การดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควัน 9 จังหวัดภาคเหนือ ณ วันที่ 19 เมษยน 2562

๑.   สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ประจำวันพุธที่ 19 เมษายน 2562 ณ เวลา 9.00 น. จากการตรวจวัด 17 พื้นที่ ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ สรุปได้ดังนี้

– ค่า PM2.5 มีค่าอยู่ระหว่าง 36 – 87 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยพบค่าสูงสุดที่ ต. เวียงพางคำ อ. แม่สาย จ. เชียงราย และค่าต่ำสุดที่    ต. สุเทพ อ. เมือง จ. เชียงใหม่

– มีค่าลดลง 6 พื้นที่ และเพิ่มขึ้น 10 พื้นที่ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของเมื่อวาน

– คุณภาพอากาศมีค่าอยู่ในเกณฑ์ดี – เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสีส้ม 12 พื้นที่ (เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) สีเหลือง 4 พื้นที่ (คุณภาพอากาศปานกลาง) และสีเขียว 1 พื้นที่ (คุณภาพอากาศดี)

ตารางที่ 1 แสดงค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ณ เวลา 9.00 น.

ลำดับ สถานี ค่า PM2.5 (มคก./ลบ.ม.) เปรียบเทียบค่า PM2.5

(18 และ 19 เม.ย. 62)

17 เม.ย. 18 เม.ย. 19 เม.ย.
1 ต.เวียงคำ อ.เมือง จ.เชียงราย 151 103 61 ลดลง 40.8 %
2 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 164 128 87 ลดลง 32.0 %
3 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 65 55 53 ลดลง 3.6 %
4 ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 58 43 45 เพิ่มขึ้น 4.7 %
5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 48 37 36 ลดลง 2.7 %
6 ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 53 54 60 เพิ่มขึ้น 11.1 %
7 ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง 41 46 51 เพิ่มขึ้น 10.9 %
8 ต.สบป้าด อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 34 41 52 เพิ่มขึ้น 26.8 %
9 ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 117 57 77 เพิ่มขึ้น 35.1 %
10 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 44 51 55 เพิ่มขึ้น 7.8 %
11 ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน 43 47 49 เพิ่มขึ้น 4.3 %
12 ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 81 49 59 เพิ่มขึ้น 20.4 %
13 ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน 54 48 51 เพิ่มขึ้น 6.3 %
14 ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน 89 N/A 46
15 ต.นาจักร อ.เมือง จ.แพร่ 30 42 56 เพิ่มขึ้น 33.3 %
16 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา 66 78 69 ลดลง 11.5 %
17 ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก 34 40 39 ลดลง 2.5 %
                                  เฉลี่ย 68.9 57.4 55.6 ลดลง 3.1 %

หมายเหตุ : N/A หมายถึง ไม่มีข้อมูลเนื่องจากเครื่องมือขัดข้อง

๒.  สถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) ในวันที่ 18 เมษายน 2562 จากดาวเทียมระบบ MODIS ดังนี้

– จุดความร้อนรวมทั้ง 9 จังหวัดภาคเหนือ มีทั้งสิ้น 64 จุด โดยลดลงจากวันที่ 17 เมษายน 2562 จำนวน 51 จุด หรือคิดเป็นลดลง 44.3 %

– มีจำนวนมากสุดที่ จ. เชียงราย จำนวน 25 จุด

– สามารถแบ่งตามประเภทพื้นที่ได้ดังนี้

1) พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 15 จุด

2) เขต สปก. 1 จุด

3) ป่าสงวนแห่งชาติ 45 จุด

4) พื้นที่เกษตร 1 จุด

5) ชุมชนและอื่นๆ 2 จุด

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนจุดความร้อน (hotspot) จากดาวเทียมระบบ MODIS

ลำดับ จังหวัด จำนวนจุด Hotspot (จุด) เปรียบเทียบจุด Hotspot

(17 และ 18 เม.ย. 62)

