เบื้องหลังถนน รถไฟ ตึกสูงระฟ้า เปลี่ยนเอธิโอเปีย “อาดดิส อาบาบา” เป็น “จีน”

REUTERS/Tiksa Negeri/File Photo

เรียบเรียงจาก ซีเอ็นเอ็น

เป็นปรากฎการณ์แปลกประหลาดเมื่อ “หวัง อี้จุน” ผลักดันโปรเจคอสังหาฯ มูลค่ามหาศาลเข้าสู่เอธิโอเปีย ผู้คนเลือกที่จะจับจองพื้นที่ชั้นล่างมากกว่าชั้นสูงๆ ที่สามารถเห็นวิวแบบ 360 องศา เนื่องจากการตัดไฟมักส่งผลให้ลิฟต์ไม่สามารถใช้การได้อยู่บ่อยๆ จึงทำให้ราคาของชั้นล่างสุดมีมูลค่าสูงที่สุด นี่ต่างหากที่แตกต่างไปจากประเทศจีน!

นี่เป็นความท้าทายที่จะเปลี่ยนแอฟริกาให้เป็นเหมือนประเทศจีน แต่ด้วยพื้นที่ว่างซึ่งสามารถพัฒนาได้ในอาดดิส อาบาบา เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยพื้นที่เพาะปลูก หวัง อี้จุน เชื่อว่า ตึกสูง Tsehay Real Estate มูลค่า 60 ล้านเหรียญโดยการพัฒนาของ Poli Lotus เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

“ธีโอดรอส แอมดีเบอฮาน” ทนายความชาวเอธิโอเปีย ใช้เงินประมาณ 3.5 ล้านเบอร์เอธิโอเปีย หรือประมาณ 127,000 ดอลลาร์ ซื้ออพาร์ทเม้นท์ขนาด 3 ห้อง ซึ่งอยู่ชั้น 5 เมื่อปีที่แล้ว ภายหลังโครงการได้เปิดตัวเมื่อปี 2016 และห้องกว่า 70 % ถูกขายออกไป

“ผู้พัฒนาโปรเจคท้องถิ่นไม่เคยส่งงานตรงเวลา” แอมดีเบอฮานกล่าวและต่อว่า ตนไม่ลังเลใจแม้แต่น้อย เมื่อหวัง อี้จุนยื่นข้อเสนอเรื่องราคาที่น่าสนใจมาให้

REUTERS/Tiksa Negeri/File Photo

โคมไฟสีแดงแกว่งไปมาที่หน้าประตูทางเข้า และต้นปาล์มที่ปลูกล้อมรอบทั้ง 13 ตึก ซึ่งสามารถพบเห็นได้ง่ายในเซินเจิ้น ฉงชิ่ง และชานเมืองของเซี่ยงไฮ้ เป็นเสมือนสัญลักษณ์แทนความเป็นจีนใน “อาดดิส อาบาบา”

รถรากำลังวิ่งบนถนนที่จีนตัดใหม่ เครนของจีนกำลังยกตัวขึ้นสูง เครื่องจักรกำลังดำเนินการในโรงงานที่คนจีนเป็นเจ้าของ นักท่องเที่ยวเพิ่งมาถึงสนามบินใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงโดยจีน และผู้คนโดยสารรถไฟสัญชาติจีนเพื่อเดินทางไปทำงาน

“อาดดิส อาบาบา” กำลังกลายเป็นเมืองที่ถูกสร้างโดย “จีน” แต่อะไรคือต้นทุนทางการฑูตและเศรษฐกิจ…ที่ต้องแลก?

