“นพพร” โต้ “ณพ ณรงค์เดช” 3 ปมร้อนมหากาพย์หุ้นวินด์

นพพร ศุภพิพัฒน์
นพพร ศุภพิพัฒน์

หลังจากที่คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา พร้อมด้วย นายณพ ณรงค์เดช จัดแถลงข่าวเปิดเผยคำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับหุ้นวินด์

ที่ประกอบไปด้วยคดีฮ่องกง, คดีการใช้เอกสารปลอม, คดีเรียกคืนทรัพย์สิน, คดีผิดสัญญาเรียกทรัพย์คืน และคดีปลอมลายเซ็น ซึ่งมีทั้งโจทถ์ขอถอนฟ้อง และศาลยกฟ้อง

เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในการดำเนินการเกี่ยวกับหุ้นวินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ ด้วยการย้ำว่าศาลได้ยกฟ้องทุกคดี

ในมุมกลับกัน นายนพพร ศุภพิพัฒน์ คู่กรณี อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง ก็ได้ส่งจดหมายขอชี้แจงข้อเท็จจริง 3 ประเด็น ได้แก่

1) การผิดนัดชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยค่าหุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ รวม 800 ล้านเหรียญ 2) เรื่องโกงเจ้าหนี้ศาลอังกฤษ และ 3) ใครคือผู้ซื้อหุ้นบริษัท วินด์ที่แท้จริง

ทั้ง 3 ประเด็นของ นายนพพร จึงถือเป็นข้อโต้แย้งในกรณีนี้โดยตรง

นพพรร่ายยาว ตามที่นายณพ ณรงค์เดช คุณหญิงกอแก้ว บุญยะจินดา และนายวีระวงศ์ จิตต์มิตรภาพ ร่วมกันแถลงข่าวใน ประเด็น พลิกปมคดีครอบครัว ณพ ณรงค์เดช เปิดใจครั้งแรก หลังทนเงียบตลอดหลายปี พร้อมเปิดข้อมูล สําคัญหลังศาลตัดสินชนะคดีรวด” และ “คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา เปิดข้อเท็จจริง ศาลยกฟ้องทุกคดี! เป็นผู้บริสุทธิ์คดีปลอมลายเซ็นและการปลอมเอกสาร เป็นผู้ลงทุนหุ้นวินด์ที่แท้จริง” เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

ผม นายนพพร ศุภพิพัฒน์ ในฐานะคู่กรณี เห็นว่าการแถลงข่าวมีสาระสําคัญที่อาจสร้างความเข้าใจผิดให้ผู้ที่ ติดตามข่าวสาร หรือประชาชนโดยทั่วไป เพื่อให้คนที่สนใจติดตามเรื่องนี้เข้าใจเรื่องราวเห็นภาพทั้งหมดจึง อยากชี้แจงข้อเท็จจริงใน 3 ประเด็นดังต่อไปนี้

ประเด็นแรก บริษัทของนายณพ ณรงค์เดช ผิดนัดชําระหนี้พร้อมดอกเบี้ยค่าหุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จํากัด มูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาทให้แก่บริษัทฮ่องกง 3 แห่ง ที่ผมเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่บริษัทซิมโฟนี พาร์ทเนอร์ส ลิมิเต็ด, บริษัทเน็กซ์ โกลบอล อินเวสต์เมนท์ส ลิมิเต็ด และบริษัท ไดนามิค ลิ้งค์ เวนเจอร์ส ลิมิเต็ด

คดีความระหว่างผมกับนายณพ ณรงค์เดช และพวก มีประเด็นหลักคือ การที่บริษัทของนายณพ ณรงค์เดชมีข้อผูกพันตามสัญญาซื้อขายหุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จํากัด (บริษัท วินด์ฯ) จํานวน 700 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ผิดสัญญา

ที่ผ่านมา นายณพ ณรงค์เดช ชําระเงินค่าหุ้นทั้งหมดเพียงแค่ 175 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแบ่งออกเป็น 2 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ในปี 2558 จํานวน 90 ล้านเหรียญสหรัฐโดยใช้เงินกู้ยืมจากบุคคลภายนอก

