รัฐบาล ในยุค AI

รัฐบาลในยุค AI
คอลัมน์ : ชั้น 5 ประชาชาติ
ผู้เขียน : ณัฐวุฒิ ประชาชาติ

นายกฯเศรษฐา ทวีสิน โคจรรอบโลก ดึงนักลงทุนทั้งโลกลงทุนไทย

โดยรัฐบาลตั้งเป้าดึงอุตสาหกรรมแห่งอนาคต Digital for all Technology Innovation AI ให้มาขยายธุรกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะเทคโนโลยี High Tech ต่าง ๆ ทั้งการลงทุนโรงงานผลิต Semiconductor,

การตั้งศูนย์ Data Center รองรับ Cloud Computing,

การวิจัยและนำ AI มาใช้งานในประเทศไทย รวมถึงดึงบริษัท Deep Tech ให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยด้วยเช่นกัน ผ่านโมเดล Sandbox ซึ่งรัฐบาลจะมีเงินสนับสนุนบริษัทที่ต้องการผ่านกองทุน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และจะทำ Matching Fund เติมทุนให้กับบริษัทที่มีศักยภาพ

นี่คือหนึ่งใน 8 Vision ของนายกฯ ในงาน “IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง” เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2567

อีกด้านหนึ่งนอกทำเนียบรัฐบาล ณ ศูนย์กลางประเทศ ทั่วโลกกำลังตื่นเรื่อง AI เมื่อชีวิตประจำวันต่อจากนี้จะหนีไม่พ้น แล้วไทย… โดยเฉพาะนโยบายภาครัฐมีความพร้อมแค่ไหนในแง่โครงสร้างพื้นฐาน หากจะชวนต่างประเทศมาลงทุน ?

ข้อมูลจากแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565-2570) โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2565

ฉายให้เห็นภาพประเทศที่มี มูลค่าการลงทุนด้าน AI นับจากปี ค.ศ. ที่มีการลงทุน พบว่า

ปี 2018 สหรัฐ ลงทุน 4,700 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปี 2018 จีน ลงทุน 4,200 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปี 2018-2021 ไต้หวัน ลงทุน 1,220 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปี 2018 ญี่ปุ่น ลงทุน 720 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปี 2017-2022 สิงคโปร์ ลงทุน 150 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วน อังกฤษ ลงทุน 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ

รัฐบาลไทยมีการลงทุนด้าน AI แค่ไหนในงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี

หันมาดูด้านการพัฒนาทักษะในอนาคตของการทำงาน (Skills and the Future of Work) เช่น การลงทุนใน การศึกษา STEM (Science, Technology, Engineering และ Mathematics) ที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจยุคใหม่  เช่น

จีน มีการสนับสนุนให้บริษัทต่าง ๆ จัดฝึกอบรม ทักษะ รวมถึงมีการปรับปรุงการฝึกอบรมการจ้างงานใหม่ของรัฐบาล

สหรัฐอเมริกา มีการขยายตัว ของโปรแกรมฝึกงาน มีรูปแบบการทำงานและการเรียนรู้ (Work-and-Learn Models) เช่น การเรียนรู้แบบผสมผสาน (รวมการศึกษา online และ offline) ประสบการณ์การทำงานที่ได้รับ ค่าตอบแทนและโอกาสก้าวหน้า

ขณะที่การรวม Science, Engineering, Technology & Mathematics (STEM) เข้าไปเพิ่มเติม รวมถึง ปัญญาประดิษฐ์ในหลักสูตรระดับประถมศึกษาถึงปริญญาตรี

สหราชอาณาจักร มีการลงทุนการฝึกอบรมทักษะโดยมุ่งเน้นที่ STEM

สิงคโปร์ มีการทำให้การเรียนรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์กว้างขึ้น มากกว่าจะเป็นนักเรียน STEM ในมหาวิทยาลัย ภาครัฐและภาคเอกชน

ขณะที่ประเทศซึ่งโดดเด่นด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ล้อไปกับคลื่อนอนาคต มียุทธศาสตร์ดังนี้

ประเทศสหรัฐอเมริกา The White House โดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาได้ออกประกาศผู้บริหาร (Executive Order) เพื่อเปิดตัว “Artificial Intelligence Initiative” ในปี ค.ศ. 2019 โดยประกาศ ผู้บริหารนั้นได้เรียกให้ National Science and Technology Council (NSTC) ให้ประสานในการ ดำเนินงาน “Ameriacan AI Initiative”