เมืองไร้เลขที่บ้าน

สูงจากระดับน้ำทะเล 2,355 เมตร อาดดิส อาบาบาเป็นหนึ่งในเมืองหลวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ข้อมูลจากการสำมะโนประชากรระบุว่า ผู้คนมากกว่า 2.7 ล้านคนเรียกที่แห่งนี้ว่าบ้าน ทว่าความเป็นจริง จำนวนประชากรมีมากกว่านั้น

มีบ้านเพียงไม่กี่หลังที่มี “เลขที่บ้าน” ดังนั้นการเรียกแท็กซี่ไปส่งที่บ้านจะอาศัยการบอก “แลนด์มาร์ค” ใกล้เคียง ทว่าการไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของยุโรป เว้นแต่เพียงการยึดครองในช่วงสั้นๆ ของอิตาเลียนเมื่อปี 1936-1941 ทำให้อาดดิส อาบาบาขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานของยุโรป ซึ่งเป็นหลักและฐานของมหานครหลายแห่งในแอฟริกา

“ที่แห่งนี้ปราศจากการวางแผนที่จะเป็นเมือง” อเล็กซานดร้า โธเรอร์ นักสถาปัตยกรรมผู้อาศัยในอาดดิส อาบาบาตั้งแต่เด็ก และเขียนธีสิสเกี่ยวกับ “การทำเมืองให้กลายเป็นเมือง”

แต่แล้วศตวรรษที่ 21 ประชากรในอาดดิส อาบาบาขยายตัวสูงขึ้น ถนนจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง ในเวลาเดียวกัน จีนมีสัมพันธ์อันดีกับชาติแอฟริกัน โดยเมื่อปี 2000 ปักกิ่งได้จัดงานฟอรั่มความร่วมมือระหว่างจีนและแอฟริกา มีผลให้เกิดข้อตกลงความร่วมมือต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี

“รัฐบาลเอธิโอเปียยกประเทศจีนเป็นโมเดลในการพัฒนาชาติและขอให้ช่วยสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้” เอียน เทย์เลอร์ ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองแอฟริกัน แห่งมหาวิทยาลัยเซนท์ แอนดรู ในสก็อตแลนด์ กล่าว

ระยะเวลา 2 ศตวรรษ จีนใช้งบ 86 ล้านเหรียญในการสร้างถนนวงแหวน สร้างทางแยก Gotera

12.7 ล้านเหรียญ สร้างทางด่วนทางแรกของเอธิโอเปียขนาด 6 เลน กว่า 800 ล้านเหรียญ และลงทุน 4 พันล้านเหรียญไปกับการสร้างทางรถไฟ Ethio-Djibouti ซึ่งเชื่อมต่อยังประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเล

เมืองที่มีประชากรกว่า 1 ล้านคน

จีนยังสร้างระบบขนส่งมวลชนใน “แอฟริกาใต้สะฮารา” ในอาดดิส อาบาบา โดยรถไฟสองสายตัดผ่านใจกลางกรุง และขนส่งผู้โดยสารอย่างน้อย 30,000 คนต่อชั่วโมง คิดค่าใช้จ่าย 6 เบอร์เอธิโอเปีย หรือประมาณ 0.30 ดอลลาร์ต่อเที่ยว

“มันอาจจะล่มในเร็ววัน แต่มันก็ถือว่ามีประโยชน์ทีเดียว อาดดิส อาบาบาในวันนี้เปลี่ยนไปมากทีเดียว” อเล็กซานดร้า โธเรอร์ กล่าว และต่อว่า ตึกระฟ้าขนาดมหึมากำลังพลิกโฉมประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ “46-story glass tower” จะกลายเป็นตึกสูงที่สุดในเอธิโอเปีย จะก่อสร้างเสร็จสิ้นในปี 2020 โดยการก่อสร้างของจีน

แน่นอนว่าจุดสำคัญของตึกระฟ้าในเมืองนี้คือ สำนักงานใหญ่ของสหภาพแอฟริกันในอนาคตจะถูกวางในอาดอิส อาบาบา โดยปักกิ่ง ในปี 2012 “ฉันไม่เคยตระหนักมาก่อนเลยว่าประเทศจีนมีหน้าตาเป็นอย่างไรจนกระทั่งได้ไปเยือนประเทศจีนเอง” เจเน็ต เฟธ อาดเฮมโบ โอเชียง เจ้าหน้าที่สื่อสารแห่งสหภาพอัฟริกัน “และฉันก็รู้สึกแบบว่า ว้าว!”