ครั้งที่ 2 ในปี 2562 จํานวน 85 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้มาจากการขายหุ้นบริษัท วินด์ฯ บางส่วนให้นายประเดช กิตติอิสรานนท้

โดยการชําาระครั้งที่ 2 เป็นการชําระหลังจากการผิดนัดชําระค่าหุ้นเป็นเวลาเกือบ 4 ปี และไม่เคยชําระค่า หุ้นส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยคงค้าง ตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย จึงเป็นเหตุให้เป็นคดีพิพาทกันที่อนุญาโตตุลาการ รวมทั้งหมด 3 คดี

คดีที่ 1 คือ เรื่องการค้างชําระหนี้ค่าหุ้นงวดแรกตามสัญญาซื้อขาย หลังจากได้รับโอนหุ้นแล้วเสร็จในปี 2558 โดยได้เสนอข้อพิพาทในเดือนมกราคม 2559 อนุญาโตตุลาการมีคําตัดสินชี้ขาดแล้วในวันที่ 22 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา ให้บริษัทของนายณพ ณรงค์เดช ชําระเงินจํานวน 85 ล้านเหรียญสหรัฐพร้อม ดอกเบี้ย ซึ่งนายณพไม่ได้ร้องขอให้เพิกถอนคําชี้ขาดแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันก็ยังเพิกเฉยไม่ปฏิบัติ
ตามคําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

แต่สุดท้ายในปี 2562 ก็ต้องนําเงินจํานวน 85 ล้านเหรียญสหรัฐมาชําระให้แก่เจ้าหนี้ เพราะในเวลานั้น บริษัทในเครือวินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง ทําเรื่องขอสินเชื่อจากธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นจํานวนประมาณ 30,000 ล้านบาท และธนาคารตั้งเงื่อนไขการให้สินเชื่อโดยกําหนดให้ชําระเงินค่าหุ้นคงค้างจํานวนดังกล่าวให้แล้วเสร็จ

แต่เนื่องจากการชําระค่าหุ้นส่วนนี้ล่าช้ากว่ากําหนดไปเป็นระยะเวลาเกือบ 4 ปี มูลค่าหนี้จากเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา ณ วันที่ชําระจึงเพิ่มขึ้นเป็น 142 ล้านเหรียญ ดังนั้นเมื่อหักเงินส่วนที่ได้ชําระ มาแล้ว ยังคงเหลือเงินค้างชําระอยู่จํานวน 57 ล้านเหรียญ และหากรวมดอกเบี้ยจนถึงปัจจุบันจะเป็น เงินประมาณ 80 ล้านเหรียญ ซึ่งคดีนี้ปัจจุบันถึงที่สุดแล้ว และยังคงไม่มีการชําระเงินคงค้างส่วนนี้แต่ อย่างใด

คดีที่ 2 คือการเรียกให้ชําระค่าหุ้นส่วนที่เหลือจํานวน 525 ล้านเหรียญสหรัฐ คดีนี้อนุญาโตตุลาการมีคํา ชี้ขาดในเดือนมิถุนายน 2562 ให้บริษัทของนายณพชําระเงินจํานวน 525 ล้านเหรียญสหรัฐดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ย ซึ่งต่อมานายณพไปอุทธรณ์ที่ศาลสูงสิงคโปร์ให้เพิกถอนคําชี้ขาด จนในที่สุดศาลสูง สิงคโปร์เพิกถอนคําชี้ขาดดังกล่าวบางส่วน หากสื่อมวลชนและท่านที่ติดตามข่าวนี้จําได้ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 นายณพ ณรงค์เดช ได้ออกมาแถลงต่อสื่อมวลชนว่า ชนะคดีอนุญาโตตุลาการ จบทุก อย่าง จบทุกเรื่อง และไม่มีหนี้ค่าหุ้นตามสัญญาที่ต้องจ่ายให้แก่นายนพพรอีกต่อไป อันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วศาลสูงสิงคโปร์ไม่เคยพิพากษาว่าบริษัทของนายณพไม่ได้เป็นหนี้ เพียงตัดสินว่ามี ข้อผิดพลาดทางเทคนิคจากการที่คณะอนุญาโตตุลาการไม่ได้กําหนดเงื่อนไขเรื่องเขตอํานาจของตน จึง เพิกถอนค่า ขาด แต่ไม่ได้ตัดสิทธิในการเสนอข้อพิพาทใหม่