16 เม.ย. 17 เม.ย. 18 เม.ย.
1 จ.เชียงราย 77 52 25 ลดลง 51.9 %
2 จ.เชียงใหม่ 7 4 4 เท่าเดิม
3 จ.ลำปาง 7 8 5 ลดลง 37.5 %
4 จ.ลำพูน 0 0 1 เพิ่มขึ้น*
5 จ.แม่ฮ่องสอน 0 8 10 เพิ่มขึ้น 25.0 %
6 จ.น่าน 30 22 0 ลดลง 100.0 %
7 จ.แพร่ 9 5 2 ลดลง 60.0 %
8 จ.พะเยา 8 3 0 ลดลง 100.0 %
9 จ.ตาก 6 13 17 เพิ่มขึ้น 30.8 %
                 รวม 144 115 64 ลดลง 44.3 %

หมายเหตุ : ข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียมระบบ MODIS

เพิ่มขึ้น* หมายถึง มีค่าเพิ่มขึ้น แต่คำนวณ % การเพิ่มขึ้นไม่ได้เนื่องจากฐานเป็นศูนย์

๓.  สถานการณ์หมอกควันข้ามแดน โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (    GISTDA) รายงานการปกคลุมของหมอกควันจากดาวเทียมระบบ MODIS ประจำวันที่ 18 เมษายน 2562 พบว่า มีกลุ่มหมอกควันปกคลุมบริเวณฝั่งตะวันตกและฝั่งเหนือของภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงราย และมีทิศทางลมพัดจากทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่ประเทศไทย ดังนั้นนอกจากปัญหาการเผาในที่โล่งภายในประเทศไทยแล้ว จังหวัดดังกล่าวอาจได้รับผลกระทบจากหมอกควันข้ามแดน ได้อีกด้วย

๔.   การดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควันของ 9 จังหวัดภาคเหนือ

จังหวัดเชียงใหม่

– จังหวัดเชียงใหม่จัดชุดเฉพาะกิจป้องกันยับยั้งหมอกควันและไฟป่า โดย 25 อำเภอ 91 ตำบล เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจด้านจิตวิทยามวลชน และลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนงดเผาโดยเด็ดขาด

– หน่วยงานสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และอำเภอต่างๆ ได้ช่วยเหลือดูแลสุขภาพประชาชนโดยการแจกหน้ากากอนามัย ซึ่งแจกไปแล้ว 2,639,533 ชิ้น และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสามารถรับหน้ากากอนามัยได้ ณ ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง

– จังหวัดเชียงใหม่ได้ระดมรถบรรทุกน้ำ เพื่อฉีดพ่นละอองน้ำสร้างความชุ่มชื้นในอากาศ บริเวณพื้นที่นครเชียงใหม่ พร้อมให้อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 25 อำเภอ ทำการฉีดพ่นละอองน้ำ และฉีดล้างถนนอย่างต่อเนื่อง

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

– นายชิดชนก สุขมงคล ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สาขาแม่สะเรียง นำหัวหน้าหน่วยงานภาคสนามทุกแห่ง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเฝ้าระวังดับไฟป่า จำนวน 10 หน่วย ได้แก่ สถานีควบคุมไฟป่าแม่สะเรียง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ยวมฝั่งขวา ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอดอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ สถานีควบคุมไฟป่าลุ่มน้ำปาย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย สวนป่าลุ่มน้ำลาง อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดน และโครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณป่าลุ่มน้ำของ-ปาย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน หน่วยปฏิบัติการพื้นที่ที่ 3 เข้ารับการตรวจสุขภาพ ด้านระบบทางเดินหายใจ และสุขภาพทั่วไป อาทิ เอ๊กซเรย์ปอด วัดอัตราการหายใจ วัดค่าอ๊อกซิเจนในเลือด วัดความดันโลหิต และซักประวัติโรคเดิม โดยได้มีการประสานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลใกล้เคียง ทำการตรวจสุขภาพแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกนาย ซึ่งผลการตรวจสุขภาพ ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานดับไฟป่าทั้งหมด จำนวน 210 นาย พบว่าปกติ จำนวน 177 ราย และมีความผิดปกติ จำนวน 33 ราย โดยอาการที่พบ คือ ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 28 ราย ป่วยระบบทางเดินหายใจ จำนวน 1 ราย ป่วยโรคตาอักเสบ จำนวน 2 ราย ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบ จำนวน 1 ราย และคาดว่าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว จำนวน 1 ราย ทั้งนี้ทางด้านแพทย์ และเจ้าหน้าที่ รวมถึงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล สาธารณสุขตำบล ยังได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานดับไฟป่าให้ดื่มน้ำบ่อยๆ เนื่องจากอากาศร้อน และให้สวมใส่หน้ากากขณะออกปฏิบัติงาน อีกทั้งหากมีอาการไม่สบาย มึน หรือหน้ามืด หัวใจเต้นแรงผิดปกติ หรือความดันโลหิตสูง ให้หยุดการปฏิบัติงานทัน เพื่อเข้ารับการรักษาโดยด่วน

