“เกียรตินาคินภัทร” รักษาระดับการเติบโตทั้งสินเชื่อ-สินทรัพย์ของลูกค้า พร้อมบริการที่หลากหลาย

“กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร-KKP” มองเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นบ้าง ยังคงให้น้ำหนักกับปัจจัยที่มีผลกระทบหลัก คือ รายได้ภาคการเกษตร การลงทุนภาคเอกชน และตัวเลขการส่งออก ในส่วนของผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจ ช่วงครึ่งปีแรกเติบโตได้ตามแผน ส่วนครึ่งปีหลังเชื่อว่าจะรักษา ระดับการเติบโตได้ตามเป้า ผ่านพอร์ตสินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อบรรษัท พร้อมทั้งการเพิ่มยอดสินทรัพย์ข องลูกค้าภายใต้การบริหาร (Asset under Advice) ของธุรกิจลูกค้าบุคคลที่มียอดเกิน 4 แสนล้านบาทเป็นครั้งแรก รวมถึงพัฒนาบริการที่หลากหลายในทุกมิติของ KKP

นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า “ผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ประกอบไปด้วย ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) (บล.ภัทร) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด (บลจ.ภัทร) ในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา สามารถดำเนินงานได้ตามแผนธุรกิจที่วางไว้ เริ่มต้นจากธุรกิจสินเชื่อ Credit House) ที่สินเชื่อรวมของธนาคารขยายตัวได้ดี (ครึ่งปีแรกโต 4.1% จากเป้าทั้งปีที่ตั้งไว้ 5%) เป็นผลจากการเติบโตของสินเชื่อบรรษัทที่เกิดจากการผสานความร่วมมือของสายสินเชื่อบรรษัทกับสายงานวานิชธนกิจของ บล.ภัทร ตลอดจนการทำงานอย่างเข้มข้นของเครือข่ายสาขาและสายงานช่องทางการตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า เพื่อรุกตลาดสินเชื่อรายย่อย ผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อ KK SME รถคูณ 3 ทั้งสามผลิตภัณฑ์นี้มีการขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางด้านธุรกิจตลาดทุน โดยเฉพาะในส่วนของ Private Bank ภายใต้ธุรกิจไพรเวทเวลธ์สำหรับผู้ลงทุนไทยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีสินทรัพย์ภายใต้การให้ คำแนะนำ (Asset under Advice: AuA) อยู่ที่ 403,000 ล้านบาท (ไม่รวมเงินฝาก) โดยมียอดเงินลงทุนใหม่กว่า 22,000 ล้านบาท และล่าสุด บล.ภัทร ได้เปิดบริการใหม่ คือ Global Investment Service (GIS) ซึ่งเป็นการให้บริการลงทุนต่างประเทศสำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่งสูง เพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไร้ข้อจำกัดด้านพรมแดน ซึ่งการบริการดังกล่าวนี้เทียบชั้ นไพรเวทแบงค์ระดับโลก และในส่วนของ บลจ.ภัทร มีการเติบโตที่ดีทั้งในส่วนของกองทุนรวม และกองทุนส่วนบุคคล โดยมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการของกองทุนกว่า 56,000 ล้านบาท มีกองทุนภายใต้การบริหาร 30 กองทุน (Mutual Fund 27, Property Fund 3) ส่วนกองทุนส่วนบุคคล มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้กา รบริหารกว่า 15,600 ล้านบาท เติบโตกว่า 50% เมื่อเทียบกับปลายปี 2559 นอกจากนี้ ในส่วนของ Investment Banking บล.ภัทร ได้มีโอกาสร่วมทำงานในดีลที่สำคัญๆ อาทิ การเสนอขายหุ้น IPO ของ บมจ.โกลบอลกรีนเคมิคอล และ บมจ.บี กริม เพาเวอร์ ทั้งนี้ ในครึ่งปีหลังยังมีที่อยู่ในแผนงานอีก

นอกจากนี้ การทำงานร่วมกันของธนาคารและตลาดทุนภายใต้กลุ่มธุรกิจฯมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสายสินเชื่อบรรษัทและสายตลาดการเงินของธนาคาร รวมถึงสายงานวานิชธนกิจและตลาดทุนของภัทร มีการนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ร่วมกันจนสามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มธุรกิจฯ เป็นอย่างดี”

ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของธนาคาร ให้มุมมองต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังว่าจะมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นบ้าง แต่ยังมีปัจจัยที่ต้องจับตามอง 3 ประการ ได้แก่ รายได้เกษตรกรเริ่มชะลอตัวลงจากราคาสินค้าเกษตรที่เริ่มปรับลดลง โดยเฉพาะยางและปาล์มน้ำมัน อาจทำให้การบริโภคในระยะต่อไปชะลอตัวลง ถัดมาคืออัตราการใช้กำลังการผลิตยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้การลงทุนภาคเอกชนไม่น่าจะปรับขึ้นได้เร็วนัก และสุดท้ายคือภาคการส่งออกอาจชะลอตัวลงในระยะต่อไปจากราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันและสินค้าเกษตรที่ปรับลดลงตามแนวโน้มราคาน้ำมันโลก และการแข็งค่าของเงินบาทที่จะกระทบต่อรายได้ผู้ส่งออกในรูปเงินบาท

นายชวลิต จินดาวณิค ประธานสายการเงินและงบประมาณ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานงวดครึ่งปีแรกปี 2560 เปรียบเทียบกับงวดครึ่งปีแรกปี 2559 ว่า “กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคิ นภัทร มีกำไรสุทธิรวม เท่ากับ 2,709 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.7% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ส่วนของรายได้ แบ่งเป็นรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 5,194 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.6% โดยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจาก 4.7% เป็น 5.3% รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุท ธิ 1,859 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 3% โดยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของราย ได้จากที่ปรึกษาทางการเงินและรายได้จากการจำหน่ายหลักทรัพย์ รายได้รวมจากการดำเนินงานคือ 7,758 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 2% ในส่วนของสินเชื่อรวมนั้น มีมูลค่า 183,704 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.1% จากสิ้นปี 2559 มาจากสินเชื่อรายย่อย (สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, Micro SMEs, สินเชื่อบุคคล) สินเชื่อบรรษัท และสินเชื่อ Lombard ในด้านคุณภาพของสินเชื่อ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาส 2/2560 อยู่ที่ 5.8% เพิ่มขึ้นจาก 5.6% ณ สิ้นปี 2559 มาจากการปรับเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสอง และสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) คำนวณตามเกณฑ์ Basel III ซึ่งรวมกำไรถึงสิ้นปี 2559 อยู่ที่ 17.54% (เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับ 14.20%) หากรวมกำไรถึงสิ้นไตรมาส 2/2560 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์ เสี่ยงจะเท่ากับ 18.64% (เงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับ 15.30%) ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาส 2/2560 มียอดสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสู ญและค่าเผื่อการปรับมูลค่าจากกา รปรับโครงสร้างหนี้มีจำนวน 11,089 ล้านบาท โดยมียอดสำรองทั่วไปทั้งสิ้น 4,500 ล้านบาท อัตราส่วนสำรองทั้งสิ้นต่อสำรอง ตามเกณฑ์เท่ากับร้อยละ 185.1 เปรียบเทียบกับร้อยละ 169.8 ณ สิ้นไตรมาส 2/2559 และมีอัตราส่วนสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพเท่ากับร้อยละ 104.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 95.7 ณ สิ้นไตรมาส 2/2559”