คดีที่ 3 บริษัท ฮ่องกงทั้ง 3 แห่ง จึงเสนอข้อพิพาทแก่อนุญาโตตุลาการเพื่อขอให้ชี้ขาดให้บริษัทของนายณพชําระเงินในส่วนของค่าหุ้นส่วนที่เหลือ 525 ล้านเหรียญสหรัฐดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอีกครั้งเมื่อ วันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ในคดีนี้นายณพโต้แย้ง โดยอ้างเหตุต่าง ๆ ในการไม่จ่ายเงินค่าหุ้น แต่อนุญาโตตุลาการไม่เห็นด้วยกับข้อโต้แย้งของนายณพ และได้มีคําตัดสินชี้ขาดในเดือนมีนาคม 2566 ให้บริษัทของนายณพชําระเงิน 525 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมดอกเบี้ย ซึ่งหากนับถึงวันนี้ มูลค่าหนี้ ดังกล่าวรวมเป็นเงินจํานวนกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยที่นายณพไม่ได้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนคํา ขาด คดีจึงถึงที่สุดแล้ว

ณ ตอนนี้จึงเป็นที่ยุติแล้วว่าบริษัทของนายณพ เป็นหนี้ค้างชําระเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยให้แก่บริษัท ฮ่องกงทั้ง 3 แห่งจากผลของคําชี้ขาดอนุญาโตตุลาการทั้งสองคดี รวมเป็นจํานวนเงินประมาณ 900 ล้านเหรียญสหรัฐ อัน เป็นตัวเลขที่ศาลอังกฤษนําไปใช้เป็นฐานในการกําหนดค่าเสียหาย (อ่านคําพิพากษาฉบับเต็มที่ https://www.balll.org/ew/cases/EWHC/Comm/2023/1988.pdf) นายณพจงใจไม่พูดถึงเรื่องที่แพ้คดี อนุญาโตตุลาการคดีที่สามในการแถลงข่าวของนายณพเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา ทั้งที่คดีนี้คือ ประเด็นหลักของการพิพาท และคดีความทั้งหมดที่เกิดขึ้น

ประเด็นที่สอง เรื่องโกงเจ้าหนี้

ศาลอังกฤษใช้เวลาดําเนินการและวินิจฉัยคดีนี้อย่างละเอียดถี่ถ้วนนานกว่า 4 ปี มีทนายความที่ทําคดีนี้ของทั้ง โจทก์และจําเลยรวมกันประมาณ 50-60 คน มีการตรวจทานเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอีเมล์ ข้อความใน โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ นับแสนแผ่น เอกสารชิ้นสําคัญได้รับการตรวจสอบ Metadas (ข้อมูลรายละเอียดที่อธิบาย ถึงความเป็นมาของข้อมูล อาทิ ชื่อผู้สร้างเอกสาร, วันและเวลาในการสร้างเอกสาร ทําให้ทราบว่าเอกสาร ทําย้อนหลังหรือไม่) นับเป็นคดีที่ใหญ่ที่สุดของเกาะอังกฤษในรอบปีหรืออาจจะหลายปีที่ผ่านมา เป็นคดีสําคัญที่ศาลต้องใช้การพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ศาลสูงของอังกฤษย่อมมอบหมายคดีนี้ให้ผู้พิพากษามือหนึ่ง

ถึงแม้การพิจารณาคดีจะใช้กฎหมายไทยเป็นหลัก และศาลอังกฤษไม่ได้มีความเชี่ยวชาญกฎหมายไทย แต่ถือ เป็นเรื่องปกติที่ศาลอังกฤษพิจารณาคดี โดยใช้กฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งศาลจะพิจารณาข้อกฎหมายโดยใช้ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญกฎหมายไทย ในกรณีนี้ได้แก่ รศ.ดร.มุนิน พงศาปาล อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ศจ.พิเศษ สุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล อดีตประธานกรรมการอํานวยการสํานัก ฝึกอบรมวิชาว่าความ

