
เอเอฟพีรายงานว่า ธนาคารโลกเปิดเผยรายงานในวันนี้ระบุว่า แม้เราจะมีความก้าวหน้าในการลดปัญหาความยากจน แต่พบว่าประชากรทั่วโลกกว่าครึ่งนั้นใช้ชีวิตด้วยเงินน้อยกว่า 5.50 ดอลลาร์ต่อวัน หรือราว 178 บาท และมีส่วนแบ่งคนยากจนในประเทศที่ร่ำรวยมั่งคั่งมากขึ้น
รายงานของเวิลด์แบงก์ที่จัดทำขึ้นสองปีครั้งฉบับนี้ เปิดเผยให้เห็นถึงความยากจนในประเทศต่างๆ ที่ล้าหลัง แม้ว่าสัดส่วนของคนจนที่มีรายได้ต่อวันน้อยกว่า 1.90 ดอลลาร์ มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา
- พายุลูกใหม่จ่อเข้าไทย ชี้ความรุนแรงเท่า “เตี้ยนหมู่” ระวังน้ำท่วมใหญ่
- นายกฯตั้งบอร์ดใหญ่คุมแจกเงิน 10,000 บาท ห้าง-โมเดิร์นเทรดรับอานิสงส์
- กรมอุตุฯเตือน “พายุดีเปรสชั่น” เข้าไทย รับมือฝนตกหนัก-ท่วมฉับพลัน
รายงานยังระบุว่า จำนวนคนยากจนทั่วโลกยังมีอยู่มากในระดับที่ไม่สามารถยอมรับได้ ขณะที่คนจนไม่ได้เข้าถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทั่วถึงทั้งภูมิภาค และประเทศ
และแม้ว่าตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวในหลายปีที่ผ่านมา แต่พบว่า จำนวนคนยากจนลดลงมากกว่า 98 ล้านคนในระหว่างปี 2013-2015 ซึ่งเป็นตัวเขที่ใกล้เคียงกับจำนวนประชากรในประเทศ และสหราชอาณาจักร
ถึงแม้ว่าจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่เป้าหมายของธนาคารโลกที่จะลดความยากจนระดับรุนแรงให้มีน้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วโลกภายในปี 2030 อาจะไม่สามารถทำให้บรรลุผลได้
ข้อมูลพบว่าจำนวนประชากรทั่วโลกที่มีรายได้น้อยกว่า 5.5 ดอลลาร์ต่อวันนั้น ลดลงมาอยู่ที่ 46 เปอร์เซ็นต์ จาก 67 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี1990-2015 และเมื่อเดือนที่ผ่านมาธนาคารโลกรายงานจำนวนตัวเลขความยากจนระดับรุนแรงลดลงเหลือ 10 เปอร์เซ็นต์ในปี 2015
ความยากจนในประเทศจีนดีขึ้น ส่วนในเอเชียตะวันออก และแปซิฟิกนั้นลดลง 60 จุด มีอัตราความยากจนอยู่ที่ 35 เปอร์เซ็นต์ และในพื้นที่ทางตอนใต้ทะเลทรายซาฮารานั้นมีประชากรถึง 84.5 เปอร์เซ็นต์ ที่ยังคงมีรายได้ต่อวันน้อยกว่า 5.50 ดอลลาร์
ทั้งนี้ธนาคารโลกยังย้ำว่า ในหลายๆประเทศเหล่านี้ คนยากจนยังไม่สามารถเขาถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน