บางกอกไพรด์ 2023 กับแนวคิด Beyond Gender ประเด็นความไม่เท่าเทียมทางเพศใดที่คุณอยากก้าวข้าม พร้อมเปิดพื้นที่ให้ LGBTQIAN+ เรียกร้องสิทธิที่ควรได้รับ โดยจะจัดงานในวันที่ 4 มิ.ย. 66
วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 บริษัท นฤมิตไพรด์ จำกัด จับมือ กรุงเทพมหานคร พร้อมภาคประขาสังคมและภาคเอกชน จัดงาน “บางกอกไพรด์ 2023” (Bangkok Pride 2023) เพื่อสร้างการยอมรับความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยและพื้นที่สร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมสำหรับชุมชน LGBTQIAN+ ภายใต้แนวคิด “Beyond Gender ประเด็นความไม่เท่าเทียมทางเพศใดที่คุณอยากก้าวข้าม”
โดยงานจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน 2566 ซึ่งเป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของผู้มีความหลากหลายทางเพศ พร้อมทั้งสร้างความตระหนักรู้และเป็นกระบอกเสียงให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศได้รับความเท่าเทียมในสังคมไทยในทุกมิติ
วาดดาว-ชุมาพร แต่งเกลี้ยง ประธานและผู้ก่อตั้งบริษัท นฤมิตไพรด์ จำกัด กล่าวถึงการจัดงาน บางกอก ไพรด์ 2023 ในครั้งนี้ว่า เราพร้อมเป็นพื้นที่ให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQIAN+ ได้แสดงออกและเรียกร้องสิทธิในด้านต่าง ๆ ที่ควรได้รับ และแสดงศักยภาพ ความสามารถ ความเข้มแข็งให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาสังคมไทยและสังคมโลก งานนี้จึงเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ในการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจให้หมุนเวียนในประเทศ
การจัดงานบางกอกไพรด์ในปีนี้มีเป้าหมายในการเข้าร่วมเป็นเครือข่าย Rainbow Cities Network เพื่อพัฒนากรุงเทพฯเมืองน่าอยู่สำหรับทุกเพศ และคว้าโอกาสสำคัญในการพากรุงเทพฯเป็นเจ้าภาพการจัดงาน World Pide ในปี 2028
สำหรับพันธมิตรหรือภาคีเครือข่าย ที่ร่วมจัดงานในครั้งนี้ทางบริษัท นฤมิตไพรด์ จำกัด ได้คันหาองค์กรที่มีการขับเคลื่อนหรือมีแนวทางในการสนับสนุนสิทธิเสรีภาพของพนักงาน LGBTQAIN+ หรือมีเป้าหมายในการสร้างความเท่าเทียมทางเพศ อาทิ วอลล์ คอร์นเนตโต, ลีวาย (Lev’s), นูด แคปซูล (Nude Capsule), ทริงเก็ต (Trinket), คลีเน็กซ์ (Keenex) และกูเกิล (Google) มาร่วมสร้างพื้นที่แห่งความสร้างสรรศในปีนี้
ด้าน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครพร้อมสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนผู้มีความหลากหลายทางเพศ โดยในปีนี้ร่วมมือกับนฤมิตไพรด์ทีมผู้จัดบางกอกไพรด์ในการอำนวยความสะดวก และส่งเสริมการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ตลอดเดือนมิถุนายน
รวมถึงการพัฒนาสวัสดิการของพนักงานที่มีความหลากหลายของกรุงเทพมหานคร บริการด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร คลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย (BKK Prde Cinic) เพื่อพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่นำอยู่สำหรับทุกเพศตามนโยบายความหลากหลายของกรุงเทพมหานคร
ขณะที่นายอะบิจิต กุลคาลนิ ผู้อำนวยการธุรกิจไอศกรีมประเทศไทย มาเลเชีย สิงคโปร์ เวียดนาม และกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ในปัจจุบันมีภาพของ LGBTQIAN+ ที่ถูกนำเสนออยู่บนสื่อมีข้อจำกัดในการแสดงออกอยู่ คอร์นเนตโตจึงเป็นอีกหนึ่งเสียงสำคัญที่อยากสนับสนุนให้ทุกคนกล้าที่จะแซร์ความรักในหลากหลายมุมมอง ผ่านแคมเปญ “No Wrong Way to Start” พร้อมด้วยไอศกรีมรสชาติใหม่ล่าสุด “Cornetto Pride” เป็นสื่อกลางในการชวนทุกคนมาร่วมเฉลิมฉลองความรักที่ไม่จำกัดรูปแบบในเดือน Pride Month ไปด้วยกัน