ฝ่ายนายณพและพวกก็ได้เข้าสู้คดีที่อังกฤษอย่างเต็มที่ โดยนายณพและจําเลยเกือบทั้งหมดได้เดินทางมาเบิก ความที่ศาลอังกฤษด้วยตนเอง ตัวผมเองถูกถามค้านจากทนายจําเลยต่าง ๆ นานเกือบ 7 วัน

จากข้อเท็จจริงข้างต้น จึงสามารถมั่นใจได้ว่าคําตัดสินของศาลอังกฤษในคดีนี้ มีกระบวนการพิจารณาคดีที่ได้รับ ความน่าเชื่อถือสูงในระดับสากล

ในกรณีการยกฟ้องนายณพ ณรงค์เดชและพวก จากศาลแขวงพระนครใต้เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลว่าขาดเจตนาพิเศษเพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ เนื่องจากศาลเห็นว่ามีเหตุจําเป็นในการขายหุ้นบริษัท วินด์ฯ ออกไป ไม่เช่นนั้นทางธนาคารไทยพาณิชย์จะไม่ปล่อยเงินกู้

โจกท์เองก็ไม่ได้เห็นว่าการขายหุ้นออกไปนั้นต้องเป็นการโกงเจ้าหนี้เสมอไป หากนายณพขายหุ้นดังกล่าวอย่าง โปร่งใสให้กับบุคคลภายนอกที่เสนอราคาสูงสุด หรือเท่ากับราคาทุน 700 ล้านเหรียญและนําเงินที่ได้รับมาชําระ เจ้าหนี้ก็อาจถือว่าสุจริต แต่นายณพมิได้ทําเช่นนั้น

ศาลอังกฤษได้พิจารณาตามพยานเอกสารดังกล่าวเกี่ยวกับการโอนหุ้นบริษัท วินด์ฯ โดยศาลเห็นว่ามีการขาย หุ้นบริษัท วินด์ฯ มูลค่ากว่าหลายหมื่นล้านบาท จากบริษัท เคพีเอ็น เอนเนอยีฯ ไปยังนายเกษมในราคาเพียง 2,400 ล้านบาท และไม่ได้มีการจ่ายเงินกันจริง แต่เป็นการแบ่งจ่ายหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละ 1-300 ล้านบาท และทุก ครั้งเงินดังกล่าวอยู่ในบัญชีไม่ทันข้ามวันก็จะถูกสั่งจ่ายกลับไปยังกลุ่มของนายณพ

โดยที่เงินไม่ได้มาจากนายเกษมแต่เป็นบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีเพียงเงินจํานวน 300 ล้านบาทที่มาจาก ครอบครัวคุณหญิงกอแก้ว แต่พอเข้าบัญชีแล้วก็ถูกสั่งจ่ายกลับไปยังกลุ่มของนายณพ อีกทั้งเอกสาร ประกอบการซื้อขายต่าง ๆ อาทิ รายงานการประชุมของบริษัท เคพีเอ็น เอนเนอยีฯ ที่อนุมัติการขายหุ้นครั้งนี้ และรายงานการประเมินราคาหุ้นที่จัดทําขึ้นเพื่อประกอบการโอนหุ้นดังกล่าวก็ถูกทําขึ้นย้อนหลัง

ศาลจึงพิพากษาว่าการกระทําดังกล่าวเป็นการฉ้อฉลและถือเป้นการโกงเจ้าหนี้ คําพิพากษาศาล ยังชี้ให้เห็นถึง พฤติกรรมของนายณพ และผู้ที่แถลงข่าวในวันที่ 2 พฤศจิกายน ร่วมกับนายณพในย่อหน้าที่ 905 ของคําพิพากษาว่า