– จังหวัดเแม่ฮ่องสอนยังคงเน้นย้ำกำนัน และผู้ใหญ่บ้านทุกชุมชน ประกาศขอความร่วมมืองดเผาทุกพื้นที่ แม้กระทั่งการเผาตามบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป เนื่องจากส่งผลต่อการสะสมฝุ่นควันในบรรยากาศ ซึ่งอาจจะทำให้คุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐานได้

จังหวัดตาก

ศูนย์บัญชาการหมอกควันและไฟป่าอำเภอแม่สอดจัดรถดับเพลิงทำการฉีดพ่นละอองน้ำและล้างถนน เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศใน​พื้นที่อำเภอแม่สอด โดยได้รับการสนับสนุนรถดับเพลิงจากเทศบาลนครแม่สอด เทศบาลตำบลท่าสายลวด องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ และศูนย์ ปภ.เขต 9 พิษณุโลก

       – ศูนย์บัญชาการณ์เหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันอำเภอแม่ระมาด ได้ร่วมประชุมกำหนดวัน เวลา ในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ทำกิน ณ ห้องประชุมชั้น 2 อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

จังหวัดลำปาง

– นายประเดิม เดชายนต์บัญชา นายอำเภองาว กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ราษฎรจิตอาสาร่วมกับหน่วยป้องกันและรักษาป่าที่ ลป. 19 (แม่โป่ง) และ ลป. 21 (แม่ตีบ) ออกปฏิบัติงานในพื้นที่ที่เกิดจุด Hotspot 11 จุด ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ได้แก่ ต.แม่ตีบ ต.บ้านหวด ต.หลวงใต้ ต.บ้านอ้อน ต.นาแก ต.ปงเตา ต.บ้านร้อง โดยดำเนินการจนแล้วเสร็จ

– อำเภอแจ้ห่ม โดยฝ่ายความมั่นคงได้แจ้งให้ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ ประกอบไปด้วย หน่วยป้องกันรักษาป่า ลป. ๘ (แม่สุก) และ ๑๑ (แม่ต๋า) ถ้ำผาไทฝั่งตะวันตก สถานีควบคุมไฟป่าพื้นที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๓ สาขาลำปาง เครือข่ายดับไฟป่า และกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เกิดเหตุ ดังนี้ บริเวณป่าอนุรักษ์  ต.บ้านสา พื้นที่ริมทางหลวง ต.บ้านสา ป่าสงวนแห่งชาติ ต.เมืองมาย พื้นที่เกษตร ต.ปงดอน และบริเวณป่าสงวนแห่งชาติ ต.แม่สุก ซึ่งทุกพื้นที่ดำเนินการแล้วเสร็จ

– อำเภอเมืองปาน พบจุดความร้อน 22 จุด ในพื้นที่ 5 ตำบล ศูนย์ฯ อำเภอเมืองปาน โดยการอำนวยการของ ว่าที่ร้อยตรี สมชาย สิริชูทรัพย์ นายอำเภอเมืองปาน สั่งการให้ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ ชุดปฏิบัติการไฟป่าประจำตำบลดำเนินการ โดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ หน่วยจัดการต้นน้ำแม่นึง หน่วยอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน หน่วยป้องกันและรักษาป่า ที่ 7 แม่สอยเข้าดำเนินการดับไฟ โดยบางส่วนอยู่ในพื้นที่เขาสูงชัน ไม่สามารถขึ้นไปดับได้ จึงได้ทำแนวกันไฟไว้รอบๆ บริเวณที่ไฟไหม้แล้ว

– ชุดปฏิบัติการดับไฟป่าฝ่ายปกครอง อ.วังเหนือ อบต.ร่องเคาะ/จิตอาสา บ้านทุ่งฝูงทหาร ร้อย.รส.ที่ 3 (ฝรพ.3) สมาชิก อส.อ.วังเหนือ ร่วมกันลาดตระเวนเฝ้าระวังและดับไฟเสร็จ จำนวน 1 จุด สาเหตุหาของป่าและได้ชี้แจงสร้างความเข้าใจการแก้ไขปัญหาไฟป่าฯ แก่ชาวบ้านทุ่งฝูง ต.ร่องเคาะ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง

– สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 หน่วยป้องกันและรักษาป่าที่ 16 แม่ปะ กำนันตำบลแม่ปะ ราษฎรในพื้นที่ ออกตรวจสอบจุดความร้อนในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่เลิม-แม่ปะ และได้ดำเนินการดับไฟที่เกิดขึ้นจนเสร็จเรียบร้อยจำนวน 5 จุด พบพื้นที่เสียหายประมาณ 10 ไร่ สำหรับจุดอื่นๆ เป็นเขตรอยต่อจังหวัดสุโขทัย และเป็นภูเขาสูง ไม่มีทางเดินเท้า ได้ให้ชุด ชป.หมู่บ้านเฝ้าระวังในพื้นที่

จังหวัดพะเยา

จังหวัดพะเยาร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (งานป้องกันและบรรเทา        สาธารณภัย สำนักงานเทศบาลเมืองพะเยา) ร่วมดำเนินมาตรการเพิ่มความชุ่มชื้นและลดฝุ่นละอองในอากาศ โดยได้นำรถยนต์บรรทุกน้ำ รถดับเพลิง ทำการฉีดพ่นละอองน้ำเพิ่มความชุ่มชื่น ลดหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ ทำความสะอาดถนน ต้นไม้ ณ บริเวณศาลหลักเมืองพะเยา อำเภอเมืองพะเยา

จังหวัดแพร่

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ ปฏิบัติการฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กและเพิ่มความชื้นในอากาศเป็นประจำทุกวัน โดยได้รับการสนับสนุนรถหุ่นยนต์ดับเพลิงแรงดันสูงควบคุมระยะไกล จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 15 เชียงราย และได้รับการสนับสนุนรถน้ำดับเพลิงพร้อมเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองแพร่ กองพันทหารม้าที่ 12 แขวงทางหลวงแพร่ แขวงทางหลวงชนบท อบจ.แพร่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ทุกแห่งร่วมปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง

จังหวัดลำพูน

       – หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้แม่ทา หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ลพ.2 (ทำชมภู) หน่วยส่งเสริมการควบคุมไฟป่าแม่ทา ดับไฟป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ทาที่พิกัด 47Q 0523376 UTM 2045323 บ้านทำปลาดุก    หมู่ที่ 5 ต.ทาปลาดุก อ.แม่ทา จ.ลำพูน พบพื้นที่เสียหายประมาณ 50 ไร่ โดยไม่ทราบสาเหตุการเกิดไฟ

– นายยงยุทธ สุขศิริ นายอำเภอป่าซาง ได้สั่งการให้ทีมเสือไฟ พร้อมเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลมะกอก    ร่วมดับไฟป่าในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 6 ต.มะกอก อ.ป่าซาง โดยสามารถดับไฟจนแล้วเสร็จ พบความเสียหายประมาณ 8 ไร่

