ลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนบุตร-เงินสงเคราะห์บุตร เงื่อนไขต่างกัน !

เงินอุดหนุนบุตร เงินสงเคราะห์บุตร

เทียบความต่างโครงการมอบเงินช่วยเหลือเด็กแรกเกิด ระหว่าง “เงินอุดหนุนบุตร” กับ “เงินสงเคราะห์บุตร” 

วันที่ 13 สิงหาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เด็กแรกเกิด ในประเทศไทย จะได้รับการช่วยเหลือเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครอง ผ่าน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด หรือ “เงินอุดหนุนบุตร” และ อีกโครงการคือ “เงินสงเคราะห์บุตร” ซึ่งทั้ง 2 โครงการสร้าง มีความแตกต่างกัน ดังนี้

เงินอุดหนุนบุตร

  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • สิ่งที่ได้รับการช่วยเหลือ : เงินจำนวน 600 บาทต่อเดือน โดยต้องเป็นเด็กแรกเกิดจนถึง อายุ 6 ปี

เงื่อนไขผู้สมัคร

ผู้ปกครอง 

  • สัญชาติไทย
  • อาศัยอยู่ด้วยกันกับเด็ก
  • เป็นบุคคลที่รับเด็กไว้ในความอุปการะ

เด็กแรกเกิด

  • สัญชาติไทย
  • เกิดตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558
  • อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อยกว่า 100,000 บาทต่อปี ต่อคน
  • ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน

สถานที่รับลงทะเบียน

ผู้เป็นบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง จะต้องลงทะเบียนในพื้นที่ที่บุตรเกิด และได้อาศัยอยู่จริง

  • กรุงเทพมหานคร : ที่สำนักงานเขต
  • เมืองพัทยา : ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
  • ส่วนภูมิภาค : ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล


เงินสงเคราะห์บุตร

  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กองทุนประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เพราะเป็นสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนในกองทุน “ประกันสังคม” จะได้รับตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ประกันสังคม
  • สิ่งที่ได้รับการช่วยเหลือ : เงินจำนวน 800 บาทต่อเดือน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี (สามารถเบิกได้ไม่เกิน 3 คน)

เงื่อนไขผู้สมัคร

  • เป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
  • ผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน โดยที่บุตรต้องอยู่ในความดูแลของบิดา มารดา
  • ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน

เงินอุดหนุนบุตร