ก่อการร้ายฝรั่งเศส ปมขัดแย้ง เสรีภาพ หรือ ละเมิดความเชื่อ

ฝรั่งเศส-ก่อการร้าย

ภาพรวมการก่อการร้ายฝรั่งเศส ความขัดแย้งที่เปราะบางระหว่าง “สิทธิเสรีภาพ” และ “การละเมิดความเชื่อ”

วันที่ 30 ตุลาคม 2563 สำนักข่าวอัลจาซีร่า รายงานว่า ขณะนี้ฝรั่งเศสกำลังเผชิญกับ “การก่อการร้าย” หลายครั้ง จากปมความขัดแย้ง ระหว่าง “สิทธิเสรีภาพ” กับ “การละเมิดความเชื่อ” ภายในประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องคอยเฝ้าระวังถึงสถานการณ์โดยรอบ

เหตุการณ์ “ก่อการร้าย” เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 16 ต.ค. ที่ผ่านมา สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า “ซามูเอล พาที” ครูฝรั่งเศสที่สอนวิชาสังคม ถูก “ฆ่าตัดคอ” โดยนาย “อับดุลลาห์ อันโซโรฟ” ชาวมุสลิม

ชนวนเหตุมาจากการที่ครูซามูเอลได้นำการ์ตูนล้อเลียนศาสดา “มูฮัมหมัด” ของศาสนาอิสลาม มาสอนในห้องเรียน เพื่อถกเถียงในประเด็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก

รูปการ์ตูนล้อเลียนศาสดานี้ ฝั่งคนนับถือศาสนาอิสลามมองว่า เป็นการละเมิดความเชื่อและไม่ควรถือเป็นเสรีภาพในการแสดงออก

โดยการฆ่าตัดหัวครั้งนี้เป็นผลมาจากความโกรธแค้นของชาวมุสลิมคนนี้ ที่ครูได้นำรูปไปล้อเลียน

หลังจากนั้นก็มีการก่อการร้ายที่โบสถ์ “นอเทอร์ ดัม” เมืองนีซทางตอนใต้ของฝรั่งเศสเมื่อวันพฤหัส (29 ต.ค.) ที่ผ่านมา ผู้ก่อการร้ายอิสลามได้ “ฆ่าตัดหัว” ผู้หญิงภายในโบสถ์ และแทงคนฆ่าภายในโบสถ์อีก 2 คน จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 3 คน

ฝรั่งเศส-ก่อการร้าย

“เอมมานูเอล มาครง” นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสประกาศว่ าสถานการณ์นี้เป็น “การก่อการร้ายของกลุ่มคนอิสลามหัวรุนแรง” (Islamist terrorist attack) และออกมาแสดงจุดยืนว่า ฝรั่งเศสมีสิทธิ์ที่จะแสดงเสรีภาพทางการแสดงออก กล่าวคือ นายเอมมานูเองมองว่ารูปการ์ตูนล้อเลียนศาสดาของครูซามูเอล เป็นเสรีภาพที่สามารถแสดงออกได้

การให้คำแถลงการณ์นี้จากนายกได้ทำให้กลุ่มคนมุสลิมไม่พอใจอย่างมาก นำมาสู่การคว่ำบาตรสินค้าจากฝรั่งเศสของประเทศแถบตะวันออกกลาง

ล่าสุด นายมหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ทวีตข้อความว่า ชาวมุสลิมมีสิทธิ์โกรธและสามารถ “ฆ่า” ชาวฝรั่งเศสนับล้านคน ก่อนที่จะลบทวีต ขณะเดียวกัน ประชาชนฝรั่งเศสอีกฝั่งได้ออกมาแสดงความไว้อาลัย พร้อมกับกล่าวว่าการกระทำของครูซามูเอลนั้นไม่ใช่เรื่องผิด

ภาพการ์ตูนล้อเลียนศาสดานี้เป็นประเด็นที่เคยมีปัญหาเมื่อปี 2015 ที่กลุ่มคนอิสลามได้ยิงกราดบรรณาธิการสำนักข่าว “ชาร์ลี เฮบโด” จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 15 คน หลังจากทางสำนักข่าวตีพิมพ์การตูนล้อเลียนศาสดามูฮัมหมัด

ความขัดแย้งดังกล่าวระหว่าง “เสรีภาพการแสดงออก” และ “การละเมิดความเชื่อ” ได้เป็นปัญหามานานหลังฝรั่งเศสเริ่มมีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งการก่อการร้ายครั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่าอาจจะทำให้เกิดการเหยียดศาสนาอิสลาม (Islamphobia) เพิ่มมากขึ้นในประเทศ