ธปท.เผยท่องเที่ยว-ส่งออก พระเอกหนุนเศรษฐกิจเดือน ก.ย. หลังบริโภค-ลงทุนโตแผ่ว

ชญาวดี ชัยอนันต์

ธปท.เผยเศรษฐกิจเดือนกันยายน 2566 ฟื้นตัวต่อเนื่อง ชี้ท่องเที่ยวส่งออกพระเอกหนุนเศรษฐกิจ หลังนักท่องเที่ยวต้นปีปัจจุบันอยู่ที่ 20 ล้านคน หนุนรายได้เพิ่มขึ้น จับตา การบริโภคการลงทุนเอกชนโตแผ่ว หลังเร่งตัวก่อนหน้า ด้านเสถียรภาพดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลตลาดแรงงานฟื้นตัวเงินบาทยังอ่อนค่านำภูมิภาคคาดเศรษฐกิจไตรมาส 3 โตดีกว่าไตรมาส 2 รอตัวเลขสภาพัฒน์ 20 ..นี้  

วันที่ 31 ตุลาคม 2566 นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าแนวโน้มเศรษฐกิจเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 มีทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง และมองไปข้างหน้าในเดือนตุลาคมยังเห็นสัญญาณของการฟื้นตัว โดยพระเอกยังคงเป็นภาคการท่องเที่ยว และอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัว

เศรษฐกิจอย่างไรก็ดี ยังคงต้องติดตามการฟื้นตัวของภาคการส่งออกสินค้า นโยบายภาครัฐ และผลกระทบจากความขัดแย้งของกลุ่มฮามาสและอิสราเอลต่อราคาพลังงาน รวมถึงผลกระทบจากเอลนีโญต่อผลผลิตและสินค้าเกษตร 

ทั้งนี้ หากดูดัชนีชี้วัดเดือนกันยายน พบว่าการท่องเที่ยวยังคงเป็นพระเอก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 1.2 ล้านคน น้อยกว่าเดือนก่อนหน้า แต่เป็นผลของฤดูกาล ซึ่งนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกสัญชาติยกเว้น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เนื่องจากเร่งตัวก่อนหน้านี้ หากดูภาพรวมไตรมาส 3/2566 มีจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 7.1 ล้านคน เพิ่มจากไตรมาสที่ 2/2566 ที่อยู่ 6.4 ล้านคน หากนับตั้งแต่ต้นปีปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวแล้วทั้งสิ้น 20 ล้านคน ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวยังปรับเพิ่มขึ้น

ขณะที่ภาคการส่งออกขยายตัวอยู่ที่ 4.6% จากเดือนก่อนหน้า โดยดีขึ้นในหมวดสินค้าเกษตร ตามการส่งออกข้าวขาวไปแอฟริกาใต้และเบนินเป็นสำคัญ และสินค้าเกษตรแปรรูป ตามการส่งออกน้ำมันปาล์มไปอินเดีย และแป้งมันสำปะหลังไปจีน อย่างไรก็ตาม การส่งออกบางสินค้าปรับลดลง อาทิ ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น โดยตัวเลขการส่งออกในไตรมาสที่ 3/2566 ขยายตัวอยู่ที่ระดับ 1.1% จากไตรมาสก่อน 

Advertisment

อย่างไรก็ดี การบริโภคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลดลง หลังจากเร่งตัวไปก่อนหน้า โดยการบริโภคภาคเอกชนหดตัว -0.5% จากเดือนก่อน ลดลงตามการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทน และยอดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยในไตรมาสที่ 3/2566 ขยายตัวอยู่ที่ 0.5% จากไตรมาสก่อน อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายในหมวดบริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะหมวดโรงแรมและภัตตาคาร สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น

โดยในส่วนของการลงทุนภาคเอกชน ปรับลดลง -1.2% จากเดือนก่อนหน้า ตามยอดจดทะเบียนรถยนต์ เครื่องจักรอุปกรณ์ และหมวดการก่อสร้างลดลงตามยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ขณะที่ไตรมาสที่ 3/2566 ลดลง -1.1% ตามหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมถึงการผลิตรถยนต์ที่ปรับลดลง อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นการลงทุนยังอยู่เหนือระดับ 50 ทั้งภาคการผลิตและไม่ผลิต

เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายนอยู่ในทิศทางฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าการบริโภคเอกชนและการลงทุนเอกชนจะชะลอตัว โดยตัวเลขไตรมาสที่ 3/66 ปรับดีขึ้นจากไตรมาสที่ 2/66 มาจากการบริโภคและท่องเที่ยว โดยส่งออกปรับดีขึ้นสอดคล้องกับการผลิต ดังนั้น คาดว่าตัวเลขไตรมาสที่ 3 น่าจะดีกว่าไตรมาสที่ 2 ที่ตัวเลขจริงออกมาค่อนข้างต่ำกว่าคาด ซึ่งยังต้องรอดูตัวเลขจากสภาพัฒน์ ที่จะออกมาในวันที่ 20 ..นี้ แม้ว่าจะมีตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรม MPI ที่คาดว่าจะออกมาต่ำ แต่คงไม่ได้ต่ำกว่าประมาณการไว้

นางสาวชญาวดีกล่าวอีกว่า สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจในเดือนกันยายน ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.30% ลดลงจากทุกหมวดหลัก โดยหมวดอาหารสดลดลงจากราคาผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่หมวดพลังงานลดลงจากมาตรการลด

Advertisment

ค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันดีเซลของภาครัฐ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.63% ลดลงเล็กน้อยจากราคาอาหารสำเร็จรูปเป็นสำคัญ โดยในไตรมาสที่ 3/2566 เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.52% และเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.75%

สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลจากดุลการค้าเป็นสำคัญ ประกอบกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุลลดลงตามรายจ่ายทรัพย์สินทางปัญญา โดยในเดือนกันยายนเกินดุล 3.4 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 0.4 พันล้านดอลลาร์ หากดูไตรมาสที่ 3/2566 เกินดุลอยู่ที่ 3.3 พันล้านดอลลาร์ จากไตรมาสที่ 2/2566 ขาดดุลอยู่ที่ -2.5 พันล้านดอลลาร์

ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเมื่อเทียบดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลง ซึ่งมาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.ดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นตามตลาดปรับการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน 2.ค่าเงินหยวนอ่อนค่าจากเศรษฐกิจจีนที่ยังคงเปราะบาง และ 3.นักลงทุนรอความชัดเจนเรื่องนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่านำสกุลเงินอื่น

เงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากทุกหมวดหลัก ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงเล็กน้อยจากราคาอาหารสำเร็จรูปเป็นสำคัญ ด้านตลาดแรงงานปรับดีขึ้น โดยเห็นสัญญาณแรงงานมาตรา 33 ทั้งภาคบริการและการผลิต จำนวนว่างงานลดลงในเกือบทุกสาขา การนำเข้าแรงงานต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมตลาดแรงงานฟื้นตัวได้ดีขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลจากการค้าเป็นสำคัญ