แบงก์กรุงเทพ เฉลย “หนี้เรื้อรัง” คืออะไร ? แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง

หนี้นอกระบบ
ภาพจาก : freepik

แบงก์กรุงเทพ เปิดนิยาม “หนี้เรื้อรัง” แบบไหนเข้าข่าย มีกี่แบบ ลูกหนี้ต้องทำอย่างไร ธปท. ดีเดย์เริ่มมาตรการ 1 เม.ย.67

วันที่ 16 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมให้สถาบันการเงินภายใต้กำกับดำเนินการแก้ปัญหา “หนี้เรื้อรัง” โดยเข้าไปช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง ให้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2567 นี้เป็นต้นไปนั้น หลายคนอาจจะสงสัยว่าหนี้เรื้อรังคืออะไร แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง เรื่องนี้ทางธนาคารกรุงเทพได้มีการอธิบายไว้ดังนี้

แบบไหนเข้าข่ายปัญหา “หนี้เรื้อรัง”

-ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่เป็นวงเงินหมุนเวียน ไม่ได้ชำระเป็นงวด
-ยังไม่เป็นหนี้เสีย
-จ่ายดอกเบี้ยเกินเงินต้น เป็นระยะเวลานาน

หนี้เรื้อรัง มี 2 แบบ

1.เริ่มเรื้อรัง (General PD) จ่ายดอกเบี้ยเกินเงินต้น ในช่วง 3-5 ปีย้อนหลัง
2.เรื้อรัง (Severe PD) จ่ายดอกเบี้ยเกินเงินต้น 5 ปีขึ้นไป มีเงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาท (กรณีลูกหนี้กลุ่มแบงก์) หรือไม่เกิน 10,000 บาท กรณีลูกหนี้นอนแบงก์)
ถ้าเข้าข่ายตามนี้ มีทางเลือกปิดจบหนี้ เริ่ม 1 เม.ย.2567 ติดต่อที่สาขาธนาคารได้เลย