กรมอุตุฯ เปิดชื่อพายุลูกใหม่ โซนร้อน “โคอินุ” (KOINU) พายุลูกที่ 14

แนว-เส้นทาง พายุโซนร้อน
พายุโซนร้อน "โคอินุ" (KOINU) : ภาพ-กรมอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุฯเปิดชื่อพายุลูกใหม่ พายุโซนร้อน “โคอินุ” (KOINU) ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ระบุเป็นพายุลูกที่ 14 ของปีนี้ เผยกำลังติดตามเป็นระยะ ทิศทางเคลื่อนเข้าเกาะไต้หวัน ยังไม่มีผลกระทบกับไทย เตือนประเทศไทยยังมีฝนตกหนักจากอิทธิพลของร่องมรสุม ทั้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก เสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน

วันที่ 30 กันยายน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมราย 6 ชม. และโอกาสการก่อตัวพายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone Genesis) จาก ศูนย์พยากรณ์อากาศยุโรประยะกลาง (ECMWF)วันนี้ 30/9/66) ว่าหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งประเทศเมียนมา ทำให้ด้านตะวันตกของภาคเหนือ ยังมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคอื่นๆ ฝนน้อยลงบ้าง แต่ยังมีฝนเกิดขึ้นได้ตามแนวร่องมรสสุม คลื่นลม บริเวณอันดามันมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง แต่อ่าวไทย มีกำลังอ่อนลงบ้าง

นอกจากนี้ยังต้องติดตามพายุโซร้อน “โคอินุ” (KOINU )ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ติดตามเป็นระยะๆ แต่อย่าพึ่งตื่นตระหนกกับข่าวลือ พายุนี้ยังเปลี่ยนแปลง ทิศทางเมื่อเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไต้หวัน ขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย

สำหรับชื่อของพายุโซนร้อนโคอินุ (KOINU) หมายถึงลูกสุนัข ตั้งชื่อโดยประเทศญี่ปุ่น เป็นพายุลูกที่ 14 ตามการนับจำนวนพายุของ RSMC โตเกียว ญี่ปุ่น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นายชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการและผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TEAM GROUP ได้ออกมาระบุว่า หลังพายุดีเปรสชั่นที่ลดระดับลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำลูกล่าสุดผ่านไปแล้ว มีโอกาสที่จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกลุ่มใหม่ ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ คาดว่าวันที่ 1 ต.ค. จะเคลื่อนที่ขึ้นฝั่ง ทำให้ฝนตกหนักที่เมืองวิน ดองหอย ดองฮา ประเทศเวียดนาม และมีโอกาสจะเข้าถึงประเทศไทย ซึ่งคงต้องติดตามสถานการณ์กันต่อไป

 พายุโซนร้อน "โคอินุ" (KOINU)
พายุโซนร้อน “โคอินุ” (KOINU) : ภาพ-กรมอุตุนิยมวิทยา

สำหรับการพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง

ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย

สำหรับทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

แนวพายุโซนร้อน "โคอินุ" (KOINU) : ภาพ-กรมอุตุนิยมวิทยา
แนวพายุโซนร้อน “โคอินุ” (KOINU) : ภาพ-กรมอุตุนิยมวิทยา

ลักษณะอากาศทั่วไป 30 กันยายน 2566

สำหรับพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย

สำหรับทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

เส้นทางพายุลูกใหม่ โซนร้อน "โคอินุ" (KOINU)
เส้นทางพายุลูกใหม่ โซนร้อน “โคอินุ” (KOINU)

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 18:00 น. วันนี้ ถึง 18:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย ตาก และกำแพงเพชร
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดบึงกาฬ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ
นครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
(ออกประกาศ 30 กันยายน 2566)

พยากรณ์อากาศวันที่ 30 กันยายน 2566