จังหวัดเชียงราย

– นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เดินทางลงพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อตรวจเยี่ยม สร้างขวัญกำลังใจ และมอบนโยบายในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในท้องที่ อ.แม่จัน     จ.เชียงราย ทั้งนี้ อธิบดีฯ ได้มอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เน้นหนักในเรื่องของความปลอดภัยของ จนท.และอาสาสมัครฯ ในการเข้าดับไฟป่า รวมทั้งให้บูรณาการร่วมกันในการดำเนินการ ตลอดจนความพร้อมของทางด้านร่างกายของเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งมอบอาหารแห้ง และน้ำดื่ม ให้กับเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจดับไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยหลวง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติขุนแจ สถานีควบคุมไฟป่าขุนแจ เจ้าหน้าที่ส่วนจัดการต้นน้ำ เจ้าหน้าที่ส่วนประสานโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าเชียงราย ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าชุมพร ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าขอนแก่น เจ้าหน้าที่สายตรวจปราบปรามประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 จำนวน 100 นาย และได้นำเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าทั้งหมดตรวจสุขภาพความพร้อมของร่างกายกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอำเภอแม่สรวย และเจ้าหน้าสาธารณสุขอำเภอแม่สรวย สำหรับผู้ที่ตรวจพบอาการป่วยได้สั่งให้เข้ารับการรักษาและสับเปลี่ยนกำลังมาทดแทนต่อไป

– ภายหลังจากมีฝนตกและลมพัดแรงในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย ทำให้สภาพอากาศทั่วไปปลอดโปร่งขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงมีปริมาณฝุ่นละออง และหมอกควันอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยบางพื้นที่ยังคงเกิดไฟป่าลุกไหม้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอยู่นอกเขตที่มีฝนตก โดยพื้นที่อำเภอเชียงแสน พบว่า ไฟได้ลุกไหม้บริเวณป่าชุมชนของหมู่บ้านดอยจัน หมู่ 1 ทำให้ชุดปฏิบัติการดับไฟป่าและอาสาสมัครต้องเข้าไปดับไฟตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ไฟยังลุกไหม้บริเวณป่าโดยรอบเขตโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดําริ บ้านธารทอง หมู่ 11 ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน นายประสงค์ หล้าอ่อน นายอำเภอเชียงแสน พร้อมทหาร และชุดปฏิบัติการพิเศษดับไฟป่า หรือเหยี่ยวไฟ กองร้อยอาสารักษาดินแดนเชียงแสนที่ 6 วนอุทยานขุนน้ำยาบ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเชียงแสน และชาวบ้านเข้าดับไฟที่ลุกไหม้ พร้อมทำแนวกันไฟเพื่อควบคุมไม่ให้ลุกลาม ขณะที่บริเวณชายแดนไทย – ลาว  ด้านหมู่บ้านร่มฟ้าไทย หมู่ 24 ต.ตับเต่า อ.เทิง ได้เกิดเพลิงลุกไหม้ทำให้เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการภูชี้ฟ้า ต้องทำการดับไฟตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา จนสามารถควบคุมเพลิงได้แล้ว รวมทั้งนายสมกิจ เกศนาคินทร์ นายอำเภอเมืองเชียงราย นำเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงและสมาชิกอาสารักษาดินแดนอำเภอเมืองเชียงราย ที่ 3 และชาวบ้านเข้าดับไฟป่าและทำแนวกันไฟในพื้นที่หมู่บ้านห้วยพลูทอง หมู่ 11 ต.ท่าสุด จนสามารถควบคุมไฟป่าไว้ได้                ส่วนสถานการณ์ไฟป่าบนดอยยาว เขตติดต่อระหว่าง อ.เชียงของ อ.เวียงแก่น อ.เทิง และ อ.ขุนตาล ที่เกิดไฟป่าอย่างต่อเนื่อง พบว่าเจ้าหน้าที่ยังคงลาดตระเวนดับไฟป่าที่มีหลงเหลืออยู่เป็นจุดๆ พร้อมทำแนวกันไฟในพื้นที่