เปลี่ยนให้เป็น “จีนแดง”

ต้นทศวรรษ 2000 นักร้องนักแต่งเพลงชาวไอริช “โบโน” หนึ่งในนักร้องประสานเสียงขอให้ประเทศตะวันตกยกยอดหนี้ให้กับแอฟริกัน ซึ่งเป็นต้นทุนที่มากกว่าระบบสาธารณะสุข 3 เท่า เมื่อ G8 ลงความเห็นยกเลิกหนี้ให้กับบัญชีชาวแอฟริกันกว่า 55 พันล้านเหรียญ โบโนเรียกเหตุการณ์นี้ว่า “ส่วนเล็กๆ ในประวัติศาสตร์”

ก้าวไปถึงหนึ่งทศวรรษหน้า แอฟริกาจะเป็นหนี้จีนกว่า 130 พันล้านเหรียญ จอห์นส ฮอปกิ้นส์ โครงการริเริ่มการวิจัยแอฟริกัน-จีน SAIS ซึ่งเป็นกองทุนที่จะนำไปใช้สำหรับการคมนาคม พลังงานและเหมืองแร่

“ทวีปแอฟริกันล้าหลังจากภูมิภาคอื่นในหลายๆ โครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า ถนน และราง” เทย์เลอร์ กล่าว และต่อว่าบริษัทตะวันตกและองค์กรหลายแห่ง เช่น ไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกไม่อนุมัติเงินให้กับการก่อสร้างสิ่งเหล่านั้น

การที่จีนให้เครดิตส่งให้หลายคนไม่พอใจและถูกวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา “เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน” เลขาธิการของรัฐแห่งสหรัฐ ระบุว่า “การให้กู้ยืมเงินของจีนกับแอฟริกา ทำให้ชาติเหมืองแร่เป็นหนี้ ตกอยู่ใต้อำนาจอธิปไตย และทำลายการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว”

เอธิโอเปียกู้เครดิตจากจีนอย่างน้อย 1.2 พันล้านเหรียญตั้งแต่ปี 2000 แต่ภาพรวมมีถึง 29 พันล้านเหรียญ ซึ่งเป็นหนี้มากกว่าชาติในทวีปตะวันออกกลางรวมกัน ธนาคารโลกและอื่นๆ เช่นเดียวกับชาติแอฟริกันส่วนใหญ่

จอห์นส ฮอปกิ้นส์ นักวิจัยจากโครงการ SAIS รายงานว่า เงินกู้จีนไม่มีส่วนสำคัญต่อความทุกข์ยากของแอฟริกา

เงินกู้จากจีน 2000-2017

“โซแลนจ์ ชาร์ทลาร์ด” นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Université Libre de Bruxelles iแห่งเบลเยี่ยม กล่าวว่า “เรากำลังถูกปล่อยให้เข้าสู่ระเบียบโลกที่มีจีนเป็นศูนย์กลาง อำนาจในเพศชายกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่”

“ลินา เบเนดับลาห์” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการเมืองและกิจการระหว่างประเทศ แห่งมหาวิทยาลัยเวค ฟอเรส นอร์ท แคโลไรน่า เตือนถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนและแอฟริกันที่ “ไม่สมมาตร” ว่า ปี 2016 จีนส่งออกสินค้าไปยังแอฟริกันถึง 88 พันล้านเหรียญ ขณะที่นำเข้าเพียง 40 พันล้านเหรียญ

ทั้งนี้ มีหลายประเทศที่กังวลเกี่ยวกับหนี้ของจีน เช่น ประเทศจิบูติ มีหนี้กับจีนถึง 77 % ของหนี้ประเทศ ขณะที่ประเทศแซมเบียกู้เงินจากจีนกว่า 6.4 พันล้านเหรียญ โฆษกของกระทรวงต่างประเทศจีน ระบุว่า จีนให้ความสนใจกับสถานการณ์หนี้ในแอฟริกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การพัฒนาอย่างยั่งยืน”

เอธิโอเปียถูกโน้มน้าว?

