จิสด้าเปิดโครงการธีออส2 ผนึก”แอร์บัส”ปักหมุด EEC

“จิสด้า” เปิดตัว “ธีออส 2” จับคู่แอร์บัสมูลค่า 7,800 ล้านบาท แง้มพัฒนาระบบ AIP ปักหมุดพื้นที่ EEC-Sandbox โมเดล จ.น่าน ตั้งเป้าขยายพื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ออกโรงเตือนสถานการณ์น้ำปีนี้ภาคเหนือ กลาง เจอน้ำหลาก ส่วนอีสานเสี่ยงเเล้ง 

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า ได้พิจารณาให้บริษัท แอร์บัส ดีเฟน แอนด์ สเปซ เอสเอเอส เครือแอร์บัส เป็นผู้ชนะโครงการจัดทำธีออส 2

ล่าสุด ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จิสด้าอยู่ระหว่างคิดค้นและพัฒนาระบบเทคโนโลยีintelligence มาเป็นเครื่องมือช่วยบริหารจัดการ ซึ่งเป็นกลไกการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับทรัพยากรทุกด้าน โดยจะพัฒนานวัตกรรม actionable

intelligence policy platform (AIP) ขึ้น ภายใต้โครงการธีออส 2 ซึ่งโครงการนี้ จะไม่ใช่เพียงแค่เรื่องการสร้างดาวเทียม แต่เป็นการสร้างคุณค่าจากข้อมูลจากดาวเทียมของไทย และของกลุ่มดาวเทียม รวมถึงการใช้ประโยชน์จาก big data ที่เกิดขึ้นจากทุกแหล่ง ทั้งระบบ sensor นโยบายและ crowdsourcing ซึ่งจิสด้าได้ลงนามไปร่วมกับบริษัท แอร์บัส ดีเฟน แอนด์ สเปซ เอสเอเอส เครือแอร์บัส ลงทุนพร้อมเทคโนโลยี ซึ่งจะสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยระบบนี้คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในกลางปีนี้ นำร่องในพื้นที่อีอีซีและ จ.น่าน

“ธีออส 2 ที่ลงทุน 7,800 ล้านบาทจะไม่ใช่เพียงแค่สร้างดาวเทียม แต่เป็นการสร้างคุณค่าจากข้อมูลจากดาวเทียมของไทย และของกลุ่มดาวเทียม รวมถึงการใช้ประโยชน์จาก big data ที่เกิดขึ้นจากทุกแหล่ง ทั้งระบบ sensor นโยบาย และ crowdsourcing โดยจิสด้าได้ลงนามไปร่วมกับบริษัท แอร์บัส ดีเฟน แอนด์ สเปซ เอสเอเอส เครือแอร์บัส ซึ่งจะลงทุนพร้อมเทคโนโลยีที่สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี”

Advertisment

ส่วนที่เป็นสถานีรับเป็นต่างประเทศ และจะมาพัฒนา AIP ในการพัฒนาพื้นที่ EEC การวางแผนพื้นที่ EEC ต่อไปจะใช้ระบบนวัตกรรม AIP และ จ.น่าน sandbox โมเดล ซึ่ง sandbox เป็นกรอบกฎหมายพื้นที่พิเศษเพื่อลดขั้นตอนลดหลั่นข้อกฎหมาย เราจะเริ่ม 2 พื้นที่ก่อน โดยหลังจากเซ็นสัญญากับผู้ร่วมทุนโครงการทั้งหมดจากที่ได้ลงนามร่วมกับแอร์บัสจะเริ่มได้ทันที

“ถามว่าทำไมต้อง 2 พื้นที่นี้ เพราะวิธีคิด sandbox กฎหมายบางส่วนจะยืดหยุ่นได้ทุกมิติ จริง ๆ แล้วไม่ใช่แค่ จ.น่าน พื้นที่ EEC ก็ใช่ เพราะมีกฎหมายพิเศษ”

ดร.อานนท์กล่าวว่า ผลการลงพื้นที่สำรวจจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี เพื่อเตรียมความพร้อมและรายงานสถานการณ์น้ำด้วยภูมิสารสนเทศ ซึ่งจิสด้ามีหน้าที่สำรวจภาพถ่ายดาวเทียมที่ตรวจสอบข้อมูลจากพื้นที่ ผลผลิต และรายงานข้อมูลนี้ไปยังสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. ซึ่งเป็นหน่วยงานน้ำหลักในการบริหารจัดการน้ำ

สำหรับภาพรวมสถานการณ์น้ำในปีนี้ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยภาคกลางและภาคเหนือปลายฤดูอาจจะมีน้ำมาก พื้นที่ปลูกจะต้องเร่งเก็บเกี่ยว ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงอาจจะค่อนข้างรุนแรงเป็นระยะเวลา 3-4 เดือน ดังนั้น แหล่งน้ำขนาดเล็กและขนาดใหญ่ต้องมีแหล่งน้ำกักเก็บ ซึ่งจิสด้าได้รายงานข้อมูลไปแล้วว่าในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ต้องกักเก็บน้ำ เมื่อฝนทิ้งช่วงอาจจะไม่เพียงพอ ส่วนภาคใต้ปีนี้ยังไม่มีรายงานภัยพิบัติ

Advertisment

นอกจากนี้ จิสด้าได้ลงทุนระบบThailand monitoring system ซึ่งเป็นระบบที่นำเทคโนโลยีและข้อมูลภูมิสารสนเทศมาใช้ในการติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วม น้ำแล้ง ไฟป่าให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ได้ทันท่วงที โดยมีสถานีตรวจวัดอากาศและระดับน้ำ ที่ปัจจุบันมี 50 สถานี 250 แห่ง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ร่วมกับภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาเกษตรเชิงพื้นที่ สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