“การแสวงหาความจริงในคดีนี้จําเป็นที่จะต้องพึ่งพยานเอกสาร เนื่องจากเป็นที่ชัดเจนว่าพยานบุคคลฝั่งจําเลย หลายคนโกหกอย่างต่อเนื่องต่อศาล ลักษณะและขอบเขตของการโกหกของคนเหล่านี้หลายครั้งน่าใจหาย เช่นเดียวกับท่าทีผ่อนคลายของคนเหล่านี้ต่อการผลิตเอกสารเท็จเพื่อหลอกลวงและทําให้ผู้อื่นเข้าใจผิด เป็นที่ชัดเจนว่าการพูดความจริงเป็นสิ่งแปลกปลอมสําหรับจําเลยบางคน โดยเฉพาะนายณพ ณรงค์เดช ผู้ซึ่งดูเหมือน ไม่สามารถจะให้การอย่างตรงไปตรงมาได้เลยในแทบจะทุกเรื่อง และพร้อมที่จะพูดอะไรก็ได้ถ้าเขาคิดว่านั่นคือ สิ่งที่ทําให้เขาได้ประโยชน์ แม้เป็นเรื่องเท็จ”

“ส่วนคุณวีระวงศ์ เป็นผู้ร่างเอกสารปลอมมากมายในฐานะทนายความของนายณพ

“คุณหญิงกอแก้วผู้มีบทบาทเป็นหุ่นเชิดของลูกเขย ได้ให้การสนับสนุนนายณพโดยไม่สนใจว่าจะเป็นความเท็จ” ท้ายที่สุดหลังศาลอังกฤษมีคําพิพากษา นายณพ คุณหญิงกอแก้วและนายวีระวงศ์ก็ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ใดๆ อีก คดีความที่ศาลอังกฤษจึงถึงที่สุดแล้ว หลังจากนี้บริษัทฮ่องกงทั้ง 3 แห่งก็จะยื่นอุทธรณ์ในส่วนคดีโกงเจ้าหนี้ที่ประเทศไทยต่อไป

ประเด็นที่สาม ใครคือผู้ซื้อหุ้นบริษัท วินด์ฯ ที่แท้จริง

จุดเริ่มต้นของเรื่องทั้งหมดคือการที่นายณพได้ตกลงที่จะเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท วินด์ฯ แทนผม (นอมินี) โดยอ้างว่า ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอํานาจ จึงสามารถที่จะดูแลกิจการต่าง ๆ ของบริษัท วินด์ฯ ที่ยังคงดําเนินการอยู่ใน ประเทศไทยได้ จนนําไปสู่การตกลงว่าจะทําสัญญาขึ้นมาสองชุด คือ สัญญาซื้อขายหุ้น และสัญญาซื้อหุ้นคืน แต่เมื่อได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นในเดือนมิถุนายน 2558 และโอนหุ้นแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2558 นายณพปฏิเสธที่จะลงนามในสัญญาซื้อหุ้นคืนตามที่ตกลงกันไว้ในตอนแรก ซึ่งในเรื่องประเด็นนี้ศาลอังกฤษก็ ได้มีคําพิพากษาว่านายณพเคยตกลงที่จะเป็นนอมินีผมจริงแต่ผิดสัญญา (ดูได้จากคําพิพากษาตามลิงก์ด้านบน)

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2558 นายณพเดินทางมาพบผมที่ปารีส ผมจึงแจ้งให้นายณพโอนหุ้นคืนถ้า หากไม่ต้องการจะลงนามในสัญญาซื้อหุ้นคืน แต่นายณพปฏิเสธไม่ยอมคืนโดยอ้างผู้มีอํานาจท่านเดิม แต่ยืนยัน ว่าจะปฏิตามเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายหุ้น และขอเวลาในการหาเงินชําระค่าหุ้นงวดแรกตามสัญญาจํานวน 175 ล้านเหรียญ

ผมให้เวลานายณพเพิ่มอีก 2 เดือนในการหาเงินมาชําระค่าหุ้นตามสัญญา และกําชับว่าหากผิดนัดก็จะ ดําเนินการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการทันที แต่เวลาล่วงเลยมาจนถึงเดือนมกราคม 2559 นายณพกลับ ชําระเงินค่าหุ้นมาเป็นจํานวนเพียง 90 ล้านเหรียญสหรัฐ และพบว่าเงินที่นํามาชําระค่าหุ้นนั้น ส่วนใหญ่เป็น เงินกู้จากการออกตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้น และบางส่วนนํามาจากบริษัท วินด์ฯ นายณพไม่ได้ใช้เงินของตนเอง เลยแม้แต่บาทเดียว ผมจึงดําเนินการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการในเดือนเดียวกัน

ต่อมาในช่วงปี 2559-2560 นายณพไม่สามารถชําระเงินคืนเจ้าหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้นได้ จึงร้องขอ ครอบครัว ณรงค์เดชให้นําที่ดินและทรัพย์สินไปค้ำประกันกับเจ้าหนี้รายใหม่เพื่อกู้เงินจํานวนประมาณ 1,400 ล้านบาทมาคืนเจ้าหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน

และเมื่อหนี้เงินกู้ก้อนใหม่ถึงกําหนดชําระ นายณพก็ยังคงไม่สามารถชําระหนี้ดังกล่าวได้อีก จึงทําให้เจ้าหนี้ จําเป็นต้องบังคับชําระหนี้จากทรัพย์สินของครอบครัวณรงค์เดช และทําให้ครอบครัวณรงค์เดช ต้องหาเงินไปชดใช้หนีในส่วนนี้แทนนายณพ

ต่อมาในปี 2561 ผมพบว่าหุ้นบริษัท วินด์ฯ ที่รับโอนไปในนามบริษัทของนายณพ ถูกย้ายโอนต่อไปยังบริษัท โกลเด้น มิวสิค ซึ่งมีนายเกษม ณรงค์เดช เป็นเจ้าของ ทําให้บริษัท ฮ่องกงทั้ง 3 แห่ง ในฐานะเจ้าหนี้ดําเนินการ ร้องต่อศาลฮ่องกงให้ทําการคุ้มครองหุ้นบริษัท วินด์ฯ ชั่วคราว โดยห้ามไม่ให้จําหน่ายจ่ายโอนหุ้นใด ๆ

นายเกษมเมื่อทราบเรื่องก็ทําหนังสือมาแจ้งว่าจะให้ความร่วมมือ แต่เมื่อนายณพเห็นว่านายเกษมอาจโอนหุ้น บริษัท วินด์ฯ คืนให้ 3 บริษัทฮ่องกงผู้เป็นเจ้าหนี้ นายณพจึงได้ดําเนินการทําให้นายเกษมพันจากการเป็นผู้ถือ หุ้นและผู้มีอํานาจควบคุมในบริษัท โกลเด้น มิวสิค โดยใช้เอกสารต่าง ๆ อาทิ สัญญาแต่งตั้งตัวแทนที่ระบุว่า นายเกษมเป็นตัวแทนคุณหญิงกอแก้วและหนังสือโอนหุ้นของบริษัทโกลเด้น มิวสิค จากนายเกษม ไปยังคุณหญิงกอแก้ว

ซึ่งศาลอังกฤษพิพากษาว่าเอกสารเหล่านี้ถูกทําขึ้นย้อนหลังและเป็นเอกสารเท็จ ส่วนคุณหญิงกอแก้วก็เป็น เพียงแค่หุ่นเชิดของนายณพเท่านั้น ความจริงแล้วคุณหญิงกอแก้วไม่ได้เป็นผู้ลงทุนซื้อหุ้นบริษัท วินด์ฯ และมิได้ เป็นเจ้าของที่แท้จริงของบริษัท โกลเด้น มิวสิค หรือหุ้นบริษัท วินด์ฯ แต่อย่างใด ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อเท็จจริงว่า เจ้าหนี้ทั้ง 3 บริษัทฮ่องกง ไม่เคยเกี่ยวข้องและไม่เคยได้รับเงินชําระค่าหุ้นจากคุณหญิงกอแก้ว

ผมจําเป็นต้องออกมาชี้แจงข้อเท็จจริง พร้อมหลักฐานคําพิพากษาของศาล เพื่อโต้แย้งคําแถลงของนายณพและ คุณหญิงกอแก้ว และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนต่อสาธารณะชน โดยเฉพาะต่อเจ้าหนี้รายอื่น ๆ ของทั้ง สอง ผมเชื่อว่าท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ก็คงตัดสินใจได้แล้วว่า นายณพและคุณหญิงกอแก้วเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่

ขอแสดงความนับถือ
นายนพพร ศุภพิพัฒน์