หนึ่งในความกังวลต่อเงินกู้จีนคือกับดักนี้ทางการฑูต ซึ่งเป็นวิถีทางที่ปักกิ่งใช้กดดันประเทศต่างๆ ที่ไม่สามารถจ่ายเงินคืนเพื่อแลกกับดีลที่กดขี่อีกฝ่าย

ในขณะที่ก่อสร้างตึกนายกรัฐมนตรีอันโอ่อ่าที่อาดดิส อาบาบา “อาเคเบ โอคูเบย์” รัฐมนตรีอาวุโส ยืนกรานว่า เอธิโอเปียไม่ได้ถูกโน้มน้าวแต่อย่างใด “หนึ่งในสิ่งที่เงินทุนจีนน่าสนใจคือ ไม่มีการแทรกแซงการเมืองท้องถิ่น”

อย่างไรก็ดี จีนต้องการให้ชาติแอฟริกันตัดสัมพันธ์ทางการฑูตกับไต้หวัน ภายใต้นโยบาย “จีนหนึ่งเดียว” ซึ่งจีนเคยได้พูดหลายต่อหลายครั้งว่า “หนี้ หรือ ไม่มีหนี้”

“ลุค ปาเต้” นักวิจัยอาวุโสแห่งสถาบันการศึกษานานาชาติของเดนมาร์ก เห็นต่างออกไป โดยยกตัวอย่างศรีลังกาว่าเป็น “นกขมิ้นแห่งเหมืองแร่”

ปี 2010 ปักกิ่งลงทุนเม็ดเงินกว่า 1.5 พันล้านเหรียญ เพื่อสร้างท่าเรือ “แฮมบันโททา” เมื่อศรีลังกาไม่สามารถชดใช้หนี้ได้ จีนจึงทำการเซ็นสัญญาเช่าท่าเรือเป็นระยะเวลา 99 ปี แทนการชำระหนี้บางส่วน

“ถ้าประเทศกำลังพัฒนาไม่ได้ให้ความสนใจกับวิธีการชำระหนี้คืนจีน เราก็จะเห็นจำนวนสินทรัพย์ชาติที่ขายออกไปมากยิ่งขึ้น” ลุค ปาเต้ กล่าว

อีกหนึ่งสิ่งที่น่ากังวลคือ ความปลอดภัยระดับชาติ ต้นปีที่ผ่านมา ข่าวจากฝรั่งเศสระบุว่าจีนได้ทำการสปายสหประชาชาติแอฟริกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่จีนช่วยติดตั้ง ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวว่า “เป็นข้อกล่าวอ้างที่ไร้ข้อมูล”  เช่นเดียวกับ AU ที่ละเลยคำกล่าวว่า “ไร้หลักฐาน” ขณะที่ข่าวลือได้ถูกกระจายไปอย่างรวดเร็วท่ามกลางการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั่วทั้งแอฟริกาอย่างรวดเร็ว

ลุค ปาเต้ กล่าวว่า การที่จีนลงทุนตัดถนน สร้างทางรถไฟ และเขื่อน มันถูกกำหนดไว้แล้วว่าบริษัทก่อสร้างจากจีนเหล่านั้นต้องใช้คอนกรีตกับเหล็กจากจีน และแอฟริกาเป็นเพียงหมากกระดานหนึ่งสำหรับจีน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบริษัทจีนที่ไปแสวงหาประสบการณ์ต่างแดน

ขณะที่โฆษกรัฐบาลจีนในแอฟริกาอ้างว่า จีนดำเนินการอย่างอิสระและมุ่งเน้นสัญญาที่เท่าเทียม

ในห้องอพาร์ทเม้น “Poli Lotus” ตึกอาศัยสัญชาติจีนที่อยู่ในเอธิโอเปีย ลูกชายของแอมดีเบอฮานกำลังเล่นเกมฟีฟ่าบนโทรทัศน์จอกว้าง เหนือโซฟามีภาพหอไอเฟลแขวนอยู่

เมื่อถามว่ารู้สึกอยา่งไรกับการที่จีนปั้นอาดดิส อาบาบาเช่นนี้ แอมดีเบอฮาน กล่าวว่า “ครั้งหนึ่งฉันเคยไปเยือนจีนและสังเกตเห้นว่าพวกเขาก่อสร้างตึกรามบ้านช่องไว้กลางเมือง ควบรวมความต้องการของทุกคนเข้าไว้ด้วยกัน”