ประกาศแล้ว! พ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ ไม่รวมหนี้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจให้กู้ยืมเงิน

พระราชบัญญัติ การบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ มีรายละเอียดระบุว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญ ญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคํา ว่า “ หนี้สาธารณะ” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““หนี้สาธารณะ” หมายความว่า หนี้ที่กระทรวงการคลัง หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจกู้ หรือหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ําประกัน แต่ไม่รวมถึงหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ทําธุรกิจให้กู้ยืมเงิน ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ หรือธุรกิจประกันสินเชื่อ โดยกระทรวงการคลังไม่ได้ค้ําประกัน และหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย”

มาตรา ๔ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ธุรกิจบริหารสินทรัพย์” และคําว่า “ธุรกิจประกันสินเชื่อ” ระหว่างบทนิยามคําว่า “การบริหารหนี้สาธารณะ” และคําว่า “การค้ําประกัน” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ““ธุรกิจบริหารสินทรัพย์” หมายความว่า ธุรกิจการบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมาย
ว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ “ธุรกิจประกันสินเชื่อ” หมายความว่า ธุรกิจการให้การค้ําประกันสินเชื่อแก่บุคคลเพื่อ ให้ได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงิน”

มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติ การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๑ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ” ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังคนหนึ่งซึ่งรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการโดยตําแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจํานวนสามคน เป็นกรรมการ”

มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคห้าของมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘“ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรานี้ ให้ถือว่าคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดเท่าที่เหลืออยู่ และให้คณะกรรมการดังกล่าวดําเนินงานต่อไปได้โดยจะต้องมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้วยอย่างน้อยหนึ่งคน”

มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๑) ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างหนี้สาธารณะ การบริหารหนี้สาธารณะ ความต้องการเงินของภาครัฐ รวมทั้งหนี้เงินกู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหนี้เงินกู้ของรัฐวิสาหกิจที่ทําธุรกิจให้กู้ยืมเงิน ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ หรือธุรกิจประกันสินเชื่อ ที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ําประกันและให้รายงานหนี้เงินกู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจที่ทําธุรกิจให้กู้ยืมเงิน ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ หรือธุรกิจประกันสินเชื่อ ที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ําประกันด้วย เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ”

มาตรา ๘ ให้เพ่ิมความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘“เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานมีอํานาจเรียกให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องได้”มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของวรรคหนึ่งของมาตรา ๓๖/๘ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๑) กรณีการลงทุนในประเทศให้นําไปลงทุนได้ดังนี้
(ก) ตราสารหนี้ที่ออกหรือค้ําประกันโดยกระทรวงการคลัง
(ข) ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
(ค) ตราสารหนี้อ่ืนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุดจากสถาบันจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือ
(ง) ทําธุรกรรมซื้อโดยมีสัญญาจะขายคืนซึ่งตราสารหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง หรือธนาคารแห่งประเทศไทย
(จ) เงินฝากหรือบัตรเงินฝากของสถาบันการเงินภาครัฐ หรือธนาคารพาณิชย์ตามที่ คณะกรรมการกองทุนกําหนด”

มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกมาตรา ๓๖/๙ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะพ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑

มาตรา ๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗/๑) ของมาตรา ๓๖/๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเตมโดยพระราชบ ิ ัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๑

“(๗/๑) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการกองทุนมอบหมาย”มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๖/๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะพ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๖/๑๒ ให้นํามาตรา ๓๔ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการกองทุนและ คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งโดยอนุโลม และให้กรรมการในคณะกรรมการกองทุน และอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่รัฐมนตรีกําหนด”

มาตรา ๑๓ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหาร หนี้สาธารณะซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตําแหน่งต่อไปได้ จนกว่าจะครบวาระ

มาตรา ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สมควรกําหนดขอบเขตของนิยามคําว่าหนี้สาธารณะให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยไม่รวมถึงหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ทําธุรกิจให้กู้ยืมเงินธุรกิจบริหารสินทรัพย์ หรือธุรกิจประกันสินเชื่อโดยกระทรวงการคลังไม่ได้ค้ําประกัน และหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามวาระหรือพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ อํานาจหน้าที่ของสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ รวมทั้งแก้ไขอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศและหลักเกณฑ์การลงทุนของกองทุนเพื่อให้การดําเนินงานของกองทุนมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

 

 

ที่มา มติชนออนไลน์