอดีตเจ้าหน้าที่ของสมาคมผู้ค้ายางของอินเดีย กล่าวถึงราคายางที่ตกต่ำลงนี้ว่าเป็นการผลิตที่ขาดทุน “ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 175 รูปีต่อกิโลกรัม โดยยังไม่รวมค่าเช่าที่ดิน หากรวมแล้วจะตกอยู่ที่ประมาณ 225 รูปีต่อกิโลกรัม”

การนำเข้ายางธรรมชาติของอินเดียหดตัวลงถึง 7 % ในเดือนมีนาคม 2017 หลังจากที่ราคายางโลกที่พุ่งขึ้นสูงและผลผลิตภายในประเทศที่มากขึ้น โดยผลผลิตยางเพิ่มสูงถึง 23 % หรือ 690,000 ตันในปี 2016-2017 แต่ชาวสวนผู้ปลูกยางกังวลต่อการลดการอุดหนุนอุตสาหกรรมการยางจากภาครัฐและการปิดตัวลงของสำนักงานภูมิภาคคณะกรรมการยาง ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบการพัฒนาอุตสาหกรรม

ชาวสวนยางในภาคตะวันตกเฉียงใต้ในรัฐเกรละ การบอกเป็นนัยว่าคณะกรรมการการสำนักงานภูมิภาคคณะกรรมการยางอาจปิดตัวหน่วยงานลง เนื่องจากการพิจารณาลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยอินเดียถือเป็นอันดับ 6 ของประเทศผู้ผลิตยางโลก และรัฐเกรละนับว่าเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมผู้ผลิตยางหลักในประเทศถึงร้อยละ 80 ท่ามกลางการเติบโตของอุตสาหกรรมการยางในรัฐทมิฬนาดู ตรีปุระ และบังกลาเทศ

Advertisment

เมื่อเดือนมกราคม 2016 สมาคมผู้ปลูกยางอินเดียได้เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือเกษตรกร หลังราคายางในประเทศตกต่ำสุดในรอบทศวรรษ โดยอยู่ที่ 90 รูปีต่อกิโลกรัม โดยชาวสวนคาดหวังให้รัฐบาลขึ้นภาษีกับยางที่นำเข้า แต่กลายเป็นว่ารัฐบาลกลับเฉือนราคายางที่นำเข้าอันเนื่องมาจากข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอินเดียและมาเลเซีย

ในเดือนกรกฎาคม 2016 รัฐบาลมีการปรับลดภาษีล้อยางรถยนต์ ล้อยางรถโดยสารและล้อยางรถบรรทุกลงถึง 5% ขณะที่ภาษีผลิตภัณฑ์ยางประเภทอื่นไม่ได้รับการกล่าวถึง เช่น ล้อยางเครื่องบิน ถุงยางคุมกำเนิด ถุงมือผ่าตัด ยางลบ ผลิตภัณฑ์ยางแข็ง ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ ท่อยาง และสายพาน

การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลร้ายแก่ชาวสวนยางและผู้ประกอบการโรงยางในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการผลิตล้อยางในอินเดียต้องหันไปหายางต้นทุนต่ำจากประเทศมาเลเซีย เวียดนาม และกัมพูชาแทน

อันโต แอนโทนี่ สมาชิกรัฐสภาตัวแทนพรรคฝ่ายค้านกล่าวว่า “จำนวนนำเข้ายางสูงสุดจนกระทั่งสองปีก่อนอยู่ที่ปีละประมาณ 3 แสนตันต่อปี แต่สองปีก่อนมีการนำเข้ายางสูงถึงกว่า 9 แสนตัน มากกว่า 90% ของชาวสวนยางเป็นชาวสวนรายย่อย ซึ่งนโยบายนี้มีผลโดยตรงกับผู้ปลูกยางกว่า 1.4 ล้านคน” และระบุว่า รัฐบาลนำประโยชน์ชาวสวนยางไปให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางแทน

Advertisment

ทั้งนี้ในส่วนของการจัดสรรงบ วีเอส ซูนิล คูมาร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรรัฐเกรละ ประณามการสร้างหายนะนี้ของรัฐบาลต่อภาคการยางว่า “นโยบายรัฐบาลกลางไม่เอื้อประโยชน์ให้แก่ชาวสวนยางในระดับภูมิภาค แม้ว่าจะเป็นไปตามนโยบายนำเข้าส่งออก และข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ โดยการจัดสรรงบครั้งล่าสุดนี้ชาวสวนยางได้มา 5 พันล้านรูปี ซึ่งส่วนกลางไม่ได้เต็มใจจะให้เงินครั้งนี้แม้แต่น้อย”

ด้านผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมกล่าวว่า ในปี 2017 อินเดียจัดสรรงบถึง 14.26 พันล้านรูปีให้กับชาวสวนยาง เพื่อแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ แต่กลับช่วยรักษาสภาพคล่องทางการเงินนี้ไม่ได้มาก การใช้จ่ายของรัฐบาลลดลงจาก 35 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2014-2015 เหลือ 22 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2015-2016

นอกจากนี้ ยังเห็นได้ชัดว่า รัฐบาลกลางขาดการสนับสนุนชาวสวนยาง โดยสื่อท้องถิ่นได้เสนอรัฐบาลในการให้กระทรวงพาณิชย์ถ่ายโอนความรับผิดชอบสินค้าจำพวกกาแฟ ชา ยาง เครื่องเทศ เม็ดมะม่วงหิมพานต์และพืชยาสูบให้แก่กระทรวงการเกษตร แต่ในภายหลังมีการค้านว่ายางไม่ใช่พืชผลทางการเกษตรที่เป็นอาหาร จึงไม่ให้ถ่ายโอนการดูแลไปยังกระทรวงการเกษตร ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรระบุว่า “ยางเป็นผลิตภัณฑ์อุตสหกรรม และไม่ใช่สินค้าบริโภคทั่วไป”

อย่างไรก็ตามในภาคอุตสาหกรรม ผู้แทนอุตสาหกรรมยาง กล่าวว่าการนำเข้ายางในอินเดียมีความจำเป็น เนื่องจากการขาดแคลนการจัดหายางและปัญหาเรื่องคุณภาพยางในอินเดีย รวมทั้งราคายางในตลาดทั้งในและนอกประเทศที่ไม่เข้าที่เข้าทางกัน

ราจิฟ บูดราจา ผู้อำนวยการทั่วไปของสมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์กล่าวว่า อุตสาหกรรมส่วนประกอบยานพาหนะได้เร่งให้รัฐบาลช่วยฟื้นชีพภาคส่วนผู้ผลิตยางด้วยลงทุนการวิจัยและพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ยังตั้งข้อสังเกตว่าการที่รัฐบาลยืดการออกนโยบายยางชาติทำให้เกิดความสงสัยในรัฐบาลกลาง

ส่วน เอสพี ซิงห์ ประธานสหพันธ์ตัวแทนจำหน่ายยางรถยนต์ของอินเดีย กล่าวว่า ทั้งผู้ผลิตล้อยางและชาวสวนยางต่างเผชิญกับปัญหา โดยอุตสาหกรรมล้อยางมี 3 ปัญหา ได้แก่ ยางต้องมีจำนวนเพียงพอความต้องการ ราคาต้องสมเหตุสมผล และยางต้องมีคุณภาพ และเพื่อให้สำเร็จพร้อมถึงเป้าหมาย คณะกรรมการยางควรมีแผนงาน 20 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าจุดอ่อนที่สุดในห่วงโซ่อุปทานหรือชาวสวนจะไม่ได้รับผลกระทบเสียหาย ทั้งนี้ ในแง่ประเด็นการเมือง ควรหยุดวิตกกังวลถึงภาคอุตสาหกรรมยาง แต่ควรเน้นไปที่ภาคเกษตรกรชาวสวนยาง”เขากล่าว

ขณะที่เลขาธิการสมาคมผู้ปลูกยางอินเดีย ระบุว่าอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับภัยพิบัติ “ชาวสวนยางขาดทุน 1 ดอลลาร์ทุกๆ 1 กิโลกรัม ทำให้หลายคนหันไปปลูกพืชอื่นทดแทน