– พลตรี บัญชา ดุริยพันธุ์ รองแม่ทัพภาคที่ 3 ได้เดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ออกสำรวจและเก็บข้อมูลสถานการณ์ไฟป่าตั้งแต่พื้นที่ป่าเขต อ.เวียงป่าเป้า อ.แม่สรวย อ.พาน และ อ.เมืองเชียงราย พบว่ายังคงเกิดกลุ่มควันจากไฟไหม้ในป่าในอำเภอต่างๆ จากนั้น ได้เดินทางต่อไปยังบริเวณดอยจระเข้ เขตติดต่อระหว่าง
ต.ท่าสุด อ.เมืองเชียงราย กับ ต.ป่าตึง และ ต.แม่จัน อ.แม่จัน ซึ่งเคยเกิดไฟไหม้อย่างหนักในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเพลิงเอาไว้ได้แล้ว แต่ระหว่างทางพบไฟลุกไหม้บนเทือกเขาดอยนางแล
ต.นางแล อ.เมืองเชียงราย จนเกิดเป็นกลุ่มควันคละคลุ้ง จึงแจ้งเตือนให้ทางพื้นที่ อ.เมืองเชียงราย ได้เร่งเข้าไปควบคุมเพลิงแล้ว

จังหวัดน่าน

       – นายวิศิษฐ์ ทวีสิงห์ นายอำเภอเมืองน่าน ประชุมหารือในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่อำเภอเมืองน่าน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ฝ่ายความมั่นคงอำเภอเมืองน่าน ทหาร ชุด ชป.มทบ.38 ตำรวจ สภ.เรือง ตำรวจ สภ.เมืองฯ หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ 11 (สะเนียน) จนท.อุทยานแห่งชาตินันทบุรีและหน่วยป้องกันไฟป่า จ.น่าน องค์กรบริหารส่วนตำบลทุกแห่ง ผู้ปกครองในท้องที่ กำนัน มีข้อสั่งการให้ผู้นำชุมชนแจ้งประชาชนในพื้นที่งดการเผาตั้งแต่วันที่ 16 – 30 เมษายน 2562

– อำเภอนาหมื่น ร่วมกับหน่วยป้องกันฯ ที่ นน.๑๗ นาหมื่น หน่วยส่งเสริมฯ ไฟป่านาน้อย เครือข่ายไฟป่าบ้านดอยงาม ต.บ่อแก้ว อ.นาหมื่น ชป. อช.ขุนสถาน ชป.ควบคุมไฟป่าฯที่ ๒ ร้อย ๓๒๐๒ ทพ. ๓๒ ชป. มวลชนฯ ม.๒ พัน ๑๕ (นาหมื่น) ร้อย อส.อ.นาหมื่น ตร.สภ.นาหมื่น ร่วมออกตรวจสอบไฟป่าตามพิกัดจุดความร้อนบริเวณป่าห้วยหก บ้านดอยงาม ม.๑๐ ต.บ่อแก้ว อ.นาหมื่น เขตป่าสงวนฯ ป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ผลการดำเนินการสามารถดับไฟป่าได้สำเร็จ พบพื้นที่ป่าเบญจพรรณเสียหายประมาณ ๘๐ ไร่

– หน่วยงานการทาง องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดน่าน ดำเนินการฉีดพ่นละอองน้ำในพื้นที่ อาทิ เส้นทางการจราจร พื้นที่สาธารณะ สถานที่ราชการ โดยใช้รถบรรทุกน้ำรวมทั้งหมด จำนวน 10 คัน

– อำเภอเวียงสา ร่วมกับ กกล.รส.จว.น่าน โดย หมู่.รส.มว.รส.ที่ 1 ร้อย.รส.ที่ 2 (ม.2 พัน.15) จนท.ชุดลาดตระเวนป้องกันไฟฯ ม.2 พัน.15 หน่วยฯ นน.14 (แม่สาคร) กรมป่าไม้ สภ.เวียงสา และ อบต. แม่สาคร ร่วมกันออกลาดตระเวนป้องกันควบคุมไฟป่าและตรวจสอบจุดความร้อน (Hotspots) บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สาครฝั่งขวา (ป่าห้วยหลอดใต้) บ้านวังตูบ ม.4 ต.แม่สาคร อ.เวียงสา ไฟไหม้เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าละเมาะติดที่ดินทำกินของราษฎรใกล้หมู่บ้านโดยไม่ทราบสาเหตุ พบพื้นที่ถูกไฟไหม้ประมาณ 15 ไร่ ซึ่งสามารถดับไฟป่าได้สำเร็จ และได้ทำแนวกันไฟป้องกันการลุกลามต่อไป