สอท. ดัน Circular Economy เป็นแนวทางยั่งยืนที่สุดสำหรับภาคอุตสาหกรรม

สุพันธุ์ มงคลสุธี
สุพันธุ์ มงคลสุธี

“สุพันธุ์” ประธาน ส.อ.ท. ชี้นโยบาย Circular Economy คือแนวทางที่ภาคเอกชนต้องเดินเป็นความยั่งยืนของธุรกิจระยะยาว ตั้งเป้าปี 2570 ขยะพลาสติกทุกชิ้นต้องกลับมารีไซเคิลได้ 100% ชูโมเดลจัดการขยะพลาสติก “คลองเตย-ชุมชวังหว้า ระยอง” ต้นแบบ ดันผู้ผลิตได้บาร์โค้ดกรีนโปรดักส์ สร้างความเชื่อมั่นปั้มยอดขายเพิ่ม พร้อมชงรัฐให้สิทธิประโยชน์ผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เข้าระบบจัดซื้อจัดจ้าง

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในงาน สัมมนาภาคธุรกิจไทยในวิถียั่งยืน จัดโดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ในหัวข้อ “วิถียั่งยืน ชุบชีวิตธุรกิจ-สังคม” ว่า แนวทางและบทบาทในการขับเคลื่อนความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจไทยนั้น ส.อ.ท. มีหน่วยงานท่ีดูแลสมาชิกในเรื่องการขับเคลื่อนงานพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน, สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม และสถาบันอุตสาหกรรรมเพื่อการเกษตร โดยสนับสนุนการขับเคลื่อนการดาเนินงานตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเน้นไปที่ขยะพลาสติก ขยะอาหารและขยะอิเล็กกทรอนิกส์ ได้เริ่มจับมือกับทาง กระทรวงอุตสาหกรรมในการผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยร่วมส่งเสริมให้โรงงานสมาชิกเข้าร่วมเป็นโรงงานนำร่องในการใช้มาตรฐาน Circular Economy

เช่น การส่งเสริมโรงงานอตุสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) และพัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) โดยมีเป้าหมายการจัดการวัตถุดิบและของเสียของโรงงาน ส่งเสริมมีการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว แก้ไขปัญหาขยะพลาสติกโดยมีเป้าหมาย ให้พลาสติกทั้งหมดกลับมารีไซเคิลได้ 100% ในปี 2570 ขณะนี้ มีโมเดลการจัดการขยะพลาสตกิ 2 แห่ง คือ โมเดลเมืองที่เขตคลองเตย กรุงเทพฯ และโมเดลระยอง ชุมชวังหว้า

“โรงงานเป็นโจทย์ของสังคมมาโดยตลอด และเกษตรกรจะถูกกดด้วยราคา แต่ต่อจากนี้เราจะทำให้ภาคเกษตรกับโรงงานจบปัญหานี้ โดยเราจะรวมลูกไร่ 2 ล้านไร่ ที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างข้าวโพด ข้าว สตอเบอรรี่ เอาเทคโนโลยีโดรนเข้าไปช่วยบริหารและส่งเป็นวัตถุดิบให้กัน นี่คือสัญญาณของการปรับตัวเพื่อความยั่งยืนทางด้านอาชีพ สังคม รายได้”

นอกจากนี้ ยังพยายามผลักดันให้สินค้าที่ผลิตออกมาได้บาร์โค้ดกรีนโปรดักส์ หรือ Green Card Application จากสถาบัน GS1 เพื่อที่ผู้บริโภคสามารถเช็คได้ว่าสินค้าดังกล่าว เป็นกรีน สามารถรีไซเคิลได้ แนวทางลักษณะนี้จะทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นและซื้อของมากขึ้น ส่วนค่าธรรมเนียมการขอบาร์โค้ดกำหนดไว้หลายระดับ โดยเฉพาะ SMEs จะขึ้นทะเบียนราคาถูกมาก หรืออาจเจาะลึกไม่เก็บค่าธรรมเนียมให้บางส่วนด้วย เช่น สินค้าชุมชน ที่ขณะนี้พยายามให้ สภาอุตสาหกรรมจังหวัด เข้าไปช่วย

ดังนั้น ในภาคเอกชนเองมีแนวทางการดำเนินธุรกิจสำคัญคือการ มุ่งไปสู่ Circular Economy (เศรษฐกิจหมุนเวียน) สิ่งนี้จะสร้างความยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วน มันคือหลักการหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่การ พัฒนาที่ยั่งยืน สอดรับกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งถ้ามีการดำเนินการท่ีม่งุเน้นการใช้ประโยชน์จากของเสียตามหลักการ Circular Economy

จะเกิดผลดีกับโรงงานอุตสาหกรรม คือ ลดของเสีย การลดต้นทุนในกระบวนการผลิต สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างชุมชนและโรงงาน ชุมชนท้องถิ่น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีรายได้เพิ่มขึ้น คุณภาพส่ิงแวดล้อมของเมืองดีขึ้น และคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ดีขึ้น

โดย ส.อ.ท. จะส่งเสริมการผลิตสินค้าและบริการท่ีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco- Product) ส่งเสริม Thai Eco Product ผ่านนโยบายจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของ หน่วยงานภาครัฐ เพราะเมื่อวันท่ี 1 ก.ย. 2563 ครม. มีมติกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และจากผู้ประกอบการตามที่ได้ขึ้นบัญชีรายการพัสดุไว้กับกรมควบคุมมลพิษ

นอกจากนี้ รัฐจะต้องสนับสนุนสิทธิประโยชน์ ให้กับผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม