ออสเตรเลีย พบฟอสซิลจระเข้ยักษ์ 93 ล้านปี ที่ยังเหลือซากไดโนเสาร์ในกระเพาะ

ออสเตรเลีย พบฟอซซิลจระเข้ยักษ์ 93 ล้านปี ที่ยังเหลือซากไดโนเสาร์ในกระเพาะ
ภาพจาก pixabay

นักวิจัยพบฟอสซิลจระเข้นักล่าไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ อายุ 93 ล้านปี ที่ยังเหลือซากไดโนเสาร์ในกระเพาะก่อนตาย

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 Science Alert รายงานว่า เมื่อประมาณ 95 ล้านปีก่อนในออสเตรเลีย บรรพบุรุษของเหล่าจระเข้ใช้ขากรรไกรอันทรงพลังของพวกมันงับลงบนร่างเล็ก ๆ ของไดโนเสาร์ และกลืนลงไปเกือบทั้งตัว จระเข้ตายในเวลาหลังจากนั้นไม่นาน และเมื่อมันกลายเป็นฟอสซิล ไดโนเสาร์ถูกย่อยเพียงบางส่วนและมีสภาพเกือบสมบูรณ์ในท้องของมัน

ไดโนเสาร์ตัวเล็กพันธ์ออร์นิโทพอดที่อายุน้อย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสัตว์กินพืช เดินสองเท้า กระดูกเหล่านี้เป็นของพวกมันที่พบในบริเวณนี้ของทวีป

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบซากของจระเข้โบราณนักล่า รวมถึงมื้อสุดท้ายของมันที่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดี ใน Great Australian Super Basin ซึ่งเป็นสถานที่ย้อนไปถึงยุคครีเทเชียส (ประมาณ 145.5 ล้าน ถึง 65.5 ล้านปีก่อน)

แม้ว่าฟอสซิลจระเข้จะไม่มีหาง ขาหลังและกระดูกเชิงกรานส่วนใหญ่ แต่กะโหลกศีรษะและกระดูกจำนวนมากจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกายยังคงไม่บุบสลาย นักวิจัยรายงานว่ามันมีความยาวกว่า 8 ฟุต หรือประมาณ 2.5 เมตร ตอนที่มันตาย แต่น่าจะยังโตได้อีกหากมันยังมีชีวิตอยู่

พวกเขาเรียกมันว่า “Confractosuchus sauroktonos” ซึ่งคล้ายกับไดโนเสาร์ที่ถูกจระเข้ยักษ์กลืนลงไปเกือบทั้งตัว แต่นั่นเป็นเพราะมันมีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับฟอสซิล

ด้วยชื่อที่ยุ่งยาก การค้นพบสกุลและสปีชีส์ใหม่ ทั้งยังแปลจากคำในภาษาละตินและภาษากรีกที่รวมกันหมายถึง “จระเข้นักฆ่าไดโนเสาร์ที่ผุพัง”

“นักฆ่าไดโนเสาร์” มาจากสิ่งที่อยู่ในลำไส้ของฟอสซิล ในขณะที่ “ผุพัง” หมายถึง มวลหินตะกอนที่ล้อมรอบฟอสซิล ซึ่งแตกเป็นเสี่ยง ๆ ระหว่างการขุดค้นในปี 2553 และเผยให้เห็นกระดูกที่เล็กกว่าภายในท้องของจระเข้ ตามคำแถลงของ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งออสเตรเลีย ในเมืองวินตัน รัฐควีนส์แลนด์

จระเข้อาศัยอยู่ร่วมกับไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกในยุคไทรแอสสิก (251.9 ล้านถึง 201.3 ล้านปีก่อน) และหลักฐานก่อนหน้าบ่งชี้ว่าพวกมันพบว่าไดโนเสาร์บางตัวมีรสชาติอร่อย

รอยฟันบนซากฟอสซิลกระดูกของไดโนเสาร์ รวมถึงฟันที่ฝังอยู่ในกระดูก บอกเป็นนัยว่าจระเข้บางตัวกินไดโนเสาร์เป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการตามล่าหรือกำจัดซากที่เหลือไว้

แต่นักบรรพชีวินวิทยาไม่ค่อยพบหลักฐานในลำไส้ที่เก็บรักษาไว้ในจระเข้ อาจเป็นเพราะการย่อยของพวกมันมีกรดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างแรง เช่นเดียวกับจระเข้ในปัจจุบัน

การค้นพบครั้งใหม่นี้เป็นหลักฐานขั้นแรกที่แสดงให้เห็นว่าไดโนเสาร์ถูกจระเข้ยักษ์ยุคครีเทเชียสกินเข้าไป นักวิทยาศาสตร์รายงานเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ในวารสาร กอนด์วานา รีเสิร์ช

เนื่องจากกระดูกของไดโนเสาร์ตัวเล็กบอบบางเกินกว่าจะขุดออกจากหินที่อยู่รอบ ๆ พวกมันได้ นักวิทยาศาสตร์จึงใช้เทคโนโลยีรังสีเอ็กซ์และซีทีสแกนเพื่อค้นหากระดูกภายในตัวอย่างจระเข้ รวมถึงการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นเวลา 10 เดือนเพื่อสร้างกระดูก 3 มิติขึ้นใหม่ พวกเขาคำนวณว่าออร์นิโธพอดมีน้ำหนักเกือบ 4 ปอนด์ (1.7 กิโลกรัม)

นักวิจัยรายงานว่า โครงกระดูกของไดโนเสาร์ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมต่อกันหลังจากที่มันถูกกลืนเข้าไป แต่ในขณะที่นักฆ่าไดโนเสาร์เคี้ยวอาหารของมัน มันก็กัดลงไปอย่างแรงจนกระดูกโคนขาของออร์นิโธพอดข้างหนึ่งหัก และเหลือฟันที่ฝังอยู่ในกระดูกโคนขาอีกข้างหนึ่ง

ดร.แมตต์ ไวท์ ผู้ร่วมวิจัยของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย ระบุว่า “แม้ว่าจระเข้ confractosuchus จะไม่มีความเชี่ยวชาญในการกินไดโนเสาร์ แต่ไม่เคยมองข้ามอาหารง่ายๆ เช่น ออร์นิโธพอด วัยโตที่ยังอยู่ในท้องของจระเข้ มีแนวโน้มว่าไดโนเสาร์ต่าง ๆ จะประกอบขึ้นเป็นทรัพยากรสำคัญในห่วงโซ่อาหารทางนิเวศในยุคครีเทเชียส”

“เนื่องจากขาดตัวอย่างจากทั่วโลก จระเข้ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตัวนี้และอาหารมื้อสุดท้ายจะยังให้เบาะแสเกี่ยวกับความสัมพันธ์และพฤติกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียเมื่อหลายล้านปีก่อน” ดร.แมตต์ ไวท์ กล่าวเพิ่มเติม