
ราชกิจจานุเบกษาประกาศคำสั่ง ศบค. สำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งมิได้แสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ยังคงรับการกักกันจนครบระยะเวลากักกันตามกําหนดเดิม
วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ ๑๑/๒๕๖๕ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
(ฉบับที่ ๒๖) ความว่า
- พระราชินี เสด็จฯ ส่วนพระองค์ ทรงร่วมวิ่ง CIB RUN 2023 ระยะทาง 10 กิโลเมตร
- เปิดตัว “คอร์ทยาร์ด บาย แมริออท กรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ” ห่างสนามบิน 10 นาที
- พระราชินี ทรงนำทีมแข่งขันเรือใบนานาชาติ เข้าเส้นชัยอันดับ 1
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้ขยาย ระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ นั้น
โดยที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) หรือ ศบค. ได้ออกคําสั่งเพื่อกําหนดมาตรการป้องกันโรคให้เหมาะสมต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด ของไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมครอน (Omicron) ที่สามารถแพร่กระจายและ มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ แต่ผู้เข้ารับการรักษาที่เป็นผู้ป่วยอาการรุนแรงทั้งระดับวิกฤต และระดับป่วยหนักยังอยู่ในขีดความสามารถที่ฝ่ายสาธารณสุขสามารถบริหารสถานการณ์ได้
ประกอบกับข้อมูลที่ฝ่ายสาธารณสุขได้รายงานว่า ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจหรือ เดินทางเข้ามาในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว แม้จะตรวจพบผู้ติดเชื้ออยู่บ้างแต่ก็มีจํานวนน้อย และสามารถควบคุมได้ จึงมิได้เป็นปัจจัยที่มีผลให้การติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ
ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลกที่หลายประเทศได้เริ่มมีกำรผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคและเปิดประเทศควบคู่ไปกับกำรส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จึงเห็นควรปรับมาตรการป้องกันโรคให้มีความเหมาะสม
เพื่อให้การดำเนินการตามข้อกำหนดออกตำมความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว
และตามคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
อาศัยอํานาจตามความในข้อ ๔ (๒) ของคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กํากับการปฏิบัติงานหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหาร สถานการณ์โควิด – 19
จึงมีคําสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงาน เจ้าหน้าที่ดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรค ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด – 19 มิให้เกิดการแพร่ระบาดในราชอาณาจักร และเพื่อให้มาตรการและหลักเกณฑ์สําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรมีความสอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด – 19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
จึงให้ปรับมาตรการป้องกันโรค และคงหลักเกณฑ์การดําเนินการในสถานที่กักกันซึ่งทางราชการกําหนดตามคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ ๔/๒๕๖๕ เรื่อง แนวปฏิบัติ ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๕) ลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ไว้ก่อนตามแนบท้ายคําสั่งนี้
ข้อ ๒ ให้ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งมิได้แสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกําหนด (Unvaccinated / Not Fully Vaccinated Persons) ซึ่งอยู่ระหว่างการเข้ารับการกักกันในสถานที่กักกันซึ่งทางราชการกําหนด ตามคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ ๔/๒๕๖๕ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๒๕) ลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ยังคงรับการกักกันจนครบระยะเวลากักกันตามกําหนดไว้เดิม
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น
อ่านประกาศฉบับเต็ม เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
(ฉบับที่ ๒๖)