ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า หลังตัวเลขการจ้างงานต่ำกว่าที่คาด

ดอลลาร์
ภาพ : pixabay

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า หลังตัวเลขการจ้างงานต่ำกว่าที่คาด ตลาดยังคงให้น้ำหนักกว่า 92% ว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมรอบเดือนกรฎาคมนี้ ขณะที่ปัจจัยในประเทศนักลงทุนจับตาการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 ก.ค.นี้

วันที่ 10 กรฎาคม 2566 ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2566 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (10/7) ที่ระดับ 35.10/11 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (7/7) ที่ระดับ 35.19/20 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ

โดยในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา กรมสถิติแรงงานของสหรัฐได้มีการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนมิถุนายนว่าเพิ่มขึ้น 209,000 ตำแหน่ง ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาการณ์ไว้ที่ 230,000 ตำแหน่ง และต่ำกว่าตัวเลขในเดือนพฤษภาคมที่อยู่ที่ 306,000 ตำแหน่ง

ซึ่งตัวเลขการจ้างงานที่ออกมานั้นค่อนข้างผิดไปจากที่นักลงทุนได้คาดหวังไว้เนื่องจากเมื่อวันพุธ (5/7) ทางหน่วยงาน Automatic Data Processing (ADP) ได้มีการเปิดเผยว่ามีการจ้างงานในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์และมากกว่าในเดือนพฤษภาคมถึง 2 เท่า ทำให้ตลาดคาดว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรจะสูงขึ้นตามไปด้วย

แต่หลังจากตลาดได้มีการรับข่าวตัวเลขอัตราการว่างงานในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 3.6% ซึ่งออกมาตามที่ตลาดคาดการณ์ แต่น้อยกว่าในเดือนพฤษภาคมที่อยู่ที่ 3.7% ส่วนตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้น 4.4% ในเดือนมิถุนายนเมื่อเทียบรายปี ซึ่งทรงตัวจากในเดือนพฤษภาคม และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.2%

Advertisment

แต่ทั้งนี้ตลาดยังคงให้น้ำหนักกว่า 92% ว่า FED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมรอบที่จะถึงนี้ (25-26/7) เนื่องจากเป้าหมายหลักของ FED คือการทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย ทั้งนี้ตลาดยับจับตาดูตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ เนื่องจากเป็นตัวเลขที่สำคัญเพื่อกำหนดทิศทางในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED คือดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมิถุนายนที่จะประกาศในคืนวันพุธ (12/7)

โดยคาดการณ์ว่าจะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 3.1% เมื่อเทียบรายปี จากที่เคยอยู่ที่ระดับ 4.0% ในเดือนพฤษภาคม และจะมีตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตในวันพฤหัสบดี (13/7) ซึ่งคาดการณ์ว่าจะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 0.4% เมื่อเทียบรายปี

สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ตลาดจับตาดูการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีที่จะเกิดขึ้นในวันพฤหัสบดีนี้ (13/7) โดยระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 35.07/22 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 34.14/16 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (10/7) ที่ระดับ 1.0961/62 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (7/7) ที่ระดับ 1.0880/81 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ตามการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ

Advertisment

โดยทางผู้ว่าธนาคารกลางยุโรปได้มีการคาดการณ์ว่าจะยังมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจากเงินเฟ้อของยูโรโซนยังคงค่อนข้างอยู่ในระดับสูง และทางธนาคารกลางยุโรปก็ต้องการให้เงินเฟ้อกลับเข้าสู่เป้าหมายที่ 2% ทั้งนี้รหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0946-1.0973 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0968/69 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (10/7) ที่ระดับ 142.50/51 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (7/7) ที่ระดับ 143.11/12 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ตามการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ค่าเงินเยนยังคงค่อนข้างอ่อนค่า โดยทางตลาดจับตาดูว่าทางตลาดจับตาดูว่าทางญี่ปุ่นจะมีการเข้าแทรกแซงค่าเงินหรือไม่

แต่ที้งนี้ทางกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นออกมากล่าวในทำนองที่ว่า ญี่ปุ่นจะยังไม่เข้าแทรกแซงค่าเงิน หากค่าเงินเยนยังไม่ได้อ่อนค่าอย่างรวดเร็วมาเกินไป รวมถึงหากค่าเงินเยนยังไม่แตะระดับ 150 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ คงเป็นไปได้ยากที่จะเข้าแทรกแซง

ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 142.24-143.01 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 142.37/38 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนี (CPI) ประจำเดือนมิถุนายน (11/7), ดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐ (CPI) ประจำเดือนมิถุนายน (12/7), ดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐ (PPI) ประจำเดือนมิถุนายน (13/7), การยื่นขอสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (13/7), ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐ (14/7)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -11.7/11.2 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -10.35/-9.10 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