ซึ่ง executive departments แลหน่วยงานทั้งหมด เช่น ที่ พัฒนาและนำ AI ไปใช้ ให้ทุนการศึกษา ควบคุมและชี้นำ AI จะต้องปฏิบัติตามเป้าประสงค์ของ ยุทธศาสตร์ (strategic objectives) ของ “Artificial Intelligence Initiative”

ประเทศสิงคโปร์ มี Smart Nation Digital Government Office (SNDGO) ที่สังกัดภายใต้ Prime Minister’s Office (PMO) เป็นผู้จัดทำแผนที่ชื่อว่า National AI Strategy ที่ออกมาในปี ค.ศ. 2019  โดย SNDGO มีหน้าที่ในการกำหนดแผนงาน และจัดลำดับความสำคัญของ Smart Nation Projects ที่ จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของรัฐบาล สร้างความสามารถในระยะยาวให้กับภาครัฐ

และส่งเสริมการยอมรับและการมีส่วนร่วมจากสาธารณะและอุตสาหกรรมเพื่อให้แนวทางร่วมกันในการสร้าง Smart Nation โดยเมื่อ SNDGO ร่วมกับ Government Technology Agency (GovTech) จะรวมเป็น กลุ่มที่ชื่อว่า Smart Nation and Digital Government Group (SNDGG)

ซึ่งจะนำโดยปลัดกระทวง (Permanent Secretary) และเลขาธิการ (Deputy Secretary) โดย SNDGG นี้จะอยู่ภายใต้การดูแลของ คณะกรรมการที่เป็นรัฐมนตรี (Ministerial Committee)

ประเทศจีน The State Council of China เป็นผู้จัดทำแผน New Generation Artificial Intelligence Development Plan (หรือ A Next Generation Artificial Intelligence Development Plan) ในปี ค.ศ. 2017 โดยสมาชิกของ The State Council of China อาทิ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี ที่ ปรึกษาของรัฐ เลขาธิการ เป็นต้น โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบสำหรับการนำไปดำเนินการต่อและ ประสานงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่เกี่ยวข้องกับ AI คือ Ministry of Science and Technology (MOST) และ AI Plan Promotion Office ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาใหม่

ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการจัดตั้ง Artificial Intelligence Technology Council ในปี ค.ศ. 2016 เพื่อ จัดทำ Artificial Intelligence Technology Strategy ของญี่ปุ่นที่ออกมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 ซึ่งตัว Council นั้นผู้ที่มีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ประกอบไปด้วยภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และภาครัฐ ในการทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดทิศทางและการดำเนินการของยุทธศาสตร์

ประเทศเกาหลีใต้ The Government of the Republic of Korea เป็นผู้จัดทำแผนต่าง ๆ โดย The Korean Ministry of Science, ICT and Future Planning (MSIP) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดทำแผน “Mid- to Long-Term Master Plan in Preparation for the Intelligent Information Society” ที่ออกมา ในปี ค.ศ. 2017 (เป็นรายงานที่ได้พิจารณาถึงบทบาทของ AI ควบคู่ไปกับการรวมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น Internet of Things, cloud computing, big data analysis และ mobile technology เป็นต้น ซึ่งได้มีการกล่าวถึงผลกระทบหลายประการของ AI ที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน เศรษฐกิจ วิถีชีวิต และสภาพ ความเป็นอยู่)

และได้มีการจัดทำแผน “ Artificial Intelligence R&D strategy” ตามมาในปี ค.ศ. 2018 และในเวลาต่อมา Ministry of Science and ICT (เปลี่ยนชื่อมาจาก MSIP เดิม) เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน “National Strategy for Artificial Intelligence” ที่ออกมาในปี ค.ศ. 2020

ตั้งแต่รายงานฉบับนี้ผ่านคณะรัฐมนตรี ยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จนถึงปัจจุบัน เราเห็นนโยบายของรัฐบาลที่จะรีสกิลแรงงานไทยให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี อย่างจริงจัง แข็งขันแค่ไหน ?

ไม่ใช่มีแต่แผน มีแต่เป้าหมายผลิตบุคลากรด้าน AI 30,000 คน ในปี 2570 หรือพึ่งพาบริษัทเทคต่างชาติช่วยผลิตคนปีละ 5 หมื่นคน เป็นโจทย์ท้าทายรัฐบาลอย่างยิ่ง