ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ตลาดกังวลเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย

ดอลลาร์
ภาพ : pixabay

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ตลาดยังกังวลเฟดเดินหน้าขึ้นดอกบี้ย แม้เงินเฟ้อจะชะลอตัวลง ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group ชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 68% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 2-3 พฤษภาคม 2566

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 ค่าเงินบาทเปิตตลาดเช้าวันนี้ (10/4) ที่ระดับ 34.20/23 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิตตลาดเมื่อวันศุกร์ (7/4) ที่ระดับ 34.07/09 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย สู่ระดับ 102.07 จุด หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 236,000 ตำแหน่งในเดือนมีนาคมใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 238,000 ตำแเหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.5% ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะทรงตัวที่ระดับ 3.6%

นอกจากนี้ กระทรวงแรงานสหรัฐยังได้ปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเปรับเป็นเพิ่มขึ้น 326,000 ตำแหน่ง จากเดิมรายงานว่าเพิ่มขึ้น 311,000 ตำแหน่ง

ส่งผลให้ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 68% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 2-3 พฤษภาคม และให้น้ำหนักเพียง 32% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.75-5.00%

Advertisment

ซึ่งผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตรางินเฟ้อ CPI ในเดือนมีนาคม รวมถึงรายงานการประชุมล่าสุดและถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟดในอนาคต

โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างมองว่า อัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐ อาจชะลอตัวลงต่อเนื่อง +0.3%m/m หรือ +0.4%m/m สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI (ไม่รวมผลของราคาพลังงานและอาหาร) สอดคล้องกับการปรับตัวลงของราคาพลังงานและภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อ CPI  และ Core CPI อาจยังคงอยู่ในระดับสูงราว 5.2% และ 5.6% ทำให้เรามองว่า เฟดก็ยังมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อจนแตะระดับ 5.25% ได้ตามที่คาดการณ์ไว้ใน Dot Plot ล่าสุด

สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ธนาคาร ชีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ใหม่ จากเดิมคาดว่าจะขยายตัว 3.4% เป็น 3.3% หลังจากเศรษฐกิจไทยปีก่อนขยายตัวต่ำเพียง 2.6% แม้ปีนี้น่าจะสามารถเร่งขึ้นมาได้จากการท่องเที่ยวแต่ก็ต้องเผชิญความผันผวนจากเศรษฐกิจและการเงินโลกที่กระทบการส่งออก

Advertisment

และ Kungthai COMPASS ประเมินคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนพฤษภาคมนี้ สู่ระดับ 2.0% เพื่อรับมือกับแรงกดดันด้านราคาในหมวดพื้นฐานที่ยังอยู่ในระดับสูง หากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแรงจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ยพื้นฐานเพิ่มได้อีก

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมด้านต้นทุนพลังงานในระยะข้างหน้า โดยระหว่างวันค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางเข็งค่าอยู่ในกรอบระหว่าง 34.19-34.38 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิตตลาดที่ระดับ 34.31/32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (10/4) ที่ระดับ 1.0906/10 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (7/4) ที่ระดับ 1.0912/14 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ค่าเงินยูโรแข็งค่า หลังบรรคานักลงทุนและนักวิเคราะห์อาจเริ่มคลายกังวลปัญหาระบบธนาคารยุโรปและเริ่มปรับลดมุมมองเชิงลบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซนในอีก 6 เดือนข้างหน้า สะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (Sentix Investor Confidence) เดือนเมษายน ที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ -10 จุด

อย่างไรก็ดี ภาพรวมเศรษฐกิจยูโรโซนอาจถูกกดดันโดยยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนกุมภาพันธ์ ที่อาจพลิกกลับมาหตตัว -0.8%m/m (หรือคิดเป็น -3.5%y/y) ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อสูงและต้นทุนการเงินที่สูงขึ้นตามการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของธนาคารกลางยุโรป (ECB)

และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิงดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินของทั้งสองธนาคารกลางหลัก ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0892-1.0917 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0910/13 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (10/4) ที่ระดับ 132.47/48 เยน/ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (7/4) ที่ระดับ 131.63/64 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินเยนอ่อนค่าขึ้นจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ โดยมีการเปิดเผยตัวเลข ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกุมภาพันธ์ออกมาเกินดุล อยู่ที่ 2.197T ต่ำกว่าคาดที่ระดับ 2.536T ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 131.84-132.79 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 132.05/07เยน/ดออลาร์สหรัฐ

ข้อมูลเครษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ สด๊อกสินคงคลังภาคค้าส่งเดือนกุมภาพันธ์ (10/4), ดัชนีราคาผู้บริโภคและผู้ผลิตของจีน (11/4), ยอดค้าปลีกเดือนกุมภาพันธ์ (11/4) และดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนมีนาคมจากสหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB) (11/4)

อัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -10/-19.0 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -9.8/-6.2 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