ส่องกำไร CEYE หุ้นครีเอทีฟโฆษณา ก่อนเทรด mai วันแรก 29 เม.ย.นี้

บมจ.ตาชำนิ ผู้ให้บริการผลิตภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวสำหรับสื่อโฆษณา เตรียมเข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “CEYE”  29 เม.ย.นี้

วันที่ 28 เมษายน 2565  บมจ. ตาชำนิ หรือ CEYE ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อโฆษณา สื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ โดยให้บริการผลิตภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวแบบครบวงจร การบริการตกแต่งภาพด้วยคอมพิวเตอร์ บริการสื่อออนไลน์และบริหารสื่อออนไลน์ มีบริษัทย่อย คือบริษัท ไม้ยืนต้น จำกัด ดำเนินธุรกิจให้เช่าสตูดิโอสำหรับการถ่ายภาพยนตร์ โฆษณา และรายการโทรทัศน์ ปัจจุบันมีสตูดิโอให้เช่า สตูดิโอ 

สำหรับกลุ่มลูกค้ามีทั้งเอเจนซีโฆษณาและเจ้าของผลิตภัณฑ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศในแถบเอเชีย (หมายถึงทั้งเอเยนซี่และเจ้าของผลิตภัณฑ์ใช่มั้ย) เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และจีน เป็นต้น สัดส่วนรายได้ในปี 2564 มาจากบริการผลิตภาพนิ่ง 50% บริการผลิตภาพเคลื่อนไหว 27% บริการตกแต่งภาพด้วยคอมพิวเตอร์ 12% การให้เช่าสตูดิโอ 4% และบริการอื่น 7%

โครงสร้างกลุ่มบริษัทและโครงสร้างรายได้

ปัจจุบัน บริษัทมีบริษัทย่อย จำนวน 2 บริษัท โดยมีโครงสร้างการถือหุ้น ดังนี้

ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

สรุปฐานะการเงิน-ผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท สำหรับปี 2562 – 2564

ขายหุ้นไอพีโอ 70 ล้านหุ้น 

CEYE เสนอขายหุ้นทั้งหมดจำนวนไม่เกิน 70,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 25.93 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ โดยมีสัดส่วนการเสนอขายหุ้นดังนี้

ทั้งนี้ CEYE ได้เสนอขายหุ้นไอพีโอ (IPO) ต่อประชาชนเมื่อวันที่ 20 – 22 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ในราคา 3.86 บาทต่อหุ้น

แผนระดมทุน

บริษัทมีวัตถุประสงค์ในการนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนครั้งนี้ประมาณ 255.25 ล้านบาท (ภายหลังหักค่าใช้จ่ายการเสนอขาย) ไปใช้ดังนี้

จ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่า 40% 

บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะบริษัท ภายหลังจากหักภาษีและเงินทุนสำรองตามกฎหมายและทุนสำรองอื่น (ถ้ามี) อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

ทั้งนี้ มติคณะกรรมการบริษัทที่อนุมัติจ่ายเงินปันผลจะต้องนำเสนอเพื่อขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ซึ่งคณะกรรมการบริษัทมีอำนาจอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลได้ แล้วรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวต่อไป

ข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ของบริษัท