ในส่วนของผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการด้านเทคโนโลยีอย่าง Trinket (ทริงเก็ต) แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยุคใหม่ หวังว่าจะเป็นศูนย์กลางของการสร้างความทรงจำของทุกคนในงานบางกอกไพรด์ 2023 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมทุกคนสามารถแสดงให้โลกเห็นและยืนยันว่าพวกเขาเคยเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง ณ เวลาและที่แห่งนี้ และพวกเขาสามารถพกพาสมบัติแห่งความทรงจำเหล่านี้ติดตัวไปในรูปแบบของ Trinket
กิจกรรมบางกอกไพรด์ 2023
สำหรับกิจกรรมภายในงานบางกอกไพรด์ 2023 มีการเดินขบวนพาเหรด 6 ขบวน พบทูตนฤมิตไพรด์ เป็นตัวแทนในการสื่อสาร และกระบอกเสียงของชาวสีรุ้ง นำขบวนพาเหรดสุดสร้างสรรค์จากแนวคิด “สุขภาวะของผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+ well-being)” การมีสุขภาวะที่ดีสำคัญต่อคุณภาพชีวิต
โดยมีขบวนเครือข่ายภาคประชาสังคม นักกิจกรรม และองค์กรชุมชนเพศหลากหลาย, ขบวนแฟชั่น Pride โดยมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 77 จังหวัด, ขบวนมิสยูนิเวิร์ส, ขบวน Drag Queen, ขบวนเยาวชน, ขบวนนักศึกษา, ขบวนพรรคการเมืองและสถานทูต, ขบวนสัตว์เลี้ยง, ขบวนสเก็ตบอร์ด และโรลเลอร์สเก็ต เข้าร่วมงานและเปิดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมขชบวนได้สื่อสาร เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้คุณภาพชีวิต LGBTQIAN+ ไทยให้ดีขึ้น
พร้อมนำแนวเพลงต่าง ๆ มาสร้างสรรค์กับขบวนพาเหรดด้วยความสนุกสนานและปลอดภัย ประกอบด้วย
ขบวนที่ 1 Community (ชุมชน) : บอกเล่าถึง Beyond Gender Binary นำเสนอความต้องการด้านสิทธิการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศที่รวมไปถึงกลุ่ม Intersex Trans แล: Non-binary ของชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย โดยมีการนำเพลง POP เข้ามาสร้างสีสันในขบวน
ขบวนที่ 2 Purpose (เจตน์จำนง) : นำแนวเพลง HIPHOP RAP มาครีเอตในขบวนและบอกเล่าถึง My Body my Choice เพื่อต้องการรณรงค์ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี เพื่อคืนสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพให้กับพนักงานบริการและ Sex creator รวมถึงการสนับสนุนเซ็กซ์ทอย (sexual wellness product) ให้ถูกกฎหมาย สนับสนุนการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และ Consent ในโรงเรียน และณรงค์สิทธิในเนื้อตัวร่างกายเพื่อยุติการข่มขืนและความรุนแรงในครอบครัว
ขบวนที่ 3 Relationship (ความสัมพันธ์) : เพิ่มสีสันด้วยแนวเพลงหมอลำ บอกเล่าเรื่อง Chosen Family โดยแนวคิดหลักของขบวนนี้คือความสัมพันธ์ โดยต้องการรณรงค์ให้สังคมและครอบครัวเปิดกว้างให้กับความหลากหลายของความสัมพันธ์ เพื่อนำไปสู่การรับรองสิทธิการสร้างครอบครัวในกฎหมายสมรสเท่าเทียม
ขบวนที่ 4 Environment (สิ่งแวดล้อม) : บอกเล่าถึง Peace & Earth ที่ต้องการรณรงค์เพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิของโลกและทรัพยากรธรรมชาติเพื่ออนาคตที่เท่าเทียมและเป็นธรรมสำหรับทุกคน ทุกเพศ โดยนำเพลงแจ๊ส บลู มาสร้างสรรค์ร่วมกับขบวนพาเหรด
ขบวนที่ 5 Healh (สุขภาพ) : สะท้อนไปยังการเข้าถึงสิทธิทางการแพทย์อย่างเท่าเทียม (Equal Rights to Health) ต้องการรณรงค์สิทธิในการเข้าถึงการบริการทางการแพทย์สำหรับทุกเพศ และเรียกร้องสวัสดิการการยืนยันเพศ (gender-affirming care) สำหรับบุคคลข้ามเพศ โดยนำเสนอผ่านแนวเพลง K-POP, T-POP และ J-POP
ขบวนที่ 6 Security (ความปลอดภัย) : มาพร้อมแนวเพลงร็อกที่จะบอกเล่าถึง I’m Home โดยมีแนวคิดหลักของขบวนเพื่อการยืนยันถึงสิทธิในการที่มีความปลอดภัยในชีวิตของ LGBTQIAN+ ผ่านการสนับสนุนและอำนวยความสงบปลอดภัยจากทุกภาคส่วน รวมถึงเสรีภาพในการแสวงหาความสงบสุขทางจิตวิญญาณของแต่ละบุคคล และรณรงค์ให้มีการเปิดกว้างทางศาสนาสำหรับทุกเพศ