“Growth up” สไตล์จีน เรื่องดี ๆ ที่ต้องเรียนรู้

คอลัมน์ ช่วยกันคิด

โดย ดร.ศุภชัย สุขะนินทร์

ตอนนี้จะว่าด้วยเรื่องของประเทศจีน ประเทศที่มีประชากร 1 ใน 3 ของโลก สงสัยไหมทำไมต้องไปโฟกัส innovation หรือ disruption ที่เทคโนโลยีของจีน

เหตุก็คือ รัฐบาลจีนให้การสนับสนุนเทคโนโลยีของจีนทุกอย่าง สกัดเทคโนโลยีที่ไม่น่าไว้วางใจจากภายนอก ภายใต้จุดเริ่มต้นของนโยบาย Made in China 

ส่วนที่ได้เปรียบของจีน ที่สามารถเห็นได้ คือ government protect ตัวอย่างเช่น google ที่เข้ามาก็ไม่อยากให้เป็นของเค้า ก็สร้างของตัวเองเข้ามา หรืออย่าง อีเบย์ ก็เป็น อาลีบาบา หรือแม้แต่ paypal จะเข้ามาก็จะมีของจีนเข้ามาแข่ง

เช่นเดียวกับ facebook เข้ามา ก็จะไม่ให้เหมือนอเมริกา เลยทำตามขึ้นมาให้เป็นของจีนเอง เรียกว่า เหยิน เหยิน

อดีต Uber เข้ามา จีนก็มี didi app ขึ้นมา จนในที่สุด Uber ต้องถอนทัพ หรือ คูปอง เป็น เหนียงหยวน ส่วน yahoo เข้ามา จีนก็ทำแอปหรือเว็บทุกอย่างเหมือนเลย เรียกว่า sohu ขณะที่ youtube ตอนนี้มี ucool ขึ้นมา

เรียกได้ว่า จีนสร้างทุกอย่างเหมือนต้นฉบับเลย แต่เป็นภาคภาษาจีน เรียกว่า Made in China นโยบายนี้ก็สำเร็จ จากนั้นจีนเริ่มสร้าง environment โดยการสร้างเมืองเสิ่นเจิ้น ให้เป็นเมืองตัวอย่างให้เป็นซิลิคอนวัลเลย์ของภาคตะวันออก และมีการสนับสนุนด้านต่าง ๆ อย่างสุดกำลัง เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงระหว่างเมือง สร้างพลังโซเชียลให้เกิดขึ้น

ต่อมาเป็นนโยบายที่จีนทำล่าสุด คือ AI 2030 ดังนั้น คนที่เข้ามาพัฒนาต้องมีความรู้ในระดับหนึ่ง แล้วยังมี government policy ที่ลงทุนให้ด้วย รวมถึงการลงทุนให้บริษัท startup ต่าง ๆ ที่เปิด รวมถึงบริษัทต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่มาเปิดที่จีน ก็สนับสนุนให้ด้วย

และความน่ากลัวของจีน จากสถิติในปี 2019 จากจำนวน unicorn ใน 10 บริษัทของโลก ปรากฏว่า 7 ใน 10 ของ unicorn เป็นบริษัทของจีน เช่น didi app หรือ tencent ที่ทำ wechat

หรือหากจะดูจาก top 20 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ก็มีมากถึงครึ่งหนึ่ง เป็นบริษัทที่มาจากจีน สอดรับได้กับอีกหนึ่งสถิติที่ระบุว่า ผู้ใช้ digital money ในจีน มีมากกว่าอเมริกาถึง 50 เท่า

จีนสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างที่สุด หากแต่รัฐบาลสนับสนุนให้เกิด “ค่าแรงถูก” เมื่อค่าแรงถูก ขณะที่แรงงานเรียนรู้เร็ว

แม้จีนจะโดนระแวงในเรื่องการลอกเลียนแบบสินค้า คนจะทำสินค้าไปที่จีนจะโดนก๊อปง่ายมาก หรือแม้แต่ขายของในประเทศกันเองก็ไม่เว้น เหล่านี้อาจทำให้ผู้ผลิตสินค้าไม่พึงใจ แต่เมื่อมองอีกมุม ได้ก่อให้เกิดกระบวนการแข่งขัน competition ที่มีประสิทธิภาพสูง

การแข่งขันในธุรกิจจีนมีสูงในทุกระดับ สินค้าแบบเดียวกัน ราคาต่างกันทุกร้าน ร้านหนึ่งขายราคาว่าถูกแล้ว เดินมาอีกหน่อยถูกกว่า ไม่เท่านั้น ถึงขั้นมีการกลั่นแกล้งกันด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเอาชนะคู่แข่งทางการค้า ซึ่งมีรายงานข่าวให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ในสื่อจีน

การแข่งขันที่สูง ๆ ทำให้เกิด innovation และคนจีนยังมีสิทธิพิเศษ จากนโยบายที่ใครมีสัญชาติจีนก็สามารถมาอยู่ที่จีนได้ โดยไม่ต้องขอวีซ่า

ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้จีนประสบความสำเร็จมากกว่าประเทศอื่น ๆ คือ เรื่องการพัฒนาคนกับเทคโนโลยี ถ้าดูจากสถิติจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันในจีนมี interner user อยู่ที่ 772 ล้านคน และ mobile payment 527 ล้านคน และ mobile internet 753 ล้านคน

สิ่งเหล่านี้สามารถขจัดปัญหา ย่อโลกการติดต่อสื่อสารที่เคยลำบากในอดีต เนื่องจากพื้นที่ประเทศที่กว้างใหญ่

ส่งผลให้การพัฒนาบนโลกธุรกิจ ออนไลน์ของจีนดำเนินไปอย่างก้าวกระโดด และด้วยพลังมหาศาลจากจำนวนประชากร บนโลกการเงินมีการใช้ mobile user จำนวนมาก โดยเข้าถึงผ่าน แอนต์ไฟแนนซ์ ที่ให้บริการสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกมาก ขณะที่ดีฟอลต์ต่ำมาก คือ 2 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีเงินทุนของสตาร์ตอัพ ทั้งที่เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง และปัจจุบันมีที่หางโจว เพิ่มอีก

หลากหลายเรื่องราว หลากหลายเทคโนโลยีของจีน เป็นเรื่องที่ประเทศไทยยังไปไม่ถึง หรือไปยังไม่ได้ แต่ก็สามารถนำมาปรับใช้ได้ในบางส่วนเช่นกัน