
ส.อ.ท. รับห่วงน้ำท่วมกระทบราคาสินค้า-เอลนีโญกระทบอีอีซี เร่งรัฐบาลแก้ปัญหาระยะสั้น-ยาว พร้อมวางแผนแก้ปัญหาระยะยาวผ่าน MOU การบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ 3 องค์กร
วันที่ 2 ตุลาคม 2566 นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สำหรับการมีน้ำในปีนี้ค่อนข้างมากในภาคเหนือ ถ้าท่วมไม่นานก็เสียหายน้อย แต่ถ้าท่วมแล้วน้ำแช่ขังก็อาจทำให้พืชผลทางการเกษตร ทรัพย์สินของประชาชนรวมถึงภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและภาคโลจิสติกส์ได้รับความเสียหายจนทำให้ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เข้าบัญชีวันนี้ 5 จังหวัด
- วิธีเช็กเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท chongkho.inbaac.com
- เช็กเงื่อนไขกู้ “ออมสิน” ปลดหนี้นอกระบบ คุณสมบัติผู้กู้ต้องมีอะไรบ้าง ?
ดังนั้นแม้ภาครัฐเองต้องการที่จะช่วยประชาชนในการลดค่าครองชีพ แต่ก็เกรงว่าหากน้ำท่วมมากจนภาคเกษตรเสียหายก็อาจทำให้ขาดแคนสินค้าพวกอาหารการกินกระทบทำให้ราคาสินค้าทุกอย่างก็แพงขึ้นซึ่งอาจจะสวนทางกันกับนโยบายลดราคาสินค้า ซึ่งภาครัฐก็ควรจะรีบแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวที่กำลังจะเกิดขึ้น
โดยภาคเอกชนอย่างสภาอุตสาหกรรมร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ได้ร่วมลงนามความร่วมมือ “การบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่” เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศให้เกิดเสถียรภาพและมีความมั่นคงต่อความต้องการใช้น้ำในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเราก็อยากให้ภาครัฐมาร่วมด้วยเพื่อสร้างให้เกิดเป็นแพลตฟอร์มระดับชาติขึ้น
นอกจากนี้เพื่อรับมือกับเอลนีโญ สถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมของสภาอุตสาหกรรมได้สำรวจพื้นที่และรวบรวมข้อมูลการใช้น้ำในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อเก็บข้อมูลความต้องการใช้น้ำในอีอีซี
ประกอบกับที่ปีนี้มีการย้ายฐานการผลิตจำนวนมากเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนทำให้อีอีซีเป็นอีกจุดหมายหนึ่งที่นักลงทุนสนใจจะมาลงทุนทำให้คาดว่าปีนี้อาจจะต้องสำรองน้ำเพิ่มขึ้นอีก 10-20%
“ผมคิดว่าในแต่ละปีจึงต้องมีการสำรองน้ำเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 20% ในอีอีซี โดยข้อมูลความต้องการใช้น้ำนี้เก็บมาตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2566 ที่เราพยายามจะรีบเร่งให้เสร็จทันก่อนปี 2567 เพื่อให้เรามีข้อมูลในอีอีซีที่สมบูรณ์เพื่อเชื่อมต่อกับการเซ็น MOU ครั้งนี้และเตรียมเก็บข้อมูลทุกเขตอุตสาหกรรมเพื่อรวบรวมความต้องการใช้น้ำของประเทศไทย”
โดยอุตสาหกรรมที่น่าเป็นห่วงคืออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมเกษตรเช่นการปลูกพืชผักอุตสาหกรรมอาหารอาหารแปรรูปซึ่งถือเป็นจุดแข็งของการส่งออกไทยเพราะประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับ 11 ของโลก รวมถึงได้อานิสงส์ในช่วงสงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้การส่งออกเพิ่มสูงขึ้น
แต่ภัยแล้งนี้จะมากระทบกับจุดแข็งของเราในเครื่องยนต์การส่งออก ซึ่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ BCG model ใน 8 อุตสาหกรรมนำร่องของ ส.อ.ท. เกิดขึ้นได้จริง
โดยเรามีโครงการต้นแบบที่ชื่อว่า smart agriculture industry นำร่องการบริหารจัดการน้ำในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งร่วมมือกับทาง สสน.และมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ
และที่สำคัญกว่านั้นด้วยนโยบาย Circular economy เราจะต้องให้การให้ความสำคัญในการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าที่นำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งเพื่อใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด และเน้นในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ปล่อยมลพิษทางน้ำออกไปเพื่อให้อยู่กับชุมชนได้อย่างอย่างยังยืน