รื้อบทบาท กนอ. เร่งฟื้นการลงทุนให้เวลา 2 ปี เพิ่มสัดส่วนให้ได้ 27% ของ GDP ประเทศ

รื้อบทบาท กนอ. เร่งฟื้นการลงทุนให้เวลา 2 ปี

บอร์ดการนิคมอุตสาหกรรม รื้อบทบาท กนอ. เป็นผู้ส่งเสริมไม่ใช่ควบคุม ต้องเพิ่มสัดส่วนการลงทุนให้ได้ 27% ของ GDP ภายในปี 2569 ด้านนิคมอุตสาหกรรมต้องสนับสนุนพลังงานสะอาดใช้เกณฑ์เรื่องของ SDGs ดึงการลงทุน ปีทอง 2567 ตั้งเป้ายอดขายที่ดิน 120 ไร่ จากเอกชนอีก 3,000 ไร่

วันที่ 15 มกราคม 2567 นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษ ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยกับ “พิมพ์ภัทรา” ในงาน The Journey of Sustainable Partnership 2024 ว่า นโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย จะต้องประกอบไปด้วย 4 มิติ คือความสามารถในการแข่งขัน การได้รับการยอมรับจากชุมชน และสังคม

การตอบโจทย์กติกาสากลด้านสิ่งแวดล้อม และการกระจายรายได้สู่ชุมชน ที่จะมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมชีวภาพ

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

เพื่อให้ไทยมีศักยภาพและสามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาค เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน Value Chain ของโลก รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอุตสาหกรรมเหล่านี้ นอกจากนี้ต้องพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง กำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิษในพื้นที่อุตสาหกรรมให้เข้มงวดขึ้น ควบคู่กับการปรับปรุงกฎหมาย เพื่อแก้ปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ และกากของเสีย

ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมที่จะบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อ่อนไหวสูง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่จะสร้างโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ ให้กับประเทศไทย เช่น โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน (ชุมพร-ระนอง) หรือ Landbridge

“ภาพรวมการลงทุนปี 2567 แน่นอนว่าไทยยังคงมีศักยภาพจะเป็นที่สนใจของนักลงทุนสูง โดยเฉพาะกลุ่ม EV ที่อยู่ระหว่างการคุยอยู่ตอนนี้ ต่อไปเราจะเห็นเขาเข้ามาลงทุนมากกว่าแค่รถ มีแบตเตอรี่ มาเป็นคลัสเตอร์ แต่รูปแบบการให้สิทธิประโยชน์เราจะไม่ให้พ่วง เราจะยังคงให้แยกเป็นประเภทกิจการซึ่งมันจะดีกว่า และเราต้องขอบคุณทีมไทยแลนด์ที่ออกไปชักจูงนักลงทุน เราจะใช้เรื่องของพลังงานสะอาด การจัดการเรื่องขยะของเสีย ชูเป็นจุดเด่นของนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมดีกว่าตั้งเดี่ยว ๆ”

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บอร์ด กนอ.) กล่าวว่า เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจจึงกำหนดแผนฟื้นฟูการลงทุน โดยลดบทบาทการเป็นกำกับดูแล (Regulator) ของ กนอ. มาเป็นผู้ส่งเสริม (Facilitator) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน โดยแผนฟื้นฟูการลงทุนของ กนอ. ประกอบด้วย

นายยุทธศักดิ์ สุภสร
นายยุทธศักดิ์ สุภสร

1.การพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่เชิงพาณิชย์ใหม่ ๆ ให้พร้อมรับการลงทุน

2.ส่งเสริมการลงทุน โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและการตลาด เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงจัดหาแหล่งเงินทุนและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ

3.พัฒนาผู้ประกอบการด้วยการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

และ 4.สร้างความยั่งยืนโดยเน้นพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและชุมชนโดยรอบอย่างยั่งยืน ซึ่งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นหลัก

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ปี 2566 ที่ผ่านมา พบว่ามียอดขายที่ดินและให้เช่าจาก 14 นิคมอุตสาหกรรมของ กนอ. 117 ไร่ เป็นของเอกชน 6,000 ไร่ สูงกว่าเป้าหมายมากจากที่เอกชนตั้งเป้าไว้เพียง 2,000 ไร่เท่านั้น

นายวีริศ อัมระปาล

สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนมุ่งที่จะเข้ามาลงทุนในไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์ ที่ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรม EV แบตเตอรี่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่างพวกชิป ดังนั้นปี 2567 จึงตั้งเป้ายอดขายที่ดินและเช่าของ กนอ. เองไว้ที่ 120 ไร่ เป็นของเอกชน 3,000 ไร่ โดยคาดว่าจะเห็นการลงทุนจากอุตสาหกรรมขั้นสูงที่เป็นเทคโนโลยีไฮเทคเข้ามามากขึ้น อย่าง

จีน ไต้หวัน เกาหลี และเพื่อให้นิคมอุตสาหกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากนี้เกณฑ์การให้รางวัลเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) จะใช้กฎเกณฑ์เรื่องของความยั่งยืน (SDGs) และเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น ค่าการปล่อยฝุ่น