
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2564 ปรับปรุงครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564
เปรียบเทียบเงื่อนไขแจกเงิน 2 มาตรการรัฐ “เราชนะ-เราไม่ทิ้งกัน” มีความเหมือน หรือต่างกันอย่างไร
- ลอยกระทง “จันทร์ซ้อนจันทร์” 27 พ.ย. 66 “อาบแสงจันทร์” เสริมดวง
- LINE ชี้แจงหลังทำข้อมูลผู้ใช้รั่วกว่า 4 แสนรายการ
- เปิดพอร์ตห้างเซ็นทรัล-โรบินสัน 75 สาขา ในมือซีอีโอใหม่ “ณัฐธีรา บุญศรี”
การเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ มาตรการชดเชยรายได้ของรัฐบาลสู่ประชาชนคนไทย เกิดขึ้นครั้งแรก ภายใต้ชื่อว่า “เราไม่ทิ้งกัน” ด้วยการมอบเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท ต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท
โดยมี ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ ผู้ที่ผ่านการลงทะเบียนแสดงความจำนงตรวจสอบคุณสมบัติและการโอนเงินผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น พร้อมเพย์ตามเลขบัตรประจำตัวประชาชน โอนเข้าบัญชีธนาคาร กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ส่วนวิธีการขอรับความช่วยเหลือจะเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงการคลังกำหนด
17 ธันวาคม 2563 ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกครั้ง เป็นเจ้าของแพปลาที่จังหวัดสมุทรสาคร มีผู้ใกล้ชิดและบุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวนมากถึง 10,000 คน โดยข้อสันนิษฐานคืออาจติดเชื้อจากการสัมผัสแรงงานต่างด้าวที่ทำประมง ทำให้ผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศไทยขณะนี้ เกิน 1 หมื่นคนเป็นเรียบร้อย
12 มกราคม 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง และนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกันแถลงข่าวมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากการแพร่ระบาดโควิด หนึ่งในมาตราการที่แถลงร่วมกันคือ มาตรการเยียวยา 3,500 บาท ระยะเวลา 2 เดือน ภายใต้ชื่อใหม่ว่า “เราชนะ”
หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบที่ 2 รัฐบาลออกมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบรอบใหม่ โดยมีการเปลี่ยนชื่อโครงการและ ปรับปรุงรายละเอียดแพ็กเกจมาตราการให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และสอดคล้องกับงบประมาณมากขึ้น เช่น โครงการเราไม่ทิ้งกัน ในการระบาดรอบแรก แจกผู้ที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศ 15 ล้านราย แต่ในครั้งนี้ใช้ชื่อว่า โครงการเราชนะ เป้าหมาย 30 ล้านราย
“ประชาชาติธุรกิจ” นำเสนอข้อมูลความแตกต่าง วงเงินและกลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลาในการแจกเงินโครงการเราไม่ทิ้งกันและโครงการเราชนะ
โครงการ เราไม่ทิ้งกัน
ลงทะเบียน
- ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
บุคคลที่มีคุณสมบัติได้รับเงิน
- แรงงาน
- ลูกจ้างชั่วคราว
- อาชีพอิสระ
- ผู้ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33
- ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
- มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
หลักฐานที่ใช้ลงทะเบียน
- หมายเลขบัตรประชาชน
- ข้อมูลการประกอบอาชีพ
- ข้อมูลบริษัทนายจ้าง (กรณีมีนายจ้าง)
- ข้อมูลปัญหาความเดือดร้อน
การจ่ายเงินจะโอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ 2 ช่องทาง
- บัญชีพร้อมเพย์ของธนาคารใดก็ได้ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งสามารถสมัครผ่านทางตู้เอทีเอ็ม หรือ แอปพลิเคชั่นบนมือถือของแต่ละธนาคาร
- บัญชีธนาคารใดก็ได้ที่มีอยู่เดิมโดยที่ชื่อและนามสกุลเจ้าของบัญชีต้องตรงกับชื่อและนามสกุลที่นำมาลงทะเบียน
โครงการเราชนะ
- วงเงิน 3,500 บาท ต่อคน ต่อเดือน จำนวน 2 เดือน
- แรงงาน
- ลูกจ้างชั่วคราว
- อาชีพอิสระ
- เกษตกร
- จะเสนอ ครม. วันอังคารที่ 19 มกราคม 2564
- ประชาชนสามารถใช้เงินได้เร็วสุดภายในสิ้นเดือนมกราคม หรือ ต้นเดือนกุมภาพันธ์
- ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ โครงการเราชนะ
ผู้ที่จะไม่ได้รับสิทธิ์ “เราชนะ”
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สำหรับคุณสมบัติผู้ที่จะไม่ได้รับในเบื้องต้น คือ
- ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม จำนวน 11 ล้านคน ยกเว้นผู้ที่อยู่ในมาตรการ 39 และมาตรา 40
- ข้าราชการและพนักงานของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 3 ล้านคน
- ผู้ที่มีรายได้สูง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาเกณฑ์คุณสมบัติ โดยอาจจะประเมินจากฐานเงินเดือนและบัญชีเงินฝาก
ส่วนผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการ 14 ล้านคน จะได้เข้าร่วมมาตรการอัตโนมัติ โดยไม่ต้องเข้ามาลงทะเบียน ขณะที่ผู้ที่เคยเข้าร่วมมาตรการของรัฐซึ่งมีแอปเป๋าตังอยู่แล้ว เช่น โครงการคนละครึ่ง จำนวน 15.3 ล้านคน คลังจะดึงข้อมูลเหล่านั้นมาพิจารณา ถ้ามีรายได้เกินเงื่อนไขที่กำหนดจะถูกตัดสิทธิ
ส่วนผู้ที่เข้าเกณฑ์จะได้รับเงินอัตโนมัติ ซึ่งต้องรอรับเงินผ่านแอปเป๋าตัง โดยไม่ต้องลงทะเบียน ขณะที่ผู้ผ่านเกณฑ์แต่ไม่ได้มีฐานข้อมูลในแอปเป๋าตังจะได้รับเงินผ่านพร้อมเพย์
เราไม่ทิ้งกัน : เราชนะ ต่างกันอย่างไร
ความเหมือน
- เป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
- ใช้จ่ายผ่านแอพพลิเคชัน เป๋าตัง
- ข้อมูลการประกอบอาชีพข้อมูลหลักฐานที่ใช้ลงทะเบียน เช่น หมายเลขบัตรประชาชน, ข้อมูลการประกอบอาชีพ
ความแตกต่าง
จำนวนเงิน “เราไม่ทิ้งกัน” ได้จำนวนเงิน 5,000 x 3 = 15,000 บาท “เราชนะ” ได้จำนวนเงิน 3,500 x 2 = 7,000 บาท ทำให้ “เราไม่ทิ้งกัน” ได้ จำนวนเงินที่มากกว่า “เราชนะ” ถึง 8,000 บาท
กลุ่มเป้าหมาย “เราไม่ทิ้งกัน” รองรับกลุ่มอาชีพแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ผู้ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ส่วน “เราชนะ” รองรับกลุ่มอาชีพ แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ และเกษตกร รวมถึงรองรับผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการ 14 ล้านคน จะได้เข้าร่วมมาตรการอัตโนมัติ โดยไม่ต้องเข้ามาลงทะเบียน ขณะที่ผู้ที่เคยเข้าร่วมมาตรการของรัฐซึ่งมีแอปเป๋าตังอยู่แล้ว เช่น โครงการคนละครึ่ง จำนวน 15.3 ล้านคน คลังจะดึงข้อมูลเหล่านั้นมาพิจารณา “เราชนะ” รองรับ กลุ่มเป้าหมายมากกว่า เราไม่ทิ้งกัน
การลงทะเบียน “เราไม่ทิ้งกัน” ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ส่วน”เราชนะ ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com (ในสัปดาห์หน้า หลังครม.อนุมัติก็จะแจ้งวันลงทะเบียนให้ชัดเจนอีกครั